กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการ อสม.รอบรู้เรื่องศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ อสม.รอบรู้เรื่องศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2564
รหัสโครงการ 64-L8022-01-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โครงการ อสม.รอบรู้เรื่องศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพในชุมชน ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา ปี 2564
วันที่อนุมัติ 1 ตุลาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 ตุลาคม 2563 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 20,886.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวกัญเปมฐิษา แกล้วทนงค์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ข้อมูลพื้นฐานปี 2563 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ ตำบลบ้านพรุอำเภอหาดใหญ่จังหวัดสงขลา มีสถานศึกษาในเขตรับผิดชอบ ระดับปฐมวัย 1 แห่งระดับประถมศึกษา 2 แห่ง ระดับมัธยมศึกษาขยายโอกาส 1 แห่ง นอกจากนี้ยังมีสถานประกอบการ ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม 8 แห่ง รีสอร์ท 2 แห่ง ร้านขายของชำ 64 แห่ง ร้านอาหารและแผงลอย 27 แห่ง ตลาดสด1 แห่ง (รพ.สต.บ้านพรุ ต.บ้านพรุ, 2563) ส่งผลให้ปัญหาการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยของประชาชนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาการใช้เครื่องสำอางที่มีสลากปลอม สลากไม่ถูกต้อง ในกลุ่มวัยเรียน และกลุ่มวัยทำงาน การใช้ยาสมุนไพรประเภทยาลูกกลอนแก้อาการปวดเมื่อยที่วางขายในร้านขายของชำ ตลาดนัด หรือรถเร่ ซึ่งอาจมีสารปนเปื้อนประเภทสารสเตียรอยด์ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนในระยะยาวรวมไปถึงการซื้อเครื่องสำอางที่วางขายในท้องตลาดโดยไม่มีฉลากครบถ้วนและความเจริญทางระบบเทคโนโลยีที่ประชาชนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์สุขภาพได้หลากหลายช่องทาง เช่น ผ่านระบบออนไลน์ การจำหน่ายขายตรง รถเร่ในตลาด ผ่าน เฟชบุ๊ค แอพพลิเคชั่นไลน์ และ อินสตราแกรม
ปัญหาการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพ ได้แก่ ยา เครื่องสำอาง อาหาร และสมุนไพร ที่ไม่ปลอดภัย เช่น ปัญหาการแพร่ระบาดของสเตียรอยด์ในยาชุด ยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ขายให้ประชาชนซื้อรับประทานเองจากรถเร่ ร้านชำ ร้านยา จนติดเสตียรอยด์ เป็นปัญหาเรื้อรังต่อเนื่องมานาน นอกจากนี้ยังพบสถิติพบสารห้ามใช้ไฮโดรควิโนน กรดวิตตามินเอ และสารปรอท ในเครื่องสำอางยังคงมีสูง โดยการให้อสม. ซึ่งเป็นผู้ใกล้ชิด และมีศักยภาพในการดูแลสุขภาพประชาชน ดำเนินการดูแลสุขภาพชุมชน โดยการพัฒนาศักยภาพ อสม.วิทยาศาสตร์ ให้สามารถตรวจสอบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัยได้จากแหล่งชุมชน และส่งตรวจยืนยันหาสารปนปลอมที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ และเผยแพร่ข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ ส่งผลทำให้เกิดเครือข่ายวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนขึ้น
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านพรุ จึงจัดทำโครงการ “อสม.รอบรู้เรื่องศูนย์แจ้งเตือนภัย เฝ้าระวัง และรับเรื่องร้องเรียนปัญหาผลิตภัณฑ์สุขภาพตำบลบ้านพรุ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา” ขึ้น เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในการดำเนินงานด้านคุ้มครองผู้บริโภค และวิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ซึ่งอสม.ทุกคนจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการใช้ แอพพลิเคชั่น หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพ อันตรายจาการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย อาทิเช่น อาหารไม่ปลอดภัย ยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปนปลอมสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบัน หรือเครื่องสำอางที่ปนปลอมสารห้ามใช้ รวมถึงการใช้ชุดทดสอบเบื้องต้นด้วย เพื่อให้อสม.สามารถตรวจหาสารห้ามใช้ในเครื่องสำอางได้เหมือน อสม.วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชนถือเป็นการเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ครอบคลุมมากขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้อสม. มีความรู้และตระหนักในการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ

อสม.มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้อยละ 80

100.00 80.00
2 เพื่อพัฒนาศักยภาพ อสม. ในเรื่องของทักษะการตรวจเบื้องต้นด้วย Test kit

อสม.สามารถตรวจเบื้องต้นด้วย Test kit wfh ร้อยละ 80

100.00 80.00
3 เพื่อให้ อสม. ผ่านเกณฑ์เป็นอสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน

อสม.ผ่านเกณฑ์เป็น อสม. วิทยาศาสตร์การแพทย์ชุมชน ร้อยละ 80

100.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,886.00 0 0.00
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประเมินความรู้ก่อนรับการอบรม 0 288.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายจากการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย ด้านยาจากสมุนไพรและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่ปนปลอมสเตียรอยด์และยาแผนปัจจุบันและเครื่องสำอางที่ปนปลอมสารห้ามใช้และด้านอาหาร การใช้และการสืบค้นข้อมูลผลภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยจากAppication (กรมวิทย์ 0 9,710.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ประเมินความรู้หลังรับการอบรม 0 288.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 ติดตามผลการให้ความรู้และพัฒนาทักษะ อสม. ต่อเนื่อง (ในการปฏิบัติ) กิจกรรมแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม ในการฝึกปฏิบัติการดำเนินการคัดกรองและตรวจสอบชุดทดสอบเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์สุขภาพ 0 8,800.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 เตรียมความพร้อมการทำงานจริง อสม. ทุกหมู่ลงพื้นที่ซักซ้อมการทำงานในชุมชน (หมู่ที่ 3 หมู่ที่ 8 หมู่ที่ 9 หมู่ที่ 10 หมู่ที่ 11) 0 1,800.00 -
1 ต.ค. 63 - 30 ก.ย. 64 สรุปและประเมินผลโครงการ 0 0.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อสม. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอันตรายจากการใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ปลอดภัย
  2. อสม. ใช้ชุดทดสอบเบื้องต้น (Test Kit) ได้
  3. อสม.ใช้และสืบค้นตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่ไม่ปลอดภัยจากappication หน้าต่างเตือนภัยสุขภาพได้
  4. มีการเฝ้าระวังเตือนภัยสุขภาพในชุมชนอย่างสม่ำเสมอ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ธ.ค. 2563 10:30 น.