กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการคัดแยกขยะ ลดขยะ ลดพาหะนำโรค

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนวัดทะเลน้อย (ลอยประชาคาร) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

1.นายอนันต์ พูลเกื้อ
2.นางสาววราทิพย์ ชูดำ
3.นางพรทิพย์ จริตงาม
4.นางสาวกัณฑ์ กลับสุกใส
5.นางอุไรวรรณ โรจนหัสดินท์

โรงเรียนวัดทะเลน้อย (ลอยประชาคาร) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานขยะ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่ขาดความรู้ในวิธีการคัดแยกขยะ

 

90.00
2 จำนวนถังขยะที่ขาดการคัดแยก (ถัง)

 

20.00
3 จำนวนบริเวณทิ้งและเผาขยะที่เป็นแหล่งหากินของสัตว์พาหะนำโรค และก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม (จุด)

 

2.00
4 ร้อยละของนักเรียนที่ไม่คัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง

 

70.00
5 ปริมาณขยะที่ย่อยสลายได้ใน 1 ปี (ตัน)

 

5.00

ในปัจจุบันปัญหาสิ่งแวดล้อม เป็นปัญหาใหญ่เพราะสิ่งแวดล้อมถูกทำลายไปมาก ก่อให้เกิดปัญหามากมายตามมา ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ปัญหาขยะล้น ปัญหาสุขภาพอนามัย ซึ่งขยะเป็นปัญหาหลักของสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่ยากที่จะแก้ไข และสาเหตุหนึ่งเกิดจากนักเรียนไม่รู้จักวิธีก

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง

นักเรียนมีความรู้เรื่องการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้น (ร้อยละ)

100.00 90.00
2 เพื่อลดจำนวนถังขยะที่ขาดการคัดแยก

ถังขยะได้รับการคัดแยกขยะเพิ่มขึ้น (ถัง)

20.00 20.00
3 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่ไม่คัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถัง

นักเรียนที่ไม่คัดแยกขยะก่อนทิ้งลงถังมีจำนวนลดลง (ร้อยละ)

70.00 20.00
4 เพื่อกำจัดขยะที่ย่อยสลาย

ได้ปุ่ยจากการหมักขยะย่อยสลาย (ตัน)

5.00 4.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 473
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 28/05/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การจัดการขยะอย่างครบวงจร และ พาหะนำโรคจากขยะที่เป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การจัดการขยะอย่างครบวงจร และ พาหะนำโรคจากขยะที่เป็นสาเหตุนำไปสู่การเกิดโรคต่างๆ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ชี้แจงรายละเอียดโครงการแก่นักเรียนเพื่อความร่วมมือในการดำเนินงานจัดการขยะอย่างครบวงจร
2.เชิญวิทยากรมาให้ความรู้เรื่องการแยกขยะ การจัดการขยะและพาหะนำโรคจากขยะ ฯ ให้แก่นักเรียน 473 คน จำนวน 1 ชม. X 600 บ. = 600 บ. 3.ค่าอาหารว่างครูและวิทยากร 4 คน X 25 บ. = 100 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน จำนวน 473 คน ได้รับความรู้เรื่องการแยกขยะ การจัดการขยะและพาหะนำโรคจากขยะ ฯ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 2 รณรงค์แยกขยะ

ชื่อกิจกรรม
รณรงค์แยกขยะ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ร่วมกันรณรงค์ จัดการสิ่งแวดล้อมบริเวณโรงเรียนให้น่าอยู่ เน้นปลุกจิตสำนึกให้ตระหนักในการรักษาความสะอาด
1.จัดทำป้ายโฟมบอร์ดรณรงค์การคัดแยกขยะหน้าเสาธง และปิดไว้บริเวณถังขยะ ขนาด 60X80 ตร.ซม. จำนวน 4 แผ่น X 100 บ. = 400 บ.
2.จัดขบวนเดินรณรงค์การคัดแยกขยะภายในโรงเรียน ทุกวันจันทร์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ค่าน้ำดื่ม 4 ครั้ง X 100 บ.= 400 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
12 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 12 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนตื่นตัวในการคัดแยกขยะ 90 %

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
800.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัตการทำปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เชิงปฏิบัตการทำปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เชิญวิทยากรให้ความรู้เชิงปฏิบัติการณ์เรื่องการทำปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย ให้แก่นักเรียน ุ60 คน จำนวน 1 ชั่วโมง ๆ ละุ 600 บาท เป็นเงิน 600 บาท 3.ค่าอาหารว่างนักเรียน จำนวน 60 คน ๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 16 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนเกิดความรู้สามารถทำปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย จำนวน 60 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2100.00

กิจกรรมที่ 4 ทำปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย

ชื่อกิจกรรม
ทำปุ๋ยหมักจากขยะย่อยสลาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.รับซื้อขยะย่อยสลาย จำนวน 100 วัน ๆ ละ 50 กก.จำนวน 5,000 กก. X 1 บ. = 5,000 บ. 2.ทำปุ๋ยหมัก โดยการเตรียมอุปกรณ์ดังนี้ 2.1 ขี้วัว จำนวน 120 กระสอบ X 40 บ. = 4,800 บ. 2.2 กากน้ำตาล จำนวน 300 กก. X 15 บ. =4,500 บ. 2.3 หัวเชื้อน้ำหมัก จำนวน 100 กก. X 10 บ. = 1,000 บ. 3. ลงมือปฏิบัติทำปุ๋ยหมัก ค่าอาหารจำนวน 4 ครั้ง X 15 คน X 50 บ. ต่อคน/ครั้ง =3,000 บ. 4. นำปุ๋ยหมักไปใช้ในการปลูกผักแปลงเกษตรของโรงเรียน

ระยะเวลาดำเนินงาน
17 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ปุ๋ยหมักจากการหมักขยะย่อยสลาย จำนวน 5,000 กก. (5 ตัน)

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18300.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,900.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนเกิดความรู้เกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และประสิทธิภาพในการบริหารจัดการขยะย่อยสลาย(การทำปุ๋ยหมัก)ในพื้นที่ได้ด้วยตนเอง
2. ลดภาระการจัดการปริมาณขยะจากพื้นที่โรงเรียนวัดทะเลน้อยของเจ้าหน้าที่เทศบาลตำบลทะเลน้อย
3. ลดพาหนะนำโรคและมลพิษสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนวัดทะเลน้อย
4. ได้ปุ๋ยหมักจากการหมักขยะย่อยสลาย


>