กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพลังชุมชน ลดสูบ เพิ่มสุข

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ท่าน้ำ

สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าน้ำ

องค์การบริหารส่วนตำบลท่าน้ำ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานสิ่งเสพติด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ในทุกสังคมตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นไป จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ พฤติกรรมของการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากวัยรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มเพื่อนซึ่งจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมของการเสพติดบุหรี่เป็นนิสัยและต่อเนื่องไปยังวัยผู้ใหญ่ จากสถิติของสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค (2554) พบว่าคนไทยที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้สูบบุหรี่ ทุกชนิดรวม 13 ล้านคน มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2 - 3 แสนคนต่อปี และคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คน
แม้ว่าการสูบบุหรี่ของประชากรในวัยทำงาน และผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังพบว่า วัยรุ่นซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ยังมีแนวโน้มของการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่นชายที่มีการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเนื่องมาจากวัยรุ่นเป็นวัยที่มีพฤติกรรมอยากลองอยากรู้ และได้รับอิทธิพลมาจากเพื่อนซึ่งชักชวนกันให้สูบ ประกอบกับการคิดว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องไม่อันตราย
ในการส่งเสริม รณรงค์ให้ประชาชนลดและเลิกการสูบบุหรี่ที่ผ่านมายังขาดการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและเครือญาติผู้สูบบุหรี่เหล่านี้อย่างจริง และเป็นการดำเนินงานของทางภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าน้ำ จึงมีความสนใจในการหาแนวทางการรณรงค์ และส่งเสริมการลด ละ เลิกบุหรี่อย่างเข้มข้น โดยการสร้างความเข้าใจ และการร่วมมือกันของคนในชุมชน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงโทษของบุหรี่ และปรับทัศนคติใหม่ให้ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาควันบุหรี่มือสอง ป้องกันการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และเสริมแรงให้ผู้ที่สูบบุหรี่สามารถลด หรือเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่และยาสูบของเด็กและเยาวชน

จำนวนผู้ติดบุหรี่ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คน

0.00
2 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

ไม่มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในปีงบประมาณ 2564

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรม สามวัย สานรัก 1.1กิจกรรมกลุ่มและอบรม เรื่องพิษภัยของบุหรี่ การดูแลคนในครอบครัวสร้างสานพันธ์ให้กำลังใจกันและกัน มีส่วนร่วมในการให้เด็กและเยาวชนเลิกบุหรี่ ผ่านการจัดกระบวนการกลุ่ม และทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกจำนวน 50 คน เช่น การกอด บอก

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรม สามวัย สานรัก 1.1กิจกรรมกลุ่มและอบรม เรื่องพิษภัยของบุหรี่ การดูแลคนในครอบครัวสร้างสานพันธ์ให้กำลังใจกันและกัน มีส่วนร่วมในการให้เด็กและเยาวชนเลิกบุหรี่ ผ่านการจัดกระบวนการกลุ่ม และทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกจำนวน 50 คน เช่น การกอด บอก
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางผู้เข้าร่วมประชุม50 คน × 50 บาท = 2,500 บาท ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  50 คน × 25 × 2มื้อ =2,500 บาท ค่าสมนาคุณวิทยากร 600 บาท x 2 ชม .x  3 คน =3,600 บาท
ค่าวัสดุจัดกระบวนการกลุ่ม = 2,400 บาท ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.4 เมตรๆ ละ 250 = 720 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11720.00

กิจกรรมที่ 2 2.ครอบครัวต้นแบบลด ละ เลิกบุหรี่2.1 รับสมัครโดยการให้ครอบครัวจำนวน 20 ครัวเรือน แสดงความจำนงในเอกสาร พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อประกาศตนลด ละ เลิกบุหรี่ และมีการเล่าประสบการณ์ วิธีการและกลวิธีลดละเลิกบุหรี่ ซึ่งมีกำหนด 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือนและสามารถเลิกได้

ชื่อกิจกรรม
2.ครอบครัวต้นแบบลด ละ เลิกบุหรี่2.1 รับสมัครโดยการให้ครอบครัวจำนวน 20 ครัวเรือน แสดงความจำนงในเอกสาร พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อประกาศตนลด ละ เลิกบุหรี่ และมีการเล่าประสบการณ์ วิธีการและกลวิธีลดละเลิกบุหรี่ ซึ่งมีกำหนด 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือนและสามารถเลิกได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าอาหารกลางวันผู้เข้าร่วมประชุม 20 คน×50 บาท = 1,000 บาท
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม  20 คน × 25 บาท × 2  มื้อ = 1,000 บาท ค่าตอบแทนวิทยากรบุคคลต้นแบบแนะนำการเลิกบุหรี่ 300 บาท x 2 ชม.x 2 คน  = 1,200 บาท ค่าธงสี 3 สีๆ ละ 20 ผืน (สีน้ำเงิน,สีเหลือง,สี}เขียว) = 1,000 บาท ประกาศเกียรติคุณพร้อมของที่ระลึกสำหรับผู้ที่เลิกบุหรี่  20 คน = 6,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,920.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนสามรถปรับแนวคิดทัศนะคติไปในระดับหนึ่ง
2. เยาวชนเป็นต้นแบบชีวิตในด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้น
3. เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
4. เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้
5. เกิดมาตรการกลไกทางสังคม ในการสร้างเครือข่ายผู้ลด ละ เลิกบุหรี่ในชุมชน


>