กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชาวทุ่งพัฒนาสร้างสุขภาพดี เริ่มที่ควบคุมน้ำหนัก ลดอ้วน พุง ลดโรค ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา ตำบลละงู อำเภอละงู จังหวัดสตูล

1.นางสาวนัสสิมาดันงุ่น
2.นางพรทิพ ชายเหตุ
3.นางสาวรอน๊ะ สงบ
4.นายธีรศักดิ์ งะหมาด
5.นางสาวจุฬาลักษณ์ โอมณี

หมู่ 13 บ้านทุ่ง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกิจกรรมทางกาย

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบันสังคมไทยกําลังเผชิญกับปัญหาภาวะน้ำหนักเกินและโรคอ้วนลงพุงในทุกเพศทุกวัย เนื่องจากการมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป มีการเคลื่อนไหวร่างกายและมีกิจกรรมทางกายลดลง ในประเทศไทยปัญหาโรคอ้วนมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทั้งนี้เนื่องจากคนไทยมีรูปแบบพฤติกรรมการบริโภคและการใช้ชีวิตประจําวันที่เปลี่ยนไปเป็นรูปแบบคนเมืองมากขึ้นและมีพฤติกรรมการออกกําลังกายที่น้อยลง ปัจจุบันคนไทยจํานวน 17.6 ล้านคน (ร้อยละ 21.4) มีภาวะน้ําหนักเกินและเป็นโรคอ้วนและคนไทยจํานวน 16.2 ล้านคน (ร้อยละ 32.1) มีภาวะอ้วนลงพุง โดยพบผู้หญิงไทยมีอุบัติการณ์โรคอ้วนมากกว่าผู้ชายเกือบเท่าตัว “โรคอ้วน” คือภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันตามอวัยวะ ต่าง ๆ มากกว่าปกติเนื่องมาจากการได้รับพลังงานเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ ซึ่งเป็นปัจจัยของโรคเรื้อรังต่าง ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความเจ็บป่วยจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนและอ้วนลงพุง เนื่องจากร่างกายเกิดการขาดความสมดุลระหว่างพลังงานที่ได้รับจากการบริโภค และพลังงานที่ใช้ไปในกิจกรรมต่าง ๆ รวมทั้งการเคลื่อนไหวร่างกาย กล่าวคือ “ร่างกายใช้พลังงานไปน้อยกว่าพลังงานที่ได้รับเข้าไป” ทําให้เกิดไขมัน เพิ่มขึ้นสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นโรคอ้วน โดยสาเหตุเกิดจากปัจจัยทางพฤติกรรมร่วมกับกรรมพันธุ์ ปัญหาสุขภาพ ความผิดปกติทางพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม สังคมและวัฒนธรรม นอกจากนี้ยังพบปัจจัยส่งเสริมอื่น ๆ ที่อาจทําให้เกิดโรคอ้วนได้ เช่น ภาวะที่มีไทรอยด์ฮอร์โมนน้อย กว่าปกติส่งผลให้มีการเผาผลาญพลังงานในร่างกายน้อยลง การรับประทานยาบางชนิดที่มีผลต่อน้ำหนัก เช่น ยากันชัก ยาแก้อาการซึมเศร้า ยาคุมกําเนิด การได้รับฮอร์โมนสเตียรอยด์เป็นเวลานาน เป็นต้น
จากฐานข้อมูลสุขภาพโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านห้วยไทร (ฐานข้อมูลสุขภาพ รพ.สต.บ้านห้วยไทร : 2563) พบว่า ประชาชนบ้านทุ่งพัฒนา หมู่ที่ 13 ที่เข้ารับบริการสุขภาพในปี พ.ศ.2563 จำนวน 240 คน มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เกิน 23 ถึงร้อยละ 58.8 เมื่อพิจารณาเส้นรอบสะเอว พบว่า เพศหญิง มีเส้นรอบสะเอวเกิน 85 เซนติเมตร ร้อยละ 40.4 และเพศชาย มีเส้นรอบสะเอวเกิน 90 เซนติเมตร ร้อยละ 21.7 เมื่อเปรียบเทียบสถานการณ์ของโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปี 2562 -2563 พบว่า มีผู้ป่วยโรคความดัน เพิ่มขึ้น 9 ราย จาก 80 ราย ควบคุมระดับความดันได้เพียง ร้อยละ 56.1 และมีผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้น 2 ราย จาก 28 ราย ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมได้พียง ร้อยละ 26.7 เท่านั้น และพบผู้เสียชีวิตด้วยโรคเส้นเลือดสมองแตก 2 ราย ซึ่งสภาพปัญหาดังกล่าวล้วนเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมทั้งสิ้น และคาดว่าสถานการณ์ของโรคจะเพิ่มอัตราป่วยมากขึ้น หากขาดการกระตุ้น สร้างกระแส และการเข้าถึงสื่อที่ถูกต้องในการดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
จากความสำคัญดังกล่าวชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งพัฒนา จึงได้จัดโครงการชาวทุ่งพัฒนาสร้างสุขภาพดี เริ่มที่ควบคุมน้ำหนัก ลดอ้วน ลดพุง ลดโรคปีงบประมาณ ๒๕๖4 เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อก่อให้เกิดความตระหนักรู้สู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ รวมถึงส่งเสริมการรวมพลังภาคีเครือข่าย จัดการสุขภาพชุมชน สู่สังคมสุขภาวะต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพและแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ควบคุมน้ำหนัก ลดอ้วน ลดพุง ลดโรค

กลุ่มเป้าหมายผ่านการวัดความรู้ที่คะแนน 8/10 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

0.00 0.00
2 เพื่อควบคุมองค์ประกอบของร่างกาย ได้แก่ น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย มวลไขมัน ไขมันช่องท้อง เส้นรอบเอว อายุเซลล์ มวลกล้ามเนื้อ

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 มีผลการวัดองค์ประกอบของร่างกายลดลง อย่างน้อย 1 รายการ หลังเข้าร่วมโครงการ

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงาน/เตรียมความพร้อม

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงาน/เตรียมความพร้อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

๑. ประชุมคณะทำงาน / เตรียมความพร้อม กลุ่มเป้าหมาย : อสม. ตัวแทนกรรมการหมู่บ้าน มัสยิด กลุ่มสตรี - ทบทวนสภาพปัญหาสุขภาพ - จัดทำแผนขับเคลื่อนการดำเนินงาน - ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือตรวจวัดองค์ประกอบของร่างกาย - จัดซื้อเครื่องชั่งดิจิตอล วัดองค์ประกอบร่างกายด้วยคลื่นไฟฟ้า ผ่านมาตรฐานทางการแพทย์ - จัดซื้อที่วัดส่วนสูง
งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 25 คน= 1,250 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ.x 2 มื้อ x 25 คน = 1,250 บ. - ค่าตอบแทนวิทยากร 4๐๐ บ.x 5 ชม. = 2,000 บ. - ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการและป้ายรณรงค์ ๕๐๐ บาท x 3 แผ่น
= 1,500 บ.
- เครื่องชั่งน้ำหนัก ราคา 3,800 บ.
- ที่วัดส่วนสูง ราคา 2,700 บ. รวมเป็นเงิน 12,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้ทราบปัญหาที่แท้จริงในพื้นที่ เตรียมอุปกรณ์ต่างๆในการดำเนินงาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
12500.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-อบรมเชิงปฏิบัติการกับพฤติกรรมสุขภาพ กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนผู้ที่มีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ และมีความตั้งใจอยากควบคุมน้ำหนัก 1.1 บรรยาย -หลักโภชนาการ -การออกกำลังกาย -การจัดการอารมณ์และความเครียด 1.2 ปฏิบัติการ - สาธิตเมนูสุขภาพ แกงจืด แกงส้ม ปลาย่าง ผักลวก ข้าวประเภทต่างๆ และการประเมินหน่วยโภชนาการ -ประเมินความเครียด งบประมาณ - ค่าอาหารกลางวัน 50 บ.x 35 คน = 1,750 บ. - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ.x 2 มื้อ x 35 คน = 1,750บ. - ค่าตอบแทนวิทยากร 400 บ.x 5 ชม. = 2,000 บ. - ค่าวัตถุดิบจัดทำเมนูอาหารสาธิต 1,000 บ. รวมเป็นเงิน 6,500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายผ่านการวัดความรู้ที่คะแนน 8/10 ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6500.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมควบคุมองค์ประกอบของร่างกาย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมควบคุมองค์ประกอบของร่างกาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. กิจกรรมควบคุมองค์ประกอบของร่างกาย / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานรายครั้ง แต่ละบุคคล กลุ่มเป้าหมาย : ประชาชนผู้ที่มีเส้นรอบเอวเกินเกณฑ์ และมีความตั้งใจอยากควบคุมน้ำหนัก 3.1 ปฏิบัติการตรวจประเมินสุขภาพ
    • ตรวจ วัด องค์ประกอบของร่างกาย ได้แก่น้ำหนัก ดัชนีมวลกาย มวลไขมัน ไขมันช่องท้อง เส้นรอบสะเอว อายุเซลล์ มวลกล้ามเนื้อ
    • บันทึกข้อมูล / ติดตาม / เปรียบเทียบประเมินผล งบประมาณ

- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 25 บ.x 1 มื้อ x 35 คน x 5 ครั้ง = 4,375 บ. - ค่าตอบแทนวิทยากร 400 บ.x 1 ชม. x 5 ครั้ง = 2,000 บ. - ค่าถ่ายเอกสารความรู้และสมุดบันทึกสุขภาพ ชุดละ 25 บ. x 35 ชุด = 875 บ. รวมเป็นเงิน 7,250 บ.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย ร้อยละ 80 มีผลการวัดองค์ประกอบของร่างกายลดลง อย่างน้อย 1 รายการ หลังเข้าร่วมโครงการ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7250.00

กิจกรรมที่ 4 ส่งเสริมการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมการออกกำลังกาย สัปดาห์ละ 3 ครั้ง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย
4.1 กิจกรรมย่อย - กายบริหาร ยืดเหยียด
- เต้นแอโรบิค - เดินเร็ว

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 31 สิงหาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 26,250.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ประชาชนใส่ใจสุขภาพและเกิดกลุ่มออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆในหมู่บ้าน
2.อัตราป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังลดลง
3.พฤติกรรมสุขภาพที่ดีส่งผลต่อการลดอุบัติการณ์โรคอื่นๆในระยะยาว


>