กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคนพิการปลอดภัยได้รับการใส่ใจดูแล
รหัสโครงการ 2564-L3351-01-09
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งยาว
วันที่อนุมัติ 21 กันยายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 17 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 กรกฎาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 19,520.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายเอนก กลิ่นรส
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโคกชะงาย อำเภอเมืองพัทลุง จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานคนพิการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 112 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการหรือศูนย์ชื่ออื่นจัดตั้งขึ้นในชุมชน
1.00
2 จำนวนคนพิการ
112.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

“คนพิการ”เป็นบุคคลสำคัญกลุ่มหนึ่งในสังคมไทยที่กำลังมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น จากรายงานการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าในปี 2517 มีคนพิการประมาณร้อยละ 0.5 ของประชากรทั้งหมด เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 1.7 ในปี 2545 และเกือบร้อยละ 3 ในปี 2550 และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละกว่า 1 แสนคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ 2551) สาเหตุของความพิการมีหลายปัจจัย เช่น พฤติกรรมสุขภาพของประชาชนที่ไม่เหมาะสม ทั้งการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย จนเป็นบ่อเกิดของความอ้วนและโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ ที่ส่งผลให้เกิดความพิการตามมา สาเหตุอีกประการหนึ่งคืออุบัติเหตุ จนที่ส่งผลให้เกิดความพิการตามมา และในปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุสมบูรณ์แบบ เนื่องจากผู้สูงอายุในประเทศไทยได้เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยเพิ่มจาก 1.5 ล้านคน เมื่อปี พ.ศ.2503 เป็นประมาณ 7.4 ล้านคน ในปี พ.ศ. 2551 และคาดว่าในปี พ.ศ. 2573 จะเพิ่มถึง 17.7 ล้านคน (สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ 2551) ซึ่งวัยสูงอายุเป็นวัยที่อวัยวะต่างๆ มีความเสื่อมทำให้เกิดปัญหาสุขภาพและความพิการตามมาได้ง่าย ปัญหาเหล่านี้ทำให้เกิดความพิการกับกลุ่มประชาชนทุกกลุ่มวัยได้ และทวีความรุนแรงขึ้นส่งผลกระทบต่อตัวคนพิการเอง ครอบครัว และสังคมในอนาคต ปัจจุบันรัฐมีโยบายให้คนพิการได้รับการดูแลที่บ้าน โดยใช้ครอบครัวและชุมชนเป็นฐาน ทั้งนี้เพื่อให้คนพิการได้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัว และสิ่งแวดล้อมที่คุ้นเคยในชุมชน ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลและเพิ่มอัตราการหมุนเวียนเตียงเพื่อรับผู้ป่วยอื่นในโรงพยาบาล เป้าหมายสำคัญของการดูแลสุขภาพคนพิการที่บ้านคือ ให้คนพิการได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมภายในครอบครัวที่อบอุ่นและมีศักยภาพในการดูแลอย่างเพียงพอ และชุมชนมีส่วนร่วมภายใต้สภาพแวดล้อมในบริบทของท้องถิ่น เพื่อให้คนพิการสามารถพึ่งตนเองได้มากที่สุด มีคุณภาพชีวิตที่ดีเต็มตามศักยภาพและมีความสุขตามอัตภาพ (คณะกรรมการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ 2550) จากการทบทวนวรรณกรรม พบว่า การดูแลคนพิการเป็นภารกิจยาวนานที่ผู้ดูแลและครอบครัวต้องรับผิดชอบ บางครั้งอาจเป็นงานที่หนักแลซับซ้อน ต้องอาศัยความรู้ ทักษะ ความพยายามอย่างต่อเนื่อง และปรับตัวต่อบทบาทหน้าที่ตนเอง หากไม่สามารถปรับบทบาทหรือเพิ่มประสิทธิภาพการดูแลได้ จะทำให้เกิดผลกระทบต่อคนพิการ กล่าวคือ คนพิการต้องเข้ารักษาโรงพยาบาลซ้ำ เกิดความพิการซ้ำซ้อนหรือเสียชีวิตก่อนเวลาอันสมควร จากการศึกษาทั้งในประเทศและต่างประเทศพบว่า ผู้ดูแล ครอบครัวและชุมชน มีความสำคัญมากต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการ เนื่องจากการดูแล/ช่วยเหลือ/ส่งเสริมและสนับสนุนจากครอบครัวและชุมชนจะทำให้สุขภาพทางกาย ทางใจ ทางจิตวิญาณและทางสังคมดีขึ้น (วรรณรัตน์ ลาวัง 2549) หากไม่ได้รับการดูแลดังกล่าว จะทำให้คนพิการมีคุณภาพชีวิตไม่ดีตามมา อีกทั้งทำให้ผู้ดูแลและครอบครัวเกิดความเครียด มีปัญหาสุขภาพทั้งองค์รวม ซึ่งกระทบต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกครอบครัวตามมา (นันทวรรณ พุทธาวรรณ 2550) การสร้างกลุ่มภาคีเครือข่ายในชุมชนเพื่อการดูแลคนพิการ เป็นกลวิธีหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนให้คนพิการและครอบครัว ที่เน้นบุคลากรด้านสุขภาพแสดงบทบาทเชิงรุกที่ชัดเจน โดยการสร้างและพัฒนาศักยภาพของภาคีเครือข่ายช่วยเหลือกันในชุมชน (สำนักนโยบายและยุทศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข 2555) ดังนั้น รูปแบบการดูแลสุขภาพคนพิการในชุมชน โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในลักษณะภาคีเครือข่ายการดูแลจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งซึ่งสอดคล้องกับสิทธิ กฎหมาย และกรอบการพัฒนาที่สำคัญคือ มีลักษณะเป็นองค์รวมผสมผสานครอบคลุมทุกมิติการดูแล และต่อเนื่องเชื่อมโยง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแล

ผู้พิการได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยญาติหรือผู้ดูแลทุกคน

80.00 112.00
2 เพื่อให้ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ

ญาติหรือผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการทุกคน

80.00 112.00
3 เพื่อให้ผู้พิการมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ทุกคน

ผู้พิการมีความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ทุกคน

100.00 112.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 19,520.00 3 0.00
17 - 18 มี.ค. 64 อบรมหรือผู้ดูแลผู้พิการเพ่ื่อฟื้นฟูสมรรถภาพ (อบรม 2 รุ่นๆละ 56 คน) 0 19,520.00 0.00
30 มิ.ย. 64 - 9 ก.ค. 64 ติดตามและประเมินผลการเพิ่มขึ้นของ ADL คนพิการ 0 0.00 0.00
14 ก.ค. 64 เรียนรู้ร่วมกัน 0 0.00 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  • ร้อยละ 80 ของญาติหรือผู้ดูแลคนพิการ มีทักษะการดูแลสุขภาพอย่างถูกต้อง เหมาะสม
  • คนพิการมีความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวันเพิ่มขึ้น ร้อยละ 10
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 00:00 น.