กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับได้ เปลี่ยนได้ ห่างไกลโรคเรื้อรัง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควบคุมได้
รหัสโครงการ 64-L2996-1-011
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนอก
วันที่อนุมัติ 1 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 20,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายอนุพงษ์ ชำนิไพบูลย์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 9 มี.ค. 2564 31 พ.ค. 2564 20,250.00
รวมงบประมาณ 20,250.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

1.หลักการและเหตุผล ปัญหาสุขภาพของประชาชนในปัจจุบัน พบว่ามีความซับซ้อนมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและแบบแผนการดำเนินชีวิตส่งผลทำให้เกิดการเจ็บป่วย ทั้งด้วยโรคที่สามารถป้องกันได้ และป้องกันไม่ได้ รวมทั้งโรคพื้นฐานที่ประชาชนสามารถดูแลตนเองได้โรคบางอย่างเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่พึ่งประสงค์เช่น การบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้อง ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขาดการจัดการความเครียด

จากการสำรวจชุมชนพบว่าประชาชนส่วนใหญ่ มีปัญหาการออกกำลังกาย และขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพของตนเอง ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพของประชาชนจากผลการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขของตำบลบ้านนอก อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานีปัจจุบัน พบว่าโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขสำคัญลำดับต้นที่ควรได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน จากการสำรวจข้อมูลด้านการรักษาพยาบาลปี 25๖๓ พบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง จำนวน 392 คน จากจำนวนประชากร 4,307 คิดเป็นร้อยละ 9.1ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 203คน คิดเป็นร้อยละ 4.7 อัตราป่วยโรคเบาหวานรายใหม่ ปี 256๓ จำนวน 36 คิดเป็นร้อยละ0.80 และอัตราป่วยโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่53 รายคิดเป็นร้อยละ 1.25 จากผลการคัดกรองความเสี่ยงประชาชนอายุ35 ปีขึ้นไป จำนวน 1,853มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 174คน คิดเป็นร้อยละ 9.39 มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคเบาหวาน จำนวน 151 คน คิดเป็นร้อยละ 8.14 สาเหตุสำคัญคือ พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องและการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ จากการดำเนินงานที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและอสม. ยังขาดความต่อเนื่องในการให้การบริการในเชิงรุกลงไปถึงระดับ ครอบครัวชุมชน ทำให้การแก้ปัญหาได้แค่ระดับหนึ่ง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องคิด และใช้วิธีการที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่ อีกทั้ง ในปีที่ผ่านมาการดำเนินงาน NCD คปสอ.ปะนาเระ ยังไม่ผ่านการประเมิน NCD Clinic Plus ระดับดี ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานและแก้ไขปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่จากสภาพปัญหาดังกล่าว คณะทำงานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอำเภอปะนาเระได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการปรับได้ เปลี่ยนได้ ห่างไกลโรคเรื้อรังเบาหวานความดันโลหิตสูงควบคุมได้ โดยเป็นการส่งเสริมสุขภาพ ทั้งในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วย และการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดูแลสุขภาพขั้นพื้นฐานของตนเอง โดยการดำเนินงานกิจกรรมต้องสอดคล้องกับสภาพปัญหาของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ศาสนา และวัฒนธรรม เพื่อให้มีการเปลี่ยนแบบแผนการดำเนินชีวิตมีความรู้ความเข้าใจ และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง สามารถลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน และ ความดันโลหิตสูง มีความห่วงใยต่อสุขภาพ ครอบครัว และชุมชน อย่างถาวร ส่งผลให้ทั้งกลุ่มเสี่ยง กลุ่มป่วยและประชาชนมีสุขภาพที่ดี มุ่งให้เกิดการพึ่งตนเองทางสุขภาพเป็นสำคัญ อีกทั้งยังเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนการดำเนินงาน NCD คปสอ.ปะนาเระ ให้ผ่านการประเมิน NCD Clinic Plus ระดับดี เพื่อให้การแก้ไขปัญหาโรคเรื้อรังในระดับอำเภอประสบผลสำเร็จ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง 2.เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว 3.เพื่อให้กลุ่มเสี่ยง ต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้มีความรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด

อัตราป่วยรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงไม่เกิน ร้อยละ10 ร้อยละ95 ของกลุ่มสงสัยป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคอย่างรวดเร็ว ร้อยละ 90ของกลุ่มเสี่ยงต่อโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงได้มีความรู้ และมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การออกกำลังกาย และการจัดการความเครียด

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 20,250.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 31 ส.ค. 64 1. กิจกรรมลดเสี่ยง ลดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง 1.1 จัดประชุมคณะกรรมการพัฒนารพ.สต.บ้านนอก เพื่อหาแนวทางในการพัฒนางานโรคไม่ติดต่อเรื้อรังทุกหมู่บ้าน 1.2.ระยะให้ความรู้ 2.2.ระยะติดตามภาวะสุขภาพ ครั้งที่ 1 2.3 ระยะติดตามภาวะสุขภาพ ครั้งที่ 2 0 20,250.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีความรู้และทักษะในการดูแลตนเองในการป้องกันโรค สามารถประเมินและแก้ไขปัญหาภาวะสุขภาพของตนเอง ครอบครัว ชุมชนได้
    1. แกนนำประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงมีการขยายผลแก่สมาชิกกลุ่มเสี่ยงในชุมชน และถ่ายทอดความรู้สู่ชุมชนได้อย่างถูกต้อง และต่อเนื่อง
    2. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
    3. อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง
    4. ภาคีเครือข่ายเห็นความสำคัญของปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่ และมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
    5. บุคลากรด้านสาธารณสุขมีความรู้และมีพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ถูกต้อง สามารถเป็นแบบอย่างให้กับประชาชนได้
    6. อำเภอผ่านการประเมินคุณภาพ NCD Clinic Plus ระดับดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2563 10:45 น.