กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการประชาชนสุขใจ ห่างไกลสารเคมี

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.สุไหงปาดี

สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี

หอประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1.ปัจจุบันมีการใช้สารเคมีทางการเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืชมากขึ้น ทำให้ประชาชนมีอัตราการป่วยและมีผลกระทบต่อสุขภาพจำนวนมากขึ้น

 

20.00

ประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลสุไหงปาดี อำเภอสุไหงปาดี จังหวัดนราธิวาส มีอาชีพหลักคืออาชีพเกษตรกร ซึ่งในการประกอบอาชีพทางการเกษตรมีความจำเป็นที่จะต้องสัมผัสกับสารเคมีเพื่อการป้องกันและกำจัดศัตรูพืช ถึงแม้ว่าจะมีข้อบ่งชี้ในการใช้สารเคมีระบุไว้อย่างชัดเจนถึงระยะเวลาการใช้งานและปริมาณที่ใช้ที่ปลอดภัยต่อผู้ใช้อย่างชัดเจน แต่อย่างไรก็ตามเกษตรกรก็ยังต้องมีการใช้สารเคมีดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง จึงอาจมีการสะสมสารเคมีเหล่านั้นในร่างกายและเพิ่มปริมาณมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ เกษตรกรบางส่วนยังไม่มีการป้องกันตนเองจากสารเคมีอย่างถูกวิธี เช่น ไม่มีการสวมถุงมือ ไม่สวมใส่หน้ากาก ไม่สวมหมวกและรองเท้าหุ้มส้น ในขณะที่สัมผัสกับสารเคมี จึงทำให้อาจจะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตรกรได้โดยไม่รู้ตัว ดังนั้น งานส่งเสริมการเกษตร สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลสุไหงปาดี จึงตระหนักถึงความจำเป็นที่จะต้องมีการเฝ้าระวังความเสี่ยงอันตรายจากสารเคมีให้แก่เกษตรกร โดยการตรวจเลือดเพื่อหาสารเคมีตกค้างในเลือด เพื่อให้เกษตรกรได้รับทราบถึงระดับของสารพิษที่อยู่ในเลือดของตนเองและจะได้มีการเฝ้าระวังและป้องกันตนเอง ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรให้แก่ประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ตำบลสุไหงปาดี

อัตราการป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรลดลง ร้อยละ 60

30.00 20.00
2 2. เพื่อแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพและพฤติกรรมที่เหมาะสมในการใช้สารเคมีทางการเกษตรอย่างปลอดภัย

ผู้เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติได้จริง ร้อยละ 70

30.00 25.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 30
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
การรวบรวมข้อมูลด้วยแบบประเมินความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจและรวบรวมข้อมูลเกษตรกรด้วยแบบประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีทางการเกษตร เพื่อสืบค้นความผิดปกติเบื้องต้นและลดความเสี่ยงจากผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้น

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการคัดกรองตามแบบประเมินความเสี่ยงการใช้สารเคมีทางการเกษตร -ค่าจ้างเหมาถ่ายเอกสารแบบประเมินฯ จำนวน 30 ชุดๆ ละ 20 บาท เป็นเงิน 600 บาท

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 การเจาะเลือดตรวจคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
การเจาะเลือดตรวจคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

การเจาะเลือดผู้เข้าร่วมโครงการเพื่อวิเคราะห์หาระดับสารเคมีตกค้างในเลือด (ตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส) ด้วยชุดทดสอบ และอ่านวิเคราะห์ผลการทดสอบเทียบกับค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับการเจาะเลือดเพื่อวิเคราะห์หาระดับสารเคมีตกค้างในเลือด (ตรวจหาเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส) และรับทราบผลการตรวจเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1850.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการใช้สารเคมีทางการเกษตรและโทษของสารเคมีต่อสุขภาพ 1.ค่าวิทยากร จำนวน 2 คน × คนละ 4 ชม.× 600 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท 2.ค่าไวนิล จำนวน 1 แผ่น เป็นเงิน 720 บาท 3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30×25×2 เป็นเงิน 1,500 บาท 4.ค่าอาหาร จำนวน 30×50 เป็นเงิน 1,500 บาท 5.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในโครงการ -ค่าปากกา 30 ด้าม ×5 บาท เป็นเงิน 150 บาท -ค่าสมุด 30 เล่ม ×10 บาท เป็นเงิน 300 บาท -ค่ากระเป๋า 30 ใบ x 40 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10170.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,620.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรและสามารถป้องกันตนเองให้ปลอดภัยได้
2.ประชาชนได้รับการดูแลสุขภาพและลดอัตราการป่วยจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรได้


>