กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับเปลี่ยนและติดตามกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

ชมรมอาสมัครสาธารณสุข หมู่ที่ 1 ตำบลเขาปู่

1.นางศิรประภา พรหมแก้ว
2.นางโสภาเกษม
3.นายดำรงศักดิ์บุญแก้วปอม
4.นางจำเนียรสุขอนันต์
5.นางสายวารีแสงทอง

หมุ่ที่ 1 บ้านโพธิ์เล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง

 

35.94
2 ร้อยละของคนในชุมชนที่กินผัก ผลไม้ อย่างน้อยวันละ 400 กรัม

 

20.00
3 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการกินอาหารถูกต้องและเหมาะสม

 

20.00

ปัจจุบันโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดในสมองเป็นโรคเรื้อรังที่มีสถิติการเสียชีวิตเป็นอันดับต้นๆของคนไทยและคนทั่วโลกซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและเร่งด่วนของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากกระแสการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ไม่ว่าการเปลี่ยนแปลงด้านสังคม เศรษฐกิจ การเมือง การพัฒนาด้านเทคโนโลยีต่างๆซึ่งส่งผลกระทบต่อสภาวะแวดล้อมการดำเนินชีวิตความเป็นอยู่และภาวะสุขภาพของประชาชน ทำให้ประชาชนมีภาวะเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยมากขึ้นและจากปัจจัยต่างๆเช่นพฤติกรรมการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะ การบริโภคอาหารที่มีรสเค็มไขมันและน้ำตาลสูง น้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐานขาดการออกกำลังกายการสูบบุหรี่การดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ดื่มชากาแฟความเครียดเป็นต้นโดยจากสถิติของกระทรวงสาธารณสุขในปีพ.ศ.2556พบว่าการเสียชีวิตของคนไทยจากโรคความดันโลหิตสูงเป็นอันดับ2 รองมาจากอุบัติเหตุโดยหากดูจากสถิติ2 – 5ปีย้อนหลังโรคดังกล่าวก็เป็นสาเหตุการเสียชีวิตที่สำคัญของคนไทยเช่นกันโดยมีอัตราการเสียชีวิตเพิ่มสูงขึ้นทุกปีโดยหมู่ที่ 11 บ้านเขาปู่ตำบลเขาปู่อำเภอศรีบรรพต จังหวัดพัทลุง มีประชากรกลุ่มเป้าหมายอายุ 35ปี ขึ้นไปจำนวน230คน ผลจากการคัดกรองปี 2563โรคความดันโลหิตสูงจำนวน72 คนกลุ่มเสี่ยง 28 คนร้อยละ 15.05 สงสัยเป็นโรค25 คน ร้อยละ 13.44 และในปี2564 ผลจากการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงจำนวน183 คน ร้อยละ96.83พบว่ากลุ่มเสี่ยง44 คน ร้อยละ 24.04 กลุ่มสงสัยป่วย 32 คนร้อยละ 17.49
การป้องกันโรคความดันโลหิตสูงในประชาชนที่มีความเสี่ยงสูงจึงเป็นแนวทางหนึ่งที่มีความสำคัญเพื่อลดอุบัติการณ์และความรุนแรงของโรคโดยสามารถป้องกันและควบคุมได้หากประชาชนมีการตระหนักถึงการดูแลสุขภาพตนเองที่ถูกต้องรวมทั้งการป้องกันโรคดังกล่าวอย่างจริงจังโดยเฉพาะในประชาชนกลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่มีอายุ35ปีขึ้นไปจำเป็นต้องได้รับการตรวจคัดกรองและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคความดันโลหิตสูงซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการลดอัตราป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคความคันโลหิตสูงลงได้รวมทั้งเพื่อค้นหาผู้ป่วยรายใหม่เพื่อสามารถควบคุม รักษาและส่งต่ออย่างทันท่วงที ก่อนอาการของโรคยังไม่รุนแรงและเพื่อเป็นการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีให้เกิดกับประชาชนทั่วไปดังนั้นหมู่บ้านที่ 11 บ้านเขาปู่ได้ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการโดยร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในพื้นที่ในการค้นหาคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงของประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบทั้งนี้เพื่อประเมินสถานการณ์และแนวโน้มของการเจ็บป่วยอันจะเป็นแนวทางในการวางแผนกำหนดนโยบายในการควบคุมป้องกันโรคความดันโลหิตสูงรวมทั้งประชาชนในกลุ่มเสี่ยงได้เกิดทักษะมีการปฏิบัติตนเพื่อลดและไม่เกิดโรคความดันโลหิตสูงและหลอดเลือดสมองต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง

ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง

20.00 1.00
2 ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น

ประชากรกลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้น

30.00 1.00
3 ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการกินอาหารถูกต้องและเหมาะสม

ประชากรกลุ่มเสี่ยงมีพฤติกรรมการกินอาหารถูกต้องและเหมาะสม

40.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 70
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.การประชุมคณะกรรมการในการดำเนินงาน 2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมาย(กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยเป็นโรค) 3.วางแผนการดำเนินงาน -ค่าอาหารว่างและครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ 50 บาทจำนวน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 10 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.มีคณะกรรมการในการดำเนินงาน  จำนวน  10 คน 2.มีทะเบียนกลุ่มเป้าหมายในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
500.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 70 คนๆละ 50 บาทจำนวน3,500 บาท -ค่าอาหารกลางวันจำนวน 70 คนๆละ 80 บาทจำนวน 5,600 บาท -ค่าเอกสารจำนวน70 ชุดๆละ 15 บาทจำนวน 1,050 บาท -ค่าวิทยากรจำนวน 3 ชั่วโมงจำนวน 900 บาท -ค่าป้าโครงการจำนวน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 มีนาคม 2564 ถึง 10 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงมีส่วนร่วม ร้อยละ80 2.กลุ่มเสี่ยงมีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพิ่มขึ้น ร้อยละ 30

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11550.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่่ยงโรคความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่่ยงโรคความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงวัดความดันที่บ้าน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 70 คนๆละ25 บาทจำนวน 1750 บาท -จัดซื้อเครื่องวัดความดันโลหิตจำนวน3เครื่อง จำนวน 10,500 บาท 2.ประเมินผลการติดตามกลุ่มเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิตลดลงร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12250.00

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่่ยงโรคความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามกลุ่มเสี่่ยงโรคความดันโลหิตสูง ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงวัดความดันที่บ้าน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 70 คนๆละ25 บาท  จำนวน 1750 บาท 2.ประเมินผลการติดตามกลุ่มเสี่ยง

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 พฤษภาคม 2564 ถึง 31 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง มีความดันโลหิตลดลง  ร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1750.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสรุปผลโครงการคืนข้อมุูลให้ชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสรุปผลโครงการคืนข้อมุูลให้ชุมชน และแลกเปลี่ยนเรียนรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สรุปผลการดำเนินโครงการ  แลกเปลี่ยนเรียนรู้
-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  จำนวน 70 คน  จำนวน 1750 บาท 2.มอบประกาศบุคคลต้นแบบในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม  จำนวน  3  คนๆละ  360 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กรกฎาคม 2564 ถึง 20 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงลดลง  ร้อยละ 30

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2110.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,160.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูงลดลง ร้อยละ 20และกลุ่มเสี่ยงมีการบริโภคผักเพิ่มขึ้นและมีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม


>