กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ สุขภาพดีห่างไกลโรคเบาหวาน ความดัน มะเร็ง ลดภาวะแทรกซ้อน (01-35)
รหัสโครงการ 64-l4123-01-35
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านสายตาเอียด
วันที่อนุมัติ 17 พฤศจิกายน 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ธันวาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ธันวาคม 2564
งบประมาณ 45,700.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางแวเย๊าะ มะณีหิยา
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตลิ่งชัน อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 300 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) จากการศึกษาพบว่าโรคมะเร็งเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทย โดยเฉพาะโรคมะเร็งปากมดลูก เป็นสาเหตุการตายอันดับแรกของสตรีไทย และสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย ในการรักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก จากข้อมูลสถิติสาธารณสุขปี พ.ศ. 2546 (สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 2548)พบว่าอัตราตายจากโรคมะเร็งของประชากรไทยมีแนวโน้มสูงขึ้น และโรคมะเร็งที่พบมากที่สุดในประเทศไทยได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งปากมดลูก และมะเร็งเต้านม ตามลำดับ สำหรับสตรีไทยโรคมะเร็งปากมดลูกเป็นสาเหตุองลงมาคือมะเร็งเต้านม ซึ่งมะเร็งปากมดลูกถ้าหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก สามารถรักษาให้หายขาดได้ และเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการรักษามะเร็งในระยะลุกลามทำให้ลดอัตราการเกิดและอัตราการตายจากโรคมะเร็งปากมดลูกได้ในที่สุด ซึ่งในปัจจุบันผู้ป่วยสามารถรับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกได้สะดวกจากโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบล ซึ่งเป็นการคัดกรองในเบื้องต้น และเป็นการป้องกันไม่ให้ลุกลามได้อีกทางหนึ่ง แต่สภาพปัญหาในปัจจุบันยังพบว่าถึงแม้จะมีสถานบริการทางสุขภาพที่ให้บริการในการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเพิ่มขึ้น แต่ยังก็พบว่าสตรีไทยจำนวนมากไม่มารับการตรวจคัดกรอง โดยมีสาเหตุหลายประการ เช่น อายแพทย์ กลัวทำใจไม่ได้ ไม่อยู่ในพื้นที่ ทำให้สตรีเหล่านั้นสูญเสียโอกาสที่จะค้นพบโรคในระยะก่อนเป็นมะเร็งซึ่งเป็นระยะที่รักษาได้ผลและหายขาดได้ จากการศึกษาพบว่า โรคมะเร็งเป็นปัญหาที่คุกคามสุขภาพของประชาชนทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย โดยมะเร็งเต้านม มีอุบัติการณ์ของโรคสูงอันดับ 2 ในปี 2542 (สถิติจาก CancerinThailandvol.III. 1995- 2000 ) ของสตรีไทยแม้ว่าในปัจจุบันโรคมะเร็งเต้านมยังไม่มีข้อมูลที่ยืนยันอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสาเหตุของการเป็นโรคและไม่สามารถป้องกันได้ก็ตาม แต่สตรีสามารถดูแลและป้องกันตนเองได้ในระดับหนึ่ง ด้วยการตรวจเต้านมเป็นประจำทุกเดือนเพื่อค้นหาความผิดปกติของเต้านม เพื่อรับการดูแลรักษาตั้งแต่ระยะเริ่มแรก วิธีการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นวิธีที่ง่าย สะดวก ประหยัดค่าใช้จ่าย การให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับการเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็ง สามารถลดอัตราการเกิดและตายจากโรคมะเร็งได้ โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงเป็นโรคติดต่อเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และถือว่าเป็น "ภัยเงียบ" เพราะเป็นโรคที่ไม่ปรากฏอาการ และเป็นสาเหตูของโรคแทรกซ้อนในอวัยวะสำคัญหลายระบบของร่างกายเช่น ตา ไต หลอดเลือด ในประเทศไทยนั้น อุบัติการณ์โรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในแต่ละปีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นอย่างมาก เนื่องจากโรคเรื้อรังเป็นโรคที่จำเป็นต้องรักษาอย่างต่อเนื่อง และยาวนานมีค่าใช้จ่ายด้านการรักษาสูงมาก ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียด ดำเนินงานเน้นนโยบายเชิงรุก เร่งการป้องกันโรคโดยใช้เครือข่ายระหว่าง รพ.สต.กับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเพราะการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรค ที่เกิดจากพฤติกรรมของประชาชน จะประสบความสำเร็จมีประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่องยั่งยืน จำเป็นอย่างยิ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องทุกส่วน และใช้กระบวนการที่บูรณาการเชื่อมโยงการดำเนินงาน โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เป็นโรคที่เป็นปัญหาที่สำคัญในพื้นที่ และเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านสายตาเอียดจึงได้จัดทำโครงการคัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ปี 2564ขึ้น เพื่อให้ประชาชนได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานและความดันโลหิตสูงตามมาตรฐาน พร้อมทั้งรณรงค์ สร้างความตระหนักในการดูแลสุขภาพมัพฤติกรรมที่ดี และได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงต่อการการเกิดโรคเรื้อรัง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อลดระดับความรุนแรงของโรคและอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3. เพื่อให้ผู้ป่วยทราบสถานะความรุนแรงของโรคของตัวเอง ทำให้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น 4. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และมะเร็งแบบครบวงจร 5. เพื่อกระตุ้นความสนใจผู้รับบริการทั้งผู้รับบริการตรวจคัดกรองทั่วไป และผู้ป่วย ถึงผลที่ได้จาก การตรวจคัดกรอง และการปฏิบัติตนหลังการตรวจคัดกรอง 6. เพื่อสร้างแรงจูงใจผู้รับการตรวจคัดกรองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อการเปลี่ยนไปอยู่ใน กลุ่มสีที่ดีขึ้น 7. เพื่อให้ผลงานการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และมะเร็งบรรลุเป้าหมายตาม ตัวชี้วัด

ตัวชี้วัดความสำเร็จ

  • ร้อยละ 90% ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง
  • ร้อยละ 40% ของผู้ป่วยเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนของโรค
  • ร้อยละ 80% ของสตรีอายุ 30 – 70 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งเต้านม
  • ร้อยละ 20% ของสตรีอายุ 30 – 60 ปีได้รับการคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 1000 45,700.00 0 0.00
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์ 500 6,000.00 -
1 ธ.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 คัดกรอง 500 39,700.00 -

วิธีดำเนินการ (ออกแบบให้ละเอียด) ขั้นเตรียมการ 1. เตรียมกลุ่มเป้าหมายที่ต้องตรวจคัดกรอง ให้กับ อสม. 2. ประชุมเตรียมชี้แจงอสม. ทบทวนความรู้ก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติงานในเขตรับผิดชอบของตัวเอง ขั้นดำเนินการ 1. จัดทำทะเบียนประชากรกลุ่มเป้าหมายประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไป จำนวน 500 ราย ผู้ป่วยความดันเบาหวาน 100 ราย และสตรีอายุ 30-70 ปี จำนวน 250 ราย
2. ดำเนินการให้บริการตรวจคัดกรองแก่ประชาชนกลุ่มเป้าหมาย 3. จัดทำ (เอกสารผลการคัดกรอง และคำแนะนำ) 4. สาธิตการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ฝึกปฏิบัติตรวจเต้านม 5. จัดมุมให้ความรู้ สถานการณ์ ปัญหา เพื่อให้เห็นความสำคัญของโรคเบาหวาน ความดัน และโรคมะเร็ง รวมถึงการป้องกัน 6. ติดตามกลุ่มเสี่ยงเพื่อรับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม 7. ส่งต่อในรายที่ผลการตรวจผิดปกติ 8. ติดตามผลการรักษาภายหลังการส่งต่อ 9. บันทึกผลการคัดกรองในโปรแกรม JHCIS 10. สรุปและประเมินโครงการเมื่อสิ้นโครงการ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และมะเร็ง มีความรู้ ในการดูแลตนเองจากภาวะแทรกซ้อนได้อย่างถูกต้อง 2. เพื่อลดระดับความรุนแรงของโรคและอัตราการเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า ในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 3. เพื่อให้ผู้ป่วยทราบสถานะความรุนแรงของโรคของตัวเอง ทำให้เกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ มีการสื่อสารระหว่างเจ้าหน้าที่และผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น 4. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง และมะเร็งแบบครบวงจร 5. เพื่อกระตุ้นความสนใจผู้รับบริการทั้งผู้รับบริการตรวจคัดกรองทั่วไป และผู้ป่วย ถึงผลที่ได้จาก การตรวจคัดกรอง และการปฏิบัติตนหลังการตรวจคัดกรอง 6. เพื่อสร้างแรงจูงใจผู้รับการตรวจคัดกรองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อการเปลี่ยนไปอยู่ใน กลุ่มสีที่ดีขึ้น
7. เพื่อให้ผลงานการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และมะเร็งบรรลุเป้าหมายตาม ตัวชี้วัด

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2563 12:29 น.