กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

สุขภาพดีห่างไกลโรคเบาหวาน ความดัน มะเร็ง ลดภาวะแทรกซ้อน (01-35)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตลิ่งชัน

รพ.สต.บ้านกือลอง

ม. 2,6,9 ต.ตลิ่งชัน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
จากการศึกษาพบว่าโรคมะเร็งเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกของสตรีไทย และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ. 2546 (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2548)พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ตามลำดับ สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุองลงมาคือมะเร็งเต้านม ซึ่งมะเร็งปากมดลูกถ้าหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษามะเร็งในระยะลุกลามทำให้ลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในที่สุด ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยสามารถรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้สะดวกจากโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล ซึ่งเป็นการคัดกรองในเบื้องต้น และเป็นการป้องกันไม่ให้ลุกลามได้อีกทางหนึ่ง แต่สภาพปัญหาในปัจจุบันยังพบว่าถึงแม้จะมีสถานบริการทางสุขภาพที่ให้บริการในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น แต่ยังก็พบว่าสตรีไทยจำนวนมากไม่มารับการตรวจคัดกรอง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น อายแพทย์ กลัวทำใจไม่ได้ ไม่อยู่ในพื้นที่ ทำให้สตรีเหล่านั้นสูญเสียโอกาสที่จะค้นพบโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งเป็นระยะที่รักษาได้ผลและหายขาดได้
จากการศึกษาพบว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยมะเร็งเต้านม มีอุบัติการณ์ของโรคสูงอันดับ 2 ในปี 2542 (สถิติจาก CancerinThailandvol.III. 1995- 2000 ) ของสตรีไทยแม้ว่าในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นโรคและไม่สามารถป้องกันได้ก็ตาม แต่สตรีสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม เพื่อรับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง สามารถลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งได้
โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตูของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียดจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ปี 2564ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมัพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรัง

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อลดระดับความรุนแรงของโรคและอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3. เพื่อให้ผู้ป่วยทราบสถานะความรุนแรงของโรคของตัวเอง ทำให้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น 4. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และมะเร็งแบบครบวงจร 5. เพื่อกระตุ้นความสนใจผู้รับบริการทั้งผู้รับบริการตรวจคัดกรองทั่วไป และผู้ป่วย ถึงผลที่ได้จาก การตรวจคัดกรอง และการปฏิบัติตนหลังการตรวจคัดกรอง 6. เพื่อสร้างแรงจูงใจผู้รับการตรวจคัดกรองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อการเปลี่ยนไปอยู่ใน กลุ่มสีที่ดีขึ้น 7. เพื่อให้ผลงานการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และมะเร็งบรรลุเป้าหมายตาม ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • ร้อยละ 90% ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  • ร้อยละ 40% ของผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค
  • ร้อยละ 80% ของสตรีอายุ 30 – 70 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม
  • ร้อยละ 20% ของสตรีอายุ 30 – 60 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 100
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์

ชื่อกิจกรรม
จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แผ่นพับให้ความรู้เรื่องโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง จำนวน 300 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 2.ชั้นวางแผ่นพับสื่อประชาสัมพันธ์ จำนวน 2 ชุดๆละ 1,500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6000.00

กิจกรรมที่ 2 1. คัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
1. คัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.แบบคัดกรองความเสี่ยงความดันเบาหวาน จำนวน 300 ชุดๆละ 10 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท 2.เครื่องตรวจเบาหวาน 4 ชุดๆล่ะ 2,000 บาท เป็นเงิน 8,000 บาท 3.กระเป๋าใส่ยาผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันพร้อมสกรีน 100 ชุดๆ ละ 45 บาท เป็นเงิน 4,500 บาท 4.คู่มือ สมุดประจำตัว/คัดกรองตรวจเต้านมด้วยตัวเอง จำนวน 250 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท 5.โมเดลฝึกตรวจเต้านม 3 ชุดๆละ 3,500 บาท เป็นเงิน 10,500 บาท 6.เชิญเจ้าหน้าทีจาก รพ.สต.อื่น มาคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (เนื่องจากความอายจากเจ้าหน้าที่ที่คุ้นเคย) 5 วัน (5 x 120 บาท x 2 ชม.) เป็นเงิน 1,200

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. คัดกรองเบาหวานความดัน ในกลุ่มเป้าหมาย ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปจำนวน 500 ราย
  2. คัดกรองภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยความเบาหวานดันโลหิตสูง จำนวน 100 ราย
  3. สาธิตวิธีการคัดกรองมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองในสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 250 ราย
  4. คัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีอายุ 30 – 60 ปี จำนวน 250 ราย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39700.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง
2. เพื่อลดระดับความรุนแรงของโรคและอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
3. เพื่อให้ผู้ป่วยทราบสถานะความรุนแรงของโรคของตัวเอง ทำให้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น
4. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และมะเร็งแบบครบวงจร
5. เพื่อกระตุ้นความสนใจผู้รับบริการทั้งผู้รับบริการตรวจคัดกรองทั่วไป และผู้ป่วย ถึงผลที่ได้จาก การตรวจคัดกรอง และการปฏิบัติตนหลังการตรวจคัดกรอง
6. เพื่อสร้างแรงจูงใจผู้รับการตรวจคัดกรองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อการเปลี่ยนไปอยู่ใน กลุ่มสีที่ดีขึ้น
7. เพื่อให้ผลงานการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และมะเร็งบรรลุเป้าหมายตาม ตัวชี้วัด


>