กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการกินดีอยู่ดีด้วย 3อ อาหารดี ออกกำลังกายดี อารมณ์ดี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.นาทอน

วิสาหกิจชุมชนสมุนไพรทักษอร

1.นางสาววิริญญา จ่าวิสูตร (083-6585659)
2.นางนัสรีน วราคนางค์
3.นางอารีย์ วราคนางค์
4.นางสาววรรณา หยงสตาร์
5.นางสาววิลาวัณย์ เจ๊ะสา

บ้านท่าศิลา ม.5 ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า จ.สตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจุบันนี้พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จากความดัน
โลหิตสูง เบาหวาน และไต ซึ่งสาเหตุส่วนหนึ่งมาจากอาหารการกินและการปฏิบัติตัวที่ไม่เหมาะสม โครงการนี้จึงมีแนวคิดส่งเสริมสุขภาพผ่านการปฏิบัติจริงในการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ใช้วัตถุดิบปลอดภัย เน้นการชูรสอาหารจากวัตถุดิบหลากหลายและสดใหม่ ไม่ใช้ผงชูรส และทำชาจากสมุนไพรที่มีในท้องถิ่น เพิ่มทางเลือกให้แก่คนที่ชอบดื่มเครื่องดื่มในมื้อบ่าย เปลี่ยนจากชาเย็น ชากระสอบ มาเป็นชาที่มีสรรพคุณดีต่อร่างกาย ลดไขมันในเส้นเลือด หรือดื่มน้ำสมุนไพรหวานน้อยแทน และพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่หมกหมุ่นกับการงาน ไม่มีเวลายืดเส้นยืดสาย ก็เป็นพฤติกรรมก่อโรคได้อีกทางหนึ่ง การทำโครงการในครั้งนี้จึงเสริมเรื่องการออกกำลังกายด้วย แต่เพื่อให้การออกกำลังกายเป็นเรื่องสนุกสนาน จึงนำเสนอการออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์ที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน นั่นคือแทรมโพลีน และ ดัมเบล เพื่อกระตุ้นให้เกิดความน่าสนใจ และเป็นอุปกรณ์แปลกใหม่ที่ทำให้การออกกำลังกายไม่ใช้เรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมการทานอาหารที่มีประโยชน์เหมาะสมแก่สุขภาพและวัย

1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและได้ฝึกปฏิบัติการทำอาหารเพื่อสุขภาพ

0.00
2 2.เพื่อส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการทำชาเพื่อสุขภาพและน้ำสมุนไพร

2.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและฝึกปฏิบัติการทำชาเพื่อสุขภาพและน้ำสมุนไพร

0.00
3 3. เพื่อส่งเสริมการถนอมและแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ

3.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจในการถนอมอาหารและแปรรูปอาหารเพื่อสุขภาพ

0.00
4 เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกายให้เป็นเรื่องสนุกและน่าสนใจ

ผู้เข้าร่วมโครงการมีอุปกรณ์เป็นทางเลือกเสริมในการออกกำลังกายอย่างสนุกสนาน

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 10
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 20
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.เรียนรู้การทำอาหารเพื่อสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
1.เรียนรู้การทำอาหารเพื่อสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1เมนูยำหัวปลีรสเด็ด เพิ่มแคลเซียม ลดท้องอืดท้องเฟ้อ 1.ไวนิล 500 บาท 2.อาหารกลางวัน 40 คน x 60บาท = 2,400 บาท 3.อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 40 คนx 20 บาทx2มื้อ = 1,600 บาท 4.วิทยากร 600 บาทx 6 ชั่วโมง = 3,600 บาท 5.วัสดุสาธิต 1000 บาท

1.2เมนูน้ำผักผลไม้รวมมิตร 1. วัสดุสาธิต 1000 บาท

1.3 ชาสมุนไพรแห้ง
1.ผ้าขาวบาง 200 บาท 2.วัสดุสาธิต 1,000บาท 3.โหลแก้วเก็บชาแห้ง 150 บาท x 4 โหล =600 บาท

1.4 การถนอมและแปรรูปอาหารจากผลผลิตทางการเกษตร 1.วัตุดิบสาธิต (ไข่เค็มสมุนไพร,แยมมะละกอ,มะกรูดดองจิบแก้ไอ,น้ำส้มสายชูผลไม้) 3,000บาท 2.โหลแก้ว 3ใบ x 250 =750 บาท 3.โหลพลาสติกใส่ไข่เค็ม 10 ใบx 20บาท = 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและได้ฝึกปฏิบัติการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ชาและน้ำผักผลไม้ รวมถึงสามารถแปรรูปและถนอมอาหารจากผลผลิตทางการเกษตรได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15850.00

กิจกรรมที่ 2 ออกกำลังกายด้วยแทรมโพลีนและดัมเบล

ชื่อกิจกรรม
ออกกำลังกายด้วยแทรมโพลีนและดัมเบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ออกกำลังกายด้วยแทรมโพลีน 1.อาหารกลางวัน 40 คน x 60บาท = 2,400 บาท 2.อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 40 คนx 20 บาทx2มื้อ = 1,600 บาท 3.วิทยากร 300 บาทx 6 ชั่วโมง = 1,800 บาท 4.แทรมโพลีน 1 อัน x1,200 = 1,200 บาท 5.ดัมเบล 5 คู่ x 350 = 1,750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มีนาคม 2564 ถึง 19 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการมีอุปกรณ์เป็นทางเลือกเสริมในการออกกำลังกายอย่างสนุกสนาน เกิดการรวมตัวออกกำลังกายต่อเนื่อง และสร้างแรงจูงใจให้มีผู้สนใจออกกำลังกายมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8750.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,600.00 บาท

หมายเหตุ :


●กำหนดการอบรมโครงการกินดีอยู่ดีด้วย3อ อาหารดี ออกกำลังกายดี อารมณ์ดี
วันที่ 1
08:30-09:00 ลงทะเบียน
09:00-09:30 ประธานในพิธีกล่าวเปิดกิจกรรม
09:30-10:30 วิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องอาหารเพื่อสุขภาพ อาหารตามวัย อาหารตามฤดูกาล และอาหารที่เหมาะสมกับอาการโรคเรื้อรังต่างๆ
10:30-10:45 พักรับประทานอาหารว่าง
10:45-12:00 ฝึกปฏิบัติการทำอาหารเพื่อสุขภาพ
12:00-13:00 พักรับประทานอาหารเที่ยง
13:00-14:45 ฝึกปฏิบัติการทำอาหารเพื่อสุขภาพต่อ
14:45-15:00 พักรับประทานอาหารว่าง
15:00-16:00 ฝึกปฏิบัติการทำอาหารเพื่อสุขภาพต่อ

วันที่ 2 การออกกำลังกายด้วยแทรมโพลีนและดัมเบล
08:30-09:00 ลงทะเบียน
09:00-10:30 วิทยากรบรรยายให้ความรู้เพิ่มเติมเรื่องการเลือกใช้อุปกรณ์เสริมประเภทต่างๆในการออกกำลังกาย
10:30-10:45 พักรับประทานอาหารว่าง
10:45-12:00 ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์
12:00-13:00 พักรับประทานอาหารเที่ยง
13:00-14:30 วิทยากรบรรยายให้ความรู้เรื่องการออกกำลังเพื่อสุขภาพให้เหมาะกับวัย และอาการโรคเรื้อรังต่างๆ
14:30-14:45 พักรับประทานอาหารว่าง
14:45-16:00 ฝึกปฏิบัติการออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์ต่อ
16:00 ปิดการอบรม

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจและได้ฝึกปฏิบัติการทำอาหารเพื่อสุขภาพ ชาและน้ำผักผลไม้ รวมถึงสามารถแปรรูปและถนอมอาหารจากผลผลิตทางการเกษตรได้นอกจากการทำอาหารเพื่อสุขภาพแล้ว ผู้เข้าร่วมโครงการยังได้ทดลองการใช้อุปกรณ์เป็นทางเลือกเสริมในการออกกำลังกายอย่างสนุกสนาน เกิดการรวมตัวออกกำลังกายต่อเนื่อง และสร้างแรงจูงใจให้มีผู้สนใจออกกำลังกายมากขึ้น


>