กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการ อย.น้อย สุขภาพดีเริ่มที่โรงเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปาล์มพัฒนา

โรงเรียนบ้านมะนัง

โรงเรียนบ้านมะนัง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 1. นักเรียนเลือกรับประทานอาหารที่ไม่มีประโยชน์

 

50.00

อาหารเป็นส่วนหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ การบริโภคอาหารก็เพื่อทำให้ร่างกายเจริญเติบโตและดำรงชีวิตอยู่โดยปกติสุข ในการบริโภคอาหารไม่ควรจะคำนึงถึงแต่เพียงความอร่อยเท่านั้น สิ่งสำคัญที่จะต้องพิจารณาควบคู่กันไปคือ ความสะอาดของอาหาร และความปลอดภัย ในการบริโภค ในปัจจุบันมีการเพิ่มจำนวนของประชากรอย่างรวดเร็ว การผลิตอาหารจำเป็นต้องอาศัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากมายในการผลิตอาหาร เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภค จึงเกิดเป็นร้านอาหาร ตลาด ห้างสรรพสินค้า และโรงงานผลิตอาหาร ซึ่งการดำเนินงานผลิตอาหารนั้นจำเป็นต้องอาศัยหลักการของการสุขาภิบาลอาหาร เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย และมีความน่าบริโภค เพราะมิเช่นนั้นแล้วอาจเกิดปัญหาโรคภัยไข้เจ็บอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหาร การได้รับอาหารที่มีคุณภาพ สะอาดปลอดภัย เป็นปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาชนในประเทศ ทำให้มีพลังสามารถสร้างสรรค์ความเจริญต่างๆ ให้แก่ประเทศชาติได้หากผู้บริโภคปรุงอาหารด้วยตนเองก็มั่นใจได้ว่าอาหารมีความปลอดภัยในระดับหนึ่ง แต่ส่วนใหญ่นิยมซื้ออาหารนอกบ้านมารับประทาน ทำให้ไม่สามารถมั่นใจได้ว่า อาหารมีความปลอดภัยเพียงพอทำให้เกิดความเสี่ยงมากกว่า ในปัจจุบันมีพ่อค้าแม่ค้าที่เอาเปรียบผู้บริโภคโดยนำวัตถุดิบที่มีคุณภาพต่ำมาประกอบอาหาร หรือมีการเติมสารห้ามใช้ในอาหารบางอย่างลงไปเช่นบอแรกซ์โซเดียมไฮโดรซัลไฟต์เป็นต้น รวมทั้งมีการปรุงอาหารอย่างไม่ถูกสุขลักษณะ ไม่สะอาดเหมาะสม ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภคได้
โรงเรียนบ้านมะนัง ได้จัดโครงการ อย.น้อย สุขภาพดีเริ่มที่โรงเรียนด้วยเห็นว่าเด็กเป็นกำลังที่สำคัญของประเทศชาติ หากปลูกฝังให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมแล้วจะช่วยลดปัญหาทางด้านสาธารณสุขในอนาคต ซึ่งเด็กเป็นผู้ที่กระตือรือร้น และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครอง ให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผลเพื่อนำศักยภาพของนักเรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนได้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย
  1. เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องผลิตภัณฑ์สุขภาพ และสามารถเลือกซื้อ เลือกบริโภคได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย (ร้อนละ)
50.00 85.00
2 เพื่อให้นักเรียน สามารถใช้ชุดทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ได้อย่างถูกต้อง

เพื่อเพิ่มนักเรียนมีความรู้ สามารถทดสอบสารปนเปื้อนในอาหาร ได้อย่างถูกต้อง (ร้อยละ)

60.00 85.00
3 เพื่อเพิ่มให้นักเรียนนำกิจกรรม อย.น้อยไปพัฒนาหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน (ร้อยละ)

เพิ่มนักเรียนสามารถพัฒนาตนเองหรือแก้ไขปัญหาพฤติกรรมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนได้ (ร้อยละ)

50.00 60.00
4 เพื่อเพิ่มให้กลุ่มนักเรียน อย.น้อย สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังเพื่อนนักเรียนและครอบครัว

เพิ่มกลุ่มนักเรียนมีความตระหนักในการเลือกบริโภคอาหารที่ดีต่อสุขภาพ และ สามารถเผยแพร่ความรู้ที่ได้รับไปยังครอบครัวและชุมชนได้ (ร้อยละ)

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 70
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่องอาหารปลอดภัยให้กับครู/นักเรียนและจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสามารถทดสอบ สารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับ เรื่องอาหารปลอดภัยให้กับครู/นักเรียนและจัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสามารถทดสอบ สารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมโครงการฯ จำนวน 70 คนๆ ละ 25 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,750 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 300 บาท เป็นเงิน 900บาท
  3. ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2 × 3 เมตร ในราคาตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 540บาท
  4. ป้ายให้ความรู้ เรื่อง อย. น้อย ขนาด 1.5x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน ราคาตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 675บาท
  5. ป้ายให้ความรู้เรื่อง อาหารปลอดภัยขนาด 1.5 x 3จำนวน 1 ผืน ราคาตารางเมตรละ 150 บาท เป็นเงิน 675 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและนักเรียนมีความรู้ เรื่องอาหารปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4540.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้อง

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนในอาหารได้อย่างถูกต้อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าสารบอแรกซ์ จำนวน 4 ชุด ๆละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  2. ค่าสารฟอกขาว จำนวน 4 ชุ ๆละ 200 บาท เป็นเงิน 800 บาท
  3. ค่าวัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นตามโครงการ เช่น กระดาษบรู๊ฟ ปากกาเคมี สมุด ปากกา เป็นต้น เป็นเงิน 3,000 บาท
  4. ค่าอุปกรณ์จัดบอร์ด แผ่นพับ โปสเตอร์ เป็นเงิน 3,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สารปนเปื้อนในในอาหารได้อย่างถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 12,140.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนและครูสามารถเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพได้ถูกต้อง
2.นักเรียนและครูมีความรู้เรื่องการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์สุขภาพได้อย่างถูกต้อง
3.นักเรียนและครูมีความรู้เรื่องสารปนเปื้อนในอาหาร และเลือกบริโภคได้อย่างถูกต้องปลอดภัย


>