กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเผ้าระวัง และส่งเสริมทันตสุขภาพ ประจำปีการศึกษา 2563

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.แค

คณะกรรมการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแค

1. นางเฝาสี่ย๊ะ หลีขาหรี
2. นางหาสาหน๊ะเอียดแอ
3. นางสาวซอฟียะห์คงหัส
4. นางสาวสุวรรณาหัสแหล๊ะ
5. นายอะหมัดหลีขาหรี

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแค

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (2 ขึ้นไป - 4 ปี) ทีมีปัญหาฟันผุ (คน)

 

44.00
2 จำนวนผู้ปกครองที่มีทักษะในการดูแลด้านทันตกรรม

 

28.00

สุขภาพช่องปากมีความสัมพันธ์กับสุขภาพร่างกาย การดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีมีผลต่อการมีสุขภาพที่ดีด้วยปัญหาสุขภาพช่องปากนั้นไม่ได้มีเพียงปัจจัยที่เกิดจากการดูแลภายในช่องปากเพียงอย่างเดียว แต่มีปัจจัยซึ่งเกิดจากสภาพสังคม สิ่งแวดล้อม และปัจจัยร่วมหลาย ๆ อย่าง เช่น การอยู่ในครอบครัวที่ขาดการเอาใจใส่ และการรับประทานอาหารตามสื่อโฆษณา เช่น ขนมขบเคี้ยว ทอฟฟี่ เป็นต้น ซึ่งส่งผลให้เด็กมีปัญหาฟันผุ ซึ่งปัญหานี้มักเกิดขึ้นในช่วงวัยเด็กอนุบาล
ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแค จึงจัดโครงการเฝ้าระวัง และส่งเสริมทันตสุขภาพประจำปีการศึกษา 2563 ขึ้นเพื่อให้เด็ก และผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแครู้ัจักวิธีการดูแลสุขภาพอนามัยในช่องปากของตัวเด็กเองเพื่อลดปัญหาฟันผุ พร้อมทั้งผู้ปกครองได้รับความรู้ ทักษะ เกี่ยวกับทันตกรรม ทางศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมัสยิดคูแคจึงเสนอโครงการเพื่อของบประมาณสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลแค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (2 ปีขึ้นไป - 4 ปี) ทีมีปัญหาฟันผุ

จำนวนเด็กก่อนวัยเรียน (2 ปีขึ้นไป 4 ปี) ที่มีปัญหาฟันผุลดลง

44.00 20.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนผุ้ปกครองทีมีทักษะด้านทันตกรรม

จำนวนผุ้ปกครองทีมีทักษะในการดูแลด้านทันตกรรมเพิ่มขึ้น

28.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 56
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 29/01/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเด็ก และผู้ปกครองในเรื่องเกี่ยวกับทันตกรรม

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้กับเด็ก และผู้ปกครองในเรื่องเกี่ยวกับทันตกรรม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ให้ความรู้เกี่ยวกับทันตกรรม คือ การดูแลฟันเด็ก การแปรงฟันที่ถูกวิธี และอาการของโรคฟันผุ โดยวิทยากร นางสาววาฮีด้าแดงแสละ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลสุขภาพตำบลคู
  • สาธิตการแปรงฟันที่ถูกวิธี โดยวิทยากร นางสาววาฮีด้า แดงแสละ เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข โรงพยาบาลสุขภาพตำบลคู พร้อมลงมือปฏิบัติจากผู้ปกครองแปรงให้บุตร
  • คัดกรองภาวะช่องปากของเด็กเป็นรายบุคคล เพื่อให้ผู้ปกครองนำเด็กไปรักษาต่อไป
    งบประมาณ
  1. ยาสีฟัน จำนวน 56 ชุด ชุดละ 30 บาทเป็นเงิน 1,680 บาท
  2. แปรงสีฟัน จำนวน 56 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
  3. แก้วน้ำ จำนวน 56 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
  4. ผ้าเช็ดหน้า จำนวน 56 ผืน ผืนละ 20 บาท เป็นเงิน 1,120 บาท
  5. กระดาษ A4 จำนวน 1 รีม เป็นเงิน 130 บาท
  6. ไวนิล เป็นเงิน 300 บาท
  7. ค่าวิทยากร 2 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
  8. อาหารว่าง
    เด็ก 56 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 1,400 บาท
    ผู้ปกครอง 56 ชุด ชุดละ 25 บาทเป็นเงิน 1,400 บาท
    ครูผู้ดูแลเด็ก 4 ชุด ชุดละ 25 บาทเป็นเงิน 100 บาท
    วิทยากร 1 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 25 บาท
  9. อาหารกลางวัน
    ผู้ปกครอง 56 ชุด ชุดละ 50 บาทเป็นเงิน 2,800 บาท
    ครูผู้ดูแลเด็ก 4 ชุด ชุดละ 50 บาทเป็นเงิน 200 บาท
    วิทยากร 1 ชุด ชุดละ 50 เป็นเงิน 50 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13,405 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 29 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เด็ก และผู้ปกครองได้รับความรู้เกี่ยวกับทันตกรรม
  2. เด็ก และผู้ปกครองสามารถลงมือแปรงฟันอย่างถูกวิธี
  3. ได้รับจำนวนของเด็กที่มีฟันผุ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13405.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 13,405.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เด็กได้รับการปลูกฝังในด้านทันตกรรมที่ถูกต้องจากผู้ปกครอง
2. ผู้ปกครองมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในเรื่องทันตกรรมให้กับบุตร


>