กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับได้ เปลี่ยนได้ ห่างไกลโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควบคุมได้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บ้านนอก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก

ห้องประชุมโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

1.หลักการและเหตุผล
ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน พบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแบบแผนการดำเนินชีวิตส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้ รวมทั้งโรคพื้นฐานที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้โรคบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึ่งประสงค์เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขาดการจัดการความเครียด

จากการสำรวจชุมชนพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ มีปัญหาการออกกำลังกาย และขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพของประชาชนจากผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีปัจจุบัน พบว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญลำดับต้นที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการสำรวจข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลปี 25๖๓ พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 392 คน จากจำนวนประชากร 4,307 คิดเป็นร้อยละ 9.1ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 203คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 อัตราป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปี 256๓ จำนวน 36 คิดเป็นร้อยละ0.80 และอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่53 รายคิดเป็นร้อยละ 1.25 จากผลการคัดกรองความเสี่ยงประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,853มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 174คน คิดเป็นร้อยละ 9.39 มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 8.14 สาเหตุสำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ยังขาดความต่อเนื่องในการให้การบริการในเชิงรุกลงไปถึงระดับ ครอบครัวชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาได้แค่ระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิด และใช้วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ อีกทั้ง ในปีที่ผ่านมาการดำเนินงาน NCD คปสอ.ปะนาเระ ยังไม่ผ่านการประเมิน NCD Clinic Plus ระดับดี ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่จากสภาพปัญหาดังกล่าว คณะทำงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอำเภอปะนาเระได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการปรับได้ เปลี่ยนได้ ห่างไกลโรคเรื้อรังเบาหวานความดันโลหิตสูงควบคุมได้ โดยเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของตนเอง โดยการดำเนินงานกิจกรรมต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้มีการเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตมีความรู้ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง มีความห่วงใยต่อสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน อย่างถาวร ส่งผลให้ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยและประชาชนมีสุขภาพที่ดี มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนการดำเนินงาน NCD คปสอ.ปะนาเระ ให้ผ่านการประเมิน NCD Clinic Plus ระดับดี เพื่อให้การแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรังในระดับอำเภอประสบผลสำเร็จ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 2.เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้มีความรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด

อัตราป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงไม่เกิน ร้อยละ10 ร้อยละ95 ของกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 90ของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้มีความรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. กิจกรรมลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 1.1 จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนารพ.สต.บ้านนอก เพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกหมู่บ้าน 1.2.ระยะให้ความรู้ 2.2.ระยะติดตามภาวะสุขภาพ ครั้งที่ 1 2.3 ระยะติดตามภาวะสุขภาพ ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
1. กิจกรรมลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 1.1 จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนารพ.สต.บ้านนอก เพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกหมู่บ้าน 1.2.ระยะให้ความรู้ 2.2.ระยะติดตามภาวะสุขภาพ ครั้งที่ 1 2.3 ระยะติดตามภาวะสุขภาพ ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าอาหารกลางวันสำหรับคณะกรรมการพัฒนารพ.สต.บ้านนอก 70 คน x50 บาท x 1มื้อ เป็นเงิน3,500บาท

-ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะกรรมการพัฒนารพ.สต.บ้านนอก 70 คน x 25 บาท x 1มื้อ เป็นเงิน1,750บาท รวม 5,250 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 100 คน x 25 บาท x 2 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท - ค่าอาหารกลางวันสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 100คนx 50 บาท x1 มื้อ x 1 วัน เป็นเงิน 5,000 บาท รวม 10,000 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง 100คน x 25 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,500บาท

รวม 2,500บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม 100คน x 25 บาท x1 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท รวม 2,500บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองในการป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้
2. แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงมีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน และถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
4. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
5. ภาคีเครือข่ายเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
6. บุคลากรด้านสาธารณสุขมีความรู้และมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนได้
7. อำเภอผ่านการประเมินคุณภาพ NCD Clinic Plus ระดับดี


>