กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาทุพโภชนาการของเด็กนักเรียน

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

โรงเรียนวัดทะเลน้อย (ลอยประชาคาร) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

1.นางสาวปกาพันธ์ คล้ายสมบัติ
2.นางสาวอุมาพร ดีสมุทร
3.นางสาวอุไรวรรณ โรจนหัสดินทร์
4.นางวิจิตรา พรหมบุญแก้ว
5.นางพนิตา จันทมาศ

โรงเรียนวัดทะเลน้อย (ลอยประชาคาร) อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่ขาดความรู้ด้านโภชนาการ

 

50.00
2 จำนวนนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ

 

55.00

ปัจจุบันจากการสำรวจนักเรียนของโรงเรียนวัดทะเลน้อย (ลอยประชาคาร) พบว่า มีจำนวน 55 คน มีปัญหาด้านสุขภาพร่างกาย เช่น ผอมเกินไป มีสาเหตุมาจากการที่นักเรียนไม่รู้จักเลือก
รับประทานอาหารที่มีคุณค่าหรือมีประโยชน์ตามหลักโภชนาการ โรงเรียนได้เล็งเห็นความสำคัญด้านโภชนาการสำหรับนักเรียน เพราะหากนักเรียนมีคุณภาพร่างกาย แข็งแรง สมบูรณ์ มีจิตใจร่าเริง แจ่มใส ก็มีผลต่อการจัดการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนพร้อมที่จะเรียนรู้ เพราะสุขภาพที่ดีเกิดจากการจัดการตนเองของบุคคลเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า การจัดการสิ่งแวดล้อมและการจัดการประสานความร่วมมือ สู่การพัฒนาสุขภาพที่ดีและยั่งยืน ดังนั้น โรงเรียนวัดทะเลน้อย (ลอยประชาคาร) จึงได้จัดโครงการส่งเสริมสุขภาพและแก้ปัญหาทุพโภชนาการในโรงเรียนขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

นักเรียนที่มีปัญหาภาวะทุพโภชนาการ น้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานลดลง (คน)

55.00 40.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนนักเรียนที่มีความรู้ด้านโภชนาการ

นักเรียนมีความรู้เรื่องโภชนาการเพิ่มขึ้น(ร้อยละ)

50.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 55
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเด็กนักเรียนทุกคนในโรงเรียน แล้วเปรียบเทียบตามเกณฑ์มาตรฐานของกรมอนามัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
4 มกราคม 2564 ถึง 4 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทราบจำนวนนักเรียนมีภาวะทุพโภชนาการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 เสริมความรู้

ชื่อกิจกรรม
เสริมความรู้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ขอคำแนะนำจากเจ้าพนักงานสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กที่มีน้ำหนัก/ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ของกรมอนามัย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 1 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียน จำนวน 55 คน เรียนรู้แก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในเด็กที่มีน้ำหนัก/ส่วนสูง ต่ำกว่าเกณฑ์ของกรมอนามัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 3 ให้อาหารเสริม

ชื่อกิจกรรม
ให้อาหารเสริม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอาหารเสริมให้กับเด็กนักเรียนที่ทุพโภชนาการในช่วงวันเสาร์- อาทิตย์ ค่าอาหารเสริมนมสำหรับนักเรียนจำนวน55 คนๆ ละ52 วัน ๆ ละ 1 กล่อง ๆ ละ ๑๐บาทเป็นเงิน55 X 52 X 1 X 10 = 28,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับอาหารเสริมนม จำนวน 55  คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 28,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนมีสุขนิสัยที่ดีในการเลือกรับประทานอาหาร
2.ลดภาวะทุพโภชนาการของเด็กนักเรียน
3.นักเรียนทราบถึงโทษของภาวะทุพโภชนาการ


>