กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโภชนาการสมส่วน พัฒนาการสมวัย

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย

1. นายเกษม เเวหมะ
2. นางสาวสุภาภรณ์ รัตนะชนะวงษ์
3. นางสาวมารีเยาะ ไมมูรา
4. นางสาวซับนับ มะลี
5. นางสาวฮาลีเมาะ บือราเฮง

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กเล็ก (2-6ปี) มีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ

 

100.00

จากข้อมูลการประเมินโภชนาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลปุโละปุโย จากจำนวนเด็กนักเรียน 53 คน พบว่า เด็กนักเรียนมีภาวะเสี่ยงทุพโภชนาการ (น้ำหนัก ส่วนสูงไม่ตามเกณฑ์) จำนวน 9 คน
คิดเป็นร้อยละ 17
อาหารและภาวะโภชนาการที่ดีเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาของเด็ก ปัญหาทางโภชนาการที่พบบ่อยในเด็กปฐมวัย ได้แก่ ภาวะการเจริญเติบโตไม่สมวัย จากโรคขาดสารอาหาร ภาวะโภชนาการเกินการขาดสารไอโอดีน ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยมีสาเหตุสำคัญจากพฤติกรรมการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ลดลง การให้อาหารตามวัยแก่เด็กเร็วเกินไปและไม่ถูกต้อง ซึ่งจะส่งผลต่อพัฒนาการเด็ก โดยเด็กปฐมวัยต้องมีความพร้อมของพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์ – จิตใจ ด้านสังคม และด้านสติปัญญาจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการส่งเสริมพัฒนาการและเฝ้าระวังภาวะทุพโภชนาการในเด็กเล็ก หากมีสิ่งใดมาทำให้การเจริญเติบโตต้องชะงักไป จะเป็นผลเสียต่อเด็กเป็นอย่างยิ่ง อาจทำให้เติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีคุณภาพด้อยไปได้ เด็กจึงควรได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอกับความต้องการของร่างกาย การให้อาหารเด็กอย่างไม่เหมาะสมหรือไม่ครบทั้ง 5 หมู่ จะทำให้การเจริญเติบโตหยุดชะงัก มีระดับสติปัญญาไม่ดีเท่าที่ควร และเจ็บป่วยบ่อย เด็กควรได้กินอาหารหลักครบทั้ง 5 หมู่ ในแต่ละชนิดควรกินให้หลากหลายชนิด วันละ 3 มื้อ และดื่มนมเป็นอาหารเสริม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวั

ผู้ปกครองร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย

100.00 80.00
2 เพื่อเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กปฐมวัย

เด็กนักเรียนร้อยละ 80 มีส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์

100.00 80.00
3 เพื่อส่งเสริมเด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองตามวัย

เด็กนักเรียนร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองตามวัย

100.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 53
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 - กิจกรรมจัดอบรมเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่

ชื่อกิจกรรม
- กิจกรรมจัดอบรมเกี่ยวกับอาหารที่มีประโยชน์ มีสารอาหารครบ 5 หมู่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ช.ม.ๆละ 500 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 53 ชุดๆละ 50 บาท เป็นเงิน 2,650 บาท -อาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม จำนวน 106 ชุดๆละ 25 บาท เป็นเงิน 2,650 บาท -ค่าป้ายไวนิล ขนาด 1.2 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 720 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ (กระเป๋าผ้า ปากกา สมุด) จำนวน 53 ชุดๆละ
    50 บาท เป็นเงิน 2,650 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. ผู้ปกครองร้อยละ 80 มีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย 2.เด็กนักเรียนร้อยละ 80 มีพัฒนาการทางร่างกายและสมองตามวัย
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11670.00

กิจกรรมที่ 2 - สาธิตการทำเมนูอาหาร

ชื่อกิจกรรม
- สาธิตการทำเมนูอาหาร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สาธิตการทำเมนูอาหาร -ค่าวัตถุดิบ 4,330

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กนักเรียนร้อยละ 80 มีส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4330.00

กิจกรรมที่ 3 - กิจกรรมการประกวดหนูน้อยสุขภาพดี

ชื่อกิจกรรม
- กิจกรรมการประกวดหนูน้อยสุขภาพดี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมการประกวดหนูน้อยสุขภาพดี - ค่าตอบแทนกรรมการตัดสินหนูน้อยสุขภาพดี จำนวน 2 คนๆละ 500 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท - ค่าเงินรางวัลการประกวดหนูน้อยสุขภาพดี จำนวน 5 รางวัล เป็นเงิน 3,000 บาท (รางวัลที่ 1 1,000 บาท รางวัลที่ 2 800 บาท รางวัลที่ 3,600 บาท รางวัลชมเชย 2 รางวัลๆละ 300 บาท) รวม 4,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองมีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย ส่วนสูงและน้ำหนักตามเกณฑ์ รวมถึงพัฒนาการทางร่างกายและสมองตามวัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ผู้ปกครองเด็กมีความรู้ ความเข้าใจถึงภาวะโภชนาการในเด็กปฐมวัย
2.ผู้ปกครองสามารถเฝ้าระวังติดตามภาวะโภชนาการในกลุ่มเด็กปฐมวัย
3.เด็กปฐมวัยมีพัฒนาการทางร่างกายและสมองเจริญเติบโตตามวัย


>