กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการ อสม.รอบรู้เรื่องศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านไร่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อสม.รอบรู้เรื่องศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านไร่

โครงการ อสม.รอบรู้เรื่องศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2564

เขตเทศบาลตำบลบ้านไร่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ข้อมูลพื้นฐานปี 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ ตำบลบ้านพรุอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา มีสถานศึกษาในเขตรับผิดชอบ ระดับปฐมวัย 1 แห่งระดับประถมศึกษา 2 แห่ง ระดับมัธยมศึกษาขยายโอกาส 1 แห่ง นอกจากนี้ยังมีสถานประกอบการ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม 8 แห่ง รีสอร์ท 2 แห่ง ร้านขายของชำ 64 แห่ง ร้านอาหารและแผงลอย 27 แห่ง ตลาดสด1 แห่ง (รพ.สต.บ้านพรุ ต.บ้านพรุ, 2563) ส่งผลให้ปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยของประชาชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการใช้เครื่องสำอางที่มีสลากปลอม สลากไม่ถูกต้อง ในกลุ่มวัยเรียน และกลุ่มวัยทำงาน การใช้ยาสมุนไพรประเภทยาลูกกลอนแก้อาการปวดเมื่อยที่วางขายในร้านขายของชำ ตลาดนัด หรือรถเร่ ซึ่งอาจมีสารปนเปื้อนประเภทสารสเตียรอยด์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาวรวมไปถึงการซื้อเครื่องสำอางที่วางขายในท้องตลาดโดยไม่มีฉลากครบถ้วนและความเจริญทางระบบเทคโนโลยีที่ประชาชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพได้หลากหลายช่องทาง เช่น ผ่านระบบออนไลน์ การจำหน่ายขายตรง รถเร่ในตลาด ผ่าน เฟชบุ๊ค แอพพลิเคชั่นไลน์ และ อินสตราแกรม
ปัญหาการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา เครื่องสำอาง อาหาร และสมุนไพร ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ปัญหาการแพร่ระบาดของสเตียรอยด์ในยาชุด ยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ขายให้ประชาชนซื้อรับประทานเองจากรถเร่ ร้านชำ ร้านยา จนติดเสตียรอยด์ เป็นปัญหาเรื้อรังต่อเนื่องมานาน นอกจากนี้ยังพบสถิติพบสารห้ามใช้ไฮโดรควิโนน กรดวิตตามินเอ และสารปรอท ในเครื่องสำอางยังคงมีสูง โดยการให้อสม. ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิด และมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพประชาชน ดำเนินการดูแลสุขภาพชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพ อสม.วิทยาศาสตร์ ให้สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยได้จากแหล่งชุมชน และส่งตรวจยืนยันหาสารปนปลอมที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และเผยแพร่ข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ ส่งผลทำให้เกิดเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ จึงจัดทำโครงการ “อสม.รอบรู้เรื่องศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา” ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ซึ่งอสม.ทุกคนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ แอพพลิเคชั่น หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ อันตรายจาการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย อาทิเช่น อาหารไม่ปลอดภัย ยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปนปลอมสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบัน หรือเครื่องสำอางที่ปนปลอมสารห้ามใช้ รวมถึงการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นด้วย เพื่อให้อสม.สามารถตรวจหาสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางได้เหมือน อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนถือเป็นการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ครอบคลุมมากขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม. มีความรู้และตระหนักในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้อยละ 80

100.00 80.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในเรื่องของทักษะการตรวจเบื้องต้นด้วย Test kit

อสม.สามารถตรวจเบื้องต้นด้วย Test kit wfh ร้อยละ 80

100.00 80.00
3 เพื่อให้ อสม. ผ่านเกณฑ์เป็นอสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

อสม.ผ่านเกณฑ์เป็น อสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ร้อยละ 80

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2020

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประเมินความรู้ก่อนรับการอบรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินความรู้ก่อนรับการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุ (แบบทดสอบก่อนได้รับความรู้) จำนวน 72 ชุด ชุดละ 4 บาท = 288 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้รับความรู้เบื้อต้นของผู้เข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
288.00

กิจกรรมที่ 2 ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปนปลอมสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบันและเครื่องสำอางที่ปนปลอมสารห้ามใช้และด้านอาหาร การใช้และการสืบค้นข้อมูลผลภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยจากAppication (กรมวิทย์

ชื่อกิจกรรม
ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปนปลอมสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบันและเครื่องสำอางที่ปนปลอมสารห้ามใช้และด้านอาหาร การใช้และการสืบค้นข้อมูลผลภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยจากAppication (กรมวิทย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อมื้อละ 25 บาท25 x 72 คน =1,800 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x3 ชั่วโมง 1 คน = 1,800 บาท -ค่าวัสดุ (ค่าไวนิลโครงการวันอบรม) ขนาด1.2 x 2.4 เมตร 350 บาท x 1 ป้าย =350 บาท -ค่าคู่มือความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพและการทดสอบ จำนวน 72 เล่ม เล่มละ 50 บาท = 3,600 บาท -ค่าปากกา 72 แท่ง แท่งละ 10 บาท= 720 บาท -ค่าแฟ้มเอกสาร 72 แฟ้ม แฟ้มละ 15 บาท = 1,440 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปนปลอมสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบันและเครื่องสำอางที่ปนปลอมสารห้ามใช้และด้านอาหาร การใช้และการสืบค้นข้อมูลผลภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยจากAppication

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9710.00

กิจกรรมที่ 3 ประเมินความรู้หลังรับการอบรม

ชื่อกิจกรรม
ประเมินความรู้หลังรับการอบรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าวัสดุ (แบบทดสอบหลังได้รับความรู้) จำนวน 72 ชุด ชุดละ 4 บาท = 288 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทราบถึงความรู้ของผู้เข้าร่วมอบรมหลังจากการอบรมเสร็จ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
288.00

กิจกรรมที่ 4 ติดตามผลการให้ความรู้และพัฒนาทักษะ อสม. ต่อเนื่อง (ในการปฏิบัติ) กิจกรรมแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม ในการฝึกปฏิบัติการดำเนินการคัดกรองและตรวจสอบชุดทดสอบเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผลการให้ความรู้และพัฒนาทักษะ อสม. ต่อเนื่อง (ในการปฏิบัติ) กิจกรรมแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม ในการฝึกปฏิบัติการดำเนินการคัดกรองและตรวจสอบชุดทดสอบเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อมื้อละ 25 บาท25 x 72 คน =1,800 บาท -ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท x3 ชั่วโมง 2 คน = 3,600 บาท -ค่าชุดทดสอบเบื้องต้น จำนวน 4 ชุด ชุดละ 850 บาท = 3,400บาท กิจกรรมแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม ในการฝึกปฏิบัติการดำเนินการคัดกรองและตรวจสอบชุดทดสอบเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์สุขภาพ ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การใช้ฐานข้อมูลหน้าต่างแจ้งเตือนภัยและการจัดส่งตัวอย่าง กลุ่มที่ 2 ชุดทดสอบยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปนปลอมสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบัน
กลุ่มที่ 3 ชุดทดสอบเครื่องสำอางที่ปนปลอมสารห้ามใช้ กลุ่มที่ 4 ชุดทดสอบด้านอาหาร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้เข้าอบรมได้ฝึกปฏิบัติการดำเนินการคัดกรองและตรวจสอบชุดทดสอบเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์สุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8800.00

กิจกรรมที่ 5 เตรียมความพร้อมการทำงานจริง อสม. ทุกหมู่ลงพื้นที่ซักซ้อมการทำงานในชุมชน (หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11)

ชื่อกิจกรรม
เตรียมความพร้อมการทำงานจริง อสม. ทุกหมู่ลงพื้นที่ซักซ้อมการทำงานในชุมชน (หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 1 มื้อ  มื้อละ 25 บาท  25 x 72 คน =  1,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถนำความรู้ลงไปตรวจในพื้นที่ได้จริง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1800.00

กิจกรรมที่ 6 สรุปและประเมินผลโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปและประเมินผลโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปและประเมินผลโครงการ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2563 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,886.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อสม. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
2. อสม. ใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ได้
3. อสม.ใช้และสืบค้นตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยจากappication หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพได้
4. มีการเฝ้าระวังเตือนภัยสุขภาพในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ


>