กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคนพิการปลอดภัยได้รับการใส่ใจดูแล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลโคกชะงาย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

นายเอนก กลิ่นรส ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว

หมู่ที่ 1,7,9 ตำบลโคกชะงาย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานคนพิการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน

 

1.00
2 จำนวนคนพิการ

 

112.00

“คนพิการ”เป็นบุคคลสำคัญกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากรายงานการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าในปี 2517 มีคนพิการประมาณร้อยละ 0.5 ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 1.7 ในปี 2545 และเกือบร้อยละ 3 ในปี 2550 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่า 1 แสนคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2551) สาเหตุของความพิการมีหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่ไม่เหมาะสม ทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย จนเป็นบ่อเกิดของความอ้วนและโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ที่ส่งผลให้เกิดความพิการตามมา สาเหตุอีกประการหนึ่งคืออุบัติเหตุ จนที่ส่งผลให้เกิดความพิการตามมา และในปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ เนื่องจากผู้สูงอายุในประเทศไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มจาก 1.5 ล้านคน เมื่อปี พ.ศ.2503 เป็นประมาณ 7.4 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2551 และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จะเพิ่มถึง 17.7 ล้านคน (สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ 2551) ซึ่งวัยสูงอายุเป็นวัยที่อวัยวะต่างๆ มีความเสื่อมทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและความพิการตามมาได้ง่าย ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดความพิการกับกลุ่มประชาชนทุกกลุ่มวัยได้ และทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลกระทบต่อตัวคนพิการเอง ครอบครัว และสังคมในอนาคต
ปัจจุบันรัฐมีโยบายให้คนพิการได้รับการดูแลที่บ้าน โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ทั้งนี้เพื่อให้คนพิการได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว และสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยในชุมชน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลและเพิ่มอัตราการหมุนเวียนเตียงเพื่อรับผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล เป้าหมายสำคัญของการดูแลสุขภาพคนพิการที่บ้านคือ ให้คนพิการได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมภายในครอบครัวที่อบอุ่นและมีศักยภาพในการดูแลอย่างเพียงพอ และชุมชนมีส่วนร่วมภายใต้สภาพแวดล้อมในบริบทของท้องถิ่น เพื่อให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้มากที่สุด มีคุณภาพชีวิตที่ดีเต็มตามศักยภาพและมีความสุขตามอัตภาพ (คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2550)
จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การดูแลคนพิการเป็นภารกิจยาวนานที่ผู้ดูแลและครอบครัวต้องรับผิดชอบ บางครั้งอาจเป็นงานที่หนักแลซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ ทักษะ ความพยายามอย่างต่อเนื่อง และปรับตัวต่อบทบาทหน้าที่ตนเอง หากไม่สามารถปรับบทบาทหรือเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลได้ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อคนพิการ กล่าวคือ คนพิการต้องเข้ารักษาโรงพยาบาลซ้ำ เกิดความพิการซ้ำซ้อนหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควร จากการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่า ผู้ดูแล ครอบครัวและชุมชน มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ เนื่องจากการดูแล/ช่วยเหลือ/ส่งเสริมและสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนจะทำให้สุขภาพทางกาย ทางใจ ทางจิตวิญาณและทางสังคมดีขึ้น (วรรณรัตน์ ลาวัง 2549) หากไม่ได้รับการดูแลดังกล่าว จะทำให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตไม่ดีตามมา อีกทั้งทำให้ผู้ดูแลและครอบครัวเกิดความเครียด มีปัญหาสุขภาพทั้งองค์รวม ซึ่งกระทบต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกครอบครัวตามมา (นันทวรรณ พุทธาวรรณ 2550)
การสร้างกลุ่มภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อการดูแลคนพิการ เป็นกลวิธีหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนให้คนพิการและครอบครัว ที่เน้นบุคลากรด้านสุขภาพแสดงบทบาทเชิงรุกที่ชัดเจน โดยการสร้างและพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายช่วยเหลือกันในชุมชน (สำนักนโยบายและยุทศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2555) ดังนั้น รูปแบบการดูแลสุขภาพคนพิการในชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในลักษณะภาคีเครือข่ายการดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งสอดคล้องกับสิทธิ กฎหมาย และกรอบการพัฒนาที่สำคัญคือ มีลักษณะเป็นองค์รวมผสมผสานครอบคลุมทุกมิติการดูแล และต่อเนื่องเชื่อมโยง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล

ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแลทุกคน

80.00 112.00
2 เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทุกคน

80.00 112.00
3 เพื่อให้ผู้พิการมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ทุกคน

ผู้พิการมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ทุกคน

100.00 112.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 112
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 17/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมหรือผู้ดูแลผู้พิการเพ่ื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (อบรม 2 รุ่นๆละ 56 คน)

ชื่อกิจกรรม
อบรมหรือผู้ดูแลผู้พิการเพ่ื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (อบรม 2 รุ่นๆละ 56 คน)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 คนๆละ 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 7,200 บาท
  • ค่าอาหารกลางวัน 112 คนๆละ 50 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 112 คนๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 5,600 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ / เอกสารการประชุม จำนวน 112 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 1,120 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
17 มีนาคม 2564 ถึง 18 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • ญาติหรือผู้ดูแลผคนพิการได้รับความรู้ ทักษะ ในการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ ทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19520.00

กิจกรรมที่ 2 ติดตามและประเมินผลการเพิ่มขึ้นของ ADL คนพิการ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามและประเมินผลการเพิ่มขึ้นของ ADL คนพิการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ติดตามและประเมินผลการเพิ่มขึ้นของ ADL คนพิการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 มิถุนายน 2564 ถึง 9 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • คนพิการ ADL เพิ่มขึ้นทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 เรียนรู้ร่วมกัน

ชื่อกิจกรรม
เรียนรู้ร่วมกัน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • แลกเปลี่ยนเรียนรู้การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ
ระยะเวลาดำเนินงาน
14 กรกฎาคม 2564 ถึง 14 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • คนพิการ ADL เพิ่มขึ้นทุกคน
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,520.00 บาท

หมายเหตุ :
งบประมาณทุกรายการสามารถถัวเฉลียกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

- ร้อยละ 80 ของญาติหรือผู้ดูแลคนพิการ มีทักษะการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เหมาะสม
- คนพิการมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10


>