กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพลังชุมชน ลดสูบ เพิ่มสุข
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าน้ำ
วันที่อนุมัติ 22 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 21,920.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิฮาซีม เจ๊ะแม็ง
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลท่าน้ำ อำเภอปะนาเระ จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานสิ่งเสพติด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การสูบบุหรี่เป็นพฤติกรรมที่พบเห็นได้ในทุกสังคมตั้งแต่วัยรุ่นเป็นต้นไป จนถึงวัยผู้ใหญ่และวัยสูงอายุ พฤติกรรมของการสูบบุหรี่ส่วนใหญ่จะเริ่มต้นจากวัยรุ่น โดยเฉพาะในกลุ่มเพื่อนซึ่งจะนำไปสู่การมีพฤติกรรมของการเสพติดบุหรี่เป็นนิสัยและต่อเนื่องไปยังวัยผู้ใหญ่ จากสถิติของสำนักควบคุมการบริโภคยาสูบ กรมควบคุมโรค (2554) พบว่าคนไทยที่สูบบุหรี่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น มีผู้สูบบุหรี่ ทุกชนิดรวม 13 ล้านคน มีนักสูบหน้าใหม่เกิดขึ้นราว 2 - 3 แสนคนต่อปี และคนไทยเสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ปีละประมาณ 52,000 คน เฉลี่ยวันละ 142 คน ชั่วโมงละ 6 คน แม้ว่าการสูบบุหรี่ของประชากรในวัยทำงาน และผู้สูงอายุจะมีแนวโน้มลดลง แต่ยังพบว่า วัยรุ่นซึ่งเป็นกำลังสำคัญของชาติในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ยังมีแนวโน้มของการสูบบุหรี่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะวัยรุ่นชายที่มีการสูบบุหรี่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจเนื่องมาจากวัยรุ่นเป็นวัยที่มีพฤติกรรมอยากลองอยากรู้ และได้รับอิทธิพลมาจากเพื่อนซึ่งชักชวนกันให้สูบ ประกอบกับการคิดว่าการสูบบุหรี่เป็นเรื่องไม่อันตราย ในการส่งเสริม รณรงค์ให้ประชาชนลดและเลิกการสูบบุหรี่ที่ผ่านมายังขาดการมีส่วนร่วมของ ประชาชนและเครือญาติผู้สูบบุหรี่เหล่านี้อย่างจริง และเป็นการดำเนินงานของทางภาครัฐเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น สภาเด็กและเยาวชนตำบลท่าน้ำ จึงมีความสนใจในการหาแนวทางการรณรงค์ และส่งเสริมการลด ละ เลิกบุหรี่อย่างเข้มข้น โดยการสร้างความเข้าใจ และการร่วมมือกันของคนในชุมชน เพื่อให้ทุกคนเข้าใจถึงโทษของบุหรี่ และปรับทัศนคติใหม่ให้ถูกต้อง เพื่อลดปัญหาควันบุหรี่มือสอง ป้องกันการเป็นนักสูบหน้าใหม่ และเสริมแรงให้ผู้ที่สูบบุหรี่สามารถลด หรือเลิกสูบบุหรี่ได้ในที่สุด

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราการสูบบุหรี่และยาสูบของเด็กและเยาวชน

จำนวนผู้ติดบุหรี่ที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 20 คน

0.00
2 เพื่อลดอัตราการได้รับควันบุหรี่มือสองที่บ้าน

ไม่มีผู้สูบบุหรี่รายใหม่ในปีงบประมาณ 2564

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 21,920.00 0 0.00
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 1.กิจกรรม สามวัย สานรัก 1.1กิจกรรมกลุ่มและอบรม เรื่องพิษภัยของบุหรี่ การดูแลคนในครอบครัวสร้างสานพันธ์ให้กำลังใจกันและกัน มีส่วนร่วมในการให้เด็กและเยาวชนเลิกบุหรี่ ผ่านการจัดกระบวนการกลุ่ม และทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างพ่อแม่และลูกจำนวน 50 คน เช่น การกอด บอก 0 11,720.00 -
1 ก.พ. 64 - 31 ส.ค. 64 2.ครอบครัวต้นแบบลด ละ เลิกบุหรี่2.1 รับสมัครโดยการให้ครอบครัวจำนวน 20 ครัวเรือน แสดงความจำนงในเอกสาร พร้อมจัดกิจกรรมเพื่อประกาศตนลด ละ เลิกบุหรี่ และมีการเล่าประสบการณ์ วิธีการและกลวิธีลดละเลิกบุหรี่ ซึ่งมีกำหนด 1 เดือน 3 เดือน และ 6 เดือนและสามารถเลิกได้ 0 10,200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เยาวชนสามรถปรับแนวคิดทัศนะคติไปในระดับหนึ่ง
  2. เยาวชนเป็นต้นแบบชีวิตในด้านการพัฒนาเพิ่มขึ้น
  3. เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ
  4. เกิดบุคคลต้นแบบที่สามารถเลิกบุหรี่ได้
  5. เกิดมาตรการกลไกทางสังคม ในการสร้างเครือข่ายผู้ลด ละ เลิกบุหรี่ในชุมชน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2563 00:00 น.