กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน รหัส กปท. L5286

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16 (2) “ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10”

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนภายใต้วิถีมุสลิม ตำบลวังประจันอำเภอควนโดนจังหวัดสตูล
2.
ชื่อ
check_box
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน
กลุ่มคน
1.นายวัฒนชัย ไชยจิตต์
2.นางวนิดา ศรีริภาพ
3.นางฮามีดะ หลังยาหน่าย
4.นางสาวมารียา สุขสง่า
5.นางอภิยา เหตุทอง
3.
หลักการและเหตุผล

นมแม่เป็นอาหารธรรมชาติเพียงอย่างเดียวที่ดีและเหมาะสมที่สุดสําหรับเลี้ยงทารกเพราะอุดมด้วยสารอาหารครบถ้วนและมีส่วนประกอบต่างๆที่สําคัญกว่า200ชนิด (กรมอนามัย, 2550) นมแม่มีคุณค่าทางโภชนาการอย่างครบถ้วนสะอาดปลอดภัยย่อยง่ายและมีภูมิคุ้มกันต่อโรคต่างๆอีกทั้งมีสารอาหารจําเป็นสําหรับบํารุงสมองส่งผลให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่สมบูรณ์แข็งแรงในช่วงแรกของชีวิตการเลี้ยงทารกด้วยนมแม่สามารถป้องกันการเสียชีวิตในเด็กอายุ0-5ปีที่ได้ผลดีที่สุดส่่งเสริมภาวะโภชนาการลดโรคขาดสารอาหาร(Akobeng, Ramanan, Buchan, & Heller, 2005) พัฒนาเชาวน์ปัญญา (ทวีศิลป์วิษณุโยธินและคนอื่นๆ,2557) องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ(UNICEF)เห็นประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่จึงแนะนําให้สตรีเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว(ExclusiveBreastfeeding) เป็นเวลา6เดือนต่อจากนั้นจึงให้อาหารเสริมตามวัยควบคู่กับนมแม่ต่อไปจนครบอายุ2ปีหรือเลยไป(WHO,2011)การติดตามสถานการณ์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในภูมิภาคต่างๆขององค์การอนามัยโลกพบว่าในปีพ.ศ.2551ประเทศที่พัฒนาแล้วบางประเทศมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
เช่น แคนาดา (ร้อยละ53) สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 43) ในบางประเทศก็พบอัตราต่ำเช่นสวีเดน (ร้อยละ 24) อังกฤษ(ร้อยละ21)และพบอัตราสูงมากในประเทศที่กําลังพัฒนาเช่นสาธารณรัฐรวันดาโดยพบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว4เดือนร้อยละ94.4และอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือนร้อยละ 88.4 สําหรับประเทศในทวีปเอเชียมีอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่6 เดือนดังนี้สาธารณรัฐเกาหลีร้อยละ65กัมพูชาร้อยละ60จีนร้อยละ48ฟิลิปปินส์ร้อยละ 34 ติมอร์ ร้อยละ 31 เวียดนามร้อยละ19 ในปีพ.ศ.2556TheStateoftheWorld’sChildren รายงานสถานการณ์ภาพรวมทั่วโลกว่าพบอัตราการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวไม่เกิน6เดือนร้อยละ39(ฐิติพรและคณะ, 2556)
จากข้อมูลการสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย Multi-indicator cluster survey ที่จัดทำโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ในปี 2559 พบว่ามีทารกไทยเพียงร้อยละ 40 ได้กินนมแม่ภายใน 1 ชั่วโมงแรกหลังคลอด และเพียงร้อยละ 23.1 ที่ได้กินนมแม่อย่างเดียวในช่วง 6 เดือนแรกของชีวิต และมีทารกเพียงร้อยละ 15.6ที่ได้กินนมแม่ต่อเนื่องถึง 2 ปี โดยภายในปี 2568 กระทรวงสาธารณสุขตั้งเป้าหมายให้อัตราการกินนมแม่อย่างเดียวของทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน เพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อยร้อยละ 50 สอดคล้องกับเป้าหมายโลกที่ทุกประเทศตั้งไว้ร่วมกันเมื่อปี 2555 (สำนักงานสถิติแห่งชาติร่วมกับองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ , 2559) วิถีชีวิตมุสลิมหมายถึง พฤติกรรมและการปฏิบัติในชีวิตแต่ละวันของคนที่นับถือศาสนาอิสลามภายใต้บทบัญญัติของคัมภีร์อัล-กุรอานเป็นธรรมนูญในการดำเนินชีวิตของมุสลิมทุกคน ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านพิธีกรรมทางศาสนา การประกอบอาชีพ การศึกษา แม้กระทั่งการกิน การนอน และอื่นๆ ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งเสียชีวิตเพราะหลักคำสอนของศาสนาอิสลามนั้นเป็นคำสอนที่ครอบคลุมทุกมิติของการใช้ชีวิต อิสลามมิได้เป็นศาสนาที่สอนเพียงให้มุสลิมปฏิบัติศาสนกิจในโอกาสต่าง ๆ เท่านั้น แต่อิสลามได้ครอบคลุมทุกมิติทุกแง่มุมแห่งการดำเนิน ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์และนำไปสู่ความสำเร็จสูงสุดทั้งโลกนี้และโลกหน้า อิสลามให้ความสำคัญต่อมารดาเป็นอย่างมาก ทั้งนี้ได้ เจาะจงพูดถึงมารดาด้วยการอธิบายถึงคุณสมบัติต่างๆ ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้ทรงประทานให้แก่นาง รวมถึงความสามารถทางกาย ในการคลอด และเลี้ยงดูบุตร และที่สำคัญที่สุด คือ การให้นมบุตรของมารดา (อาลียะฮ์ คลีเฟอร์, ม.ป.ป.) การที่แม่ให้นม แก่ลูก เป็นการปูพื้นฐานของชีวิตที่ดีที่สุดที่จะเสาะหาได้ในโลกนี้ น้ำานมแม่ คือสายใยรักที่ถักทอขึ้นจากสายเลือดของแม่ การที่ มารดาจะเลี้ยงลูกจากอกของตนเอง มารดาเองจะรู้สึกสบายใจและปลื้มใจที่สามารถทำาหน้าที่อย่างเต็มที่ เพราะเธอถือว่ามันเป็น หน้าที่ของเธอและเป็นสิทธิของลูกที่จะต้องได้รับสารอาหารนี้ (อาเซ็ม อัชชะรีฟ, 2552) อัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้ตรัสไว้ในอัลกุรอาน (ซูเราะฮฺ อัล-บากอเราะฮฺ, 2 : 233) ความว่า “และมารดาทั้งหลายนั้นจะให้นมแก่บุตรของพวกนางเป็นเวลาสองปีเต็ม สำาหรับผู้ ที่ต้องการให้นมบุตรอย่างสมบูรณ์”
พื้นที่ตำบลวังประจันอำเภอควนโดนจังหวัดสตูลเป็นชุมชนที่มีมุสลิมร้อยละ 99ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีแนวคิดว่า หากบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจันได้นำโปรแกรมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว 6 เดือน ภายใต้วิถีมุสลิมมาใช้ร่วมกับการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในกิจกรรมโรงเรียนพ่อแม่ของกระทรวงสาธารณสุขจะทำให้กลุ่มเป้าหมายประสบความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากยิ่งขึ้น

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อพัฒนารูปแบบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามวิถีมุสลิม ของหญิงตั้งครรภ์ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
    ตัวชี้วัด : มีรูปแบบในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามวิถีมุสลิม
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
  • 2. เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียวอย่างน้อย 6 เดือน ของหญิงตั้งครรภ์ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
    ตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์ที่เข้าร่วมโครงการสามารถให้นมแม่อย่างเดียวจนถึงอายุ 6 เดือน ได้ 60 %
    ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ขั้นเตรียมการ
    รายละเอียด

    เตรียมความพร้อมของหญิงตั้งครรภ์ที่เป็นมุสลิม ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโครงการ พร้อมตรวจเต้านมให้ทำแบบสอบถามและแบบประเมินความรู้ให้หญิงตั้งครรภ์โดยให้ทำแบบสอบถามให้เวลาทำแบบประเมิน 20 นาที แล้วจึงเก็บแบบสอบถามทั้งนี้ภายหลังผู้เข้าร่วมโครงการส่งแบบสอบถามคืน จะทำการตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามที่ได้รับคืนทั้งหมด โดยการจัดกิจกรรมขั้นตอนนี้จะทำครั้งละ10 คน

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. ให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามบทบัญญัติอิสลาม
    รายละเอียด

    โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ตามหลักบทบัญญัติของอิสลามเพื่อผู้เข้าร่วมโครงการได้รับความรู้และสร้างความตระหนักในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่มากยิ่งขึ้น การจัดกิจกรรมขั้นตอนนี้จะทำครั้งละ10 คนโดยจัดทำ3 ครั้งโดยใช้งบประมาณดังนี้ - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน10คนๆละ3ครั้งๆละ 1 มื้อๆละ25บาทเป็นเงิน750บาท - ค่าตอบแทนวิทยากรจำนวน3 ครั้งๆละ3ชม.ๆละ 600บาทเป็นเงิน5,400 บาท

    งบประมาณ 6,150.00 บาท
  • 3. ให้ความรู้เกี่ยวกับทฤษฎีว่าด้วยเรื่องของนมแม่
    รายละเอียด

    ให้ความรู้โดยการสอน สาธิต และฝึกปฏิบัติจนหญิงตั้งครรภ์สามารถปฎิบัติได้ตามแนวทางที่ถูกต้องโดยพยาบาลวิชาชีพในเรื่อง
    - ความสำคัญของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ตรวจและการแก้ไขหัวนมที่ผิดปกติ - ข้อแตกต่างระหว่างนมแม่และนมผสม - เทคนิค 3 ดูด - ท่าในการอุ้มลูกเพื่อให้นม - การอุ้มเรอ - การบีบเก็บน้ำนม - การเก็บรักษานม - ข้อแตกต่างระหว่างนมแม่และนมผสม
    - แนะนำวิธีการบันทึกการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - มอบคู่มือการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - เปิดโอกาสให้แต่ละคนได้เล่าประสบการณ์ความรู้สึกความมุ่งมั่น ที่คิดว่าจะเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ให้สำเร็จโดยใช้งบประมาณ
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 10 คนๆละ 3 ครั้งๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท -ค่าเอกสารและอุปกรณ์4670บาท - ค่าอาหารกลางวันจำนวน10คนๆละ 3 ครั้งๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท

    งบประมาณ 7,970.00 บาท
  • 4. ติดตามเยี่ยมหญิงหลังคลอด
    รายละเอียด

    การติดตามหญิงหลังคลอดโดยจะเยี่ยม คนละ4 ครั้งช่วงเวลาการติดตามเยี่ยม ครั้งที่1หลังคลอดไม่เกิน 2 สัปดาห์
    - ติดตามดูท่าในการให้นมที่ถูกต้อง การอุ้มเรอ - อุปกรณ์ช่วยให้นมแม่ - ค้นหาปัญหาจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - เปิดโอกาสให้ซักถามปัญหาที่พบจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - ประเมินผลการให้นมแม่เมื่อลูกอายุ2สัปดาห์
    - ส่งเสริมครอบครัวให้มีส่วนร่วมในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - พูดคุยให้กำลังใจ ครั้งที่ 2หลังคลอด1เดือน
    - ประเมินผลการให้นมแม่เมื่อลูกอายุครบ1 เดือน - บันได10 ขั้นเพื่อความสำเร็จในการให้นม - อาหารบำรุงน้ำนม - เปิดโอกาสให้ซักถามปัญหาที่พบจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - พูดคุยให้กำลังใจ ครั้งที่3 หลังคลอด3 เดือน - ประเมินผลการให้นมแม่เมื่อลูกอายุครบ3เดือน - วิธีเพิ่มปริมาณน้ำนม - การบีบเก็บน้ำนมเตรียมความพร้อมก่อนกลับไปทำงาน - เปิดโอกาสให้ซักถามปัญหาที่พบจากการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ - พูดคุยให้กำลังใจ ครั้งที่ 4หลังคลอด 6 เดือน - ประเมินการให้นมเมื่ออายุครบ6 เดือน - วิธีการเริ่มให้อาหารเสริม โดยใช้งบประมาณดังนี้
    - ค่าอาหารกลางวันพร้อมเครื่องดื่มสำหรับ ติดตามเยี่ยม จำนวน 4 คนๆละ 4 ครั้งๆละ 1 มื้อๆละ 60 บาท เป็นเงิน 960 บาท - ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มสำหรับ ติดตามเยี่ยม จำนวน 4 คนๆละ 4 ครั้งๆละ 2 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 800 บาท -

    งบประมาณ 1,760.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่ตำบลวังประจัน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 15,880.00 บาท

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผลของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่อย่างเดียว6 เดือนได้ 60 % 2.. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ ในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ได้80 %
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน รหัส กปท. L5286

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2564
เรียน ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลวังประจัน รหัส กปท. L5286

อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2561 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 15,880.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................