กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเบาหวาน หมู่ 3 บ้านพลีใต้ ปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หมู่ 3 บ้านพลีใต้

1 . นายเจะอุเส็นโต๊ะสา
2 . นาอ๊ะหมัดขะเดหรี
3 . นายฮากีมหมัดโหร๊ะ
4 . นายเอกสิทธิ์ดุหลำยะแม
5 . นายฮาบีดีนสาหมัด

หมู่ 3 บ้านพลีใต้ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ในปัจจุบัน ประเทศไทยยึดหลักเกณฑ์ตามสมาคมเบาหวานแห่งประเทศสหรัฐอเมริกาในการจำแนกผู้ป่วยโรคเบาหวานด้วยการตรวจปริมาณน้ำตาลในเลือด หากผลการตรวจหลังงดอาหารและเครื่องดื่มมีน้ำตาลอยู่กระแสเลือดไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แสดงว่าระดับน้ำตาลในเลือดปกติ โรคเบาหวานเป็นโรคที่ส่งผลให้ผู้ป่วยมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่าปกติ หากไม่มีการควบคุมในเรื่องของการรับประทานอาหารและดูแลรักษาสุขภาพอย่างถูกวิธี ปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นเป็นเวลานาน จะส่งผลต่อเส้นเลือดที่นำสารอาหารไปเลี้ยงอวัยวะในร่างกายจนนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ทั้งโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดเล็ก เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต เป็นต้น หรือโรคแทรกซ้อนชนิดที่เกิดกับเส้นเลือดขนาดใหญ่ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน เป็นต้น รวมไปถึงโรคแทรกซ้อนที่ระบบประสาทและที่สามารถทำให้ผู้ป่วยต้องสูญเสียอวัยวะบางส่วน นอกจากนี้สตรีมีครรภ์ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะครรภ์เป็นพิษ การแท้งบุตรได้
การค้นหาและการตรวจสุขภาพของประชาชนตามกลุ่มอายุตั้งแต่วัยเด็กจนถึงวัยสูงอายุเป็นภารกิจในการดำเนินงานสร้างหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่มุ่งเน้นให้ประชาชนทุกคนมีสุขภาพดีสามารถพึ่งพาตนเองทางด้านสุขภาพมากขึ้น โดยเน้นการสร้างสุขภาพมากกว่าการซ่อมสุขภาพ และถือว่าสุขภาพเป็นเรื่องของประชาชนทุกคน สำหรับการตรวจสุขภาพในกลุ่มอายุต่าง ๆ ได้แก่ วัยทำงาน วัยทอง และวัยสูงอายุเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่เกิดจากพฤติกรรมเป็นส่วนใหญ่ สิ่งสำคัญของการป้องกันโรคเบาหวานทุกชนิด คือ ต้องคอยหมั่นระวังระดับน้ำตาลในเลือดและคอเลสเตอรอลให้อยู่เกณฑ์ปกติ เน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และสารอาหารครบถ้วน มีกากใยสูง หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ และการสูบบุหรี่ รวมถึงการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นสตรีมีครรภ์ควรเข้ารับการฝากครรภ์ตั้งแต่เนิ่น ๆ พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ และได้รับการตรวจคัดกรองเบาหวานหากมีความเสี่ยง
จากการสำรวจและคาดประมาณจำนวนผู้ป่วยโรคเบาหวาน พบว่า ประชาชนยังขาดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ และรักษาโรค จึงเกิดนโยบายระดับชาติเพื่อควบคุมโรคเหล่านี้ คือ การมุ่งเน้นการตรวจค้นหา คัดกรองสุขภาพของประชาชนและการควบคุมปัจจัยเสี่ยงการเกิดของโรคเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก เนื่องจากประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่ตระหนักถึงการดูแลและตรวจสุขภาพเพราะคิดว่าสุขภาพร่างกายแข็งแรงไม่มีอาการของโรค
ประชาชนของหมู่ที่ 3 บ้านพลีใต้ ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไปที่เป็นกลุ่มเป้าหมายในการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานมีทั้งหมด 635 คนอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านพลีใต้ ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังและป้องกันโรคเบาหวาน หมู่ที่ 3 บ้านพลีใต้ ปีงบประมาณ 2564 ติดตามผู้ป่วยเบาหวาน ตลอดจนส่งต่อผู้ป่วยเข้าสู่ระบบเพื่อให้ได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องเหมาะสมต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองตามเป้าหมาย

ประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงได้รับการคัดกรองตามเป้าหมาย ร้อยละ 100

0.00
2 เพื่อส่งเสริมบทบาทของ อสม.ให้ปฏิบัติงานเชิงรุกในการส่งเสริมสุขภาพของประชาชน โดยการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง/และติดตามผู้ป่วยในพื้นที่รับผิดชอบ

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และส่งเสริม ติดตามผู้ป่วยในพื้นที่ตามเป้าหมาย ร้อยละ 80

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
อาสาสมัครประจำหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 04/01/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1 กิจกรรม อสม.เชิงรุก - ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง อย่างน้อย 3 เดือนครั้ง - ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินก่อนแจ้งระบบส่งต่อ

ชื่อกิจกรรม
1 กิจกรรม อสม.เชิงรุก - ตรวจคัดกรองกลุ่มเสี่ยง อย่างน้อย 3 เดือนครั้ง - ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน อย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง หรือเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินก่อนแจ้งระบบส่งต่อ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ชุดเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด ประกอบด้วย

- เครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 1 ตัวๆละ 2,800 บาท - แผ่นตรวจระดับน้ำตาลในเลือด 100 ชิ้น ราคา 1,200 บาท (เป้าหมาย 50 คน x 3 ครั้ง ใช้แผ่นตรวจ 150 ชิ้น) สรุป 1,200 x 2 เป็นเงิน 2,400 บาท - เข็มเจาะ 1 กล่อง 200 ชิ้น กล่องละ 950 บาท - สำลีก้อนชุบแอลกอฮอล์ 70% 1 แผงมี 8 ก้อน แผงละ 8 บาท ใช้ 50 แผงๆละ 8 บาท เป็นเงิน 400 บาท - ถุงมือ 1 กล่องๆละ 220 บาท 2. เครื่องชั่งน้ำหนัก 1 เครื่องๆละ 950 บาท 3. สายวัดรอบเอว BMI ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 7.3 ซม.หนา 2.2 ซม. จำนวน 2 ตลับๆละ 120 บาท เป็นเงิน 240 บาท 4. เครื่องวัดไข้ชนิดอินฟาเรด 2 เครื่องๆละ 1,800 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

รวมเป็นเงิน...........11,560......................บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2021 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11560.00

กิจกรรมที่ 2 2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 1

ชื่อกิจกรรม
2. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 1
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 2.4 เมตร x 1.2 เมตร ราคา 430 บาท
  2. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท x 70 คน    เป็นเงิน 1,750 บาท
  3. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท    เป็นเงิน 1,800 บาท

รวมเป็นเงิน............3,980......................บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2021 ถึง 31 มีนาคม 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3980.00

กิจกรรมที่ 3 3. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2

ชื่อกิจกรรม
3. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท x 70 คน    เป็นเงิน 1,750 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท    เป็นเงิน 1,800 บาท

รวมเป็นเงิน............3,550......................บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2021 ถึง 30 มิถุนายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3550.00

กิจกรรมที่ 4 4. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 3

ชื่อกิจกรรม
4. กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม - ให้สุขศึกษาและคำแนะนำด้านสุขภาพเชิงรุกแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ครั้งที่ 3
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่ม 1 มื้อๆละ 25 บาท x 70 คน    เป็นเงิน 1,750 บาท
  2. ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท    เป็นเงิน 1,800 บาท

รวมเป็นเงิน............3,550......................บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กรกฎาคม 2021 ถึง 30 กันยายน 2021
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3550.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,640.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. อาสาสมัครสาธารณสุขสามารถปฏิบัติงานเชิงรุกในพื้นที่ได้อย่างประสิทธิภาพ
2. ประชาชนกลุ่มปกติได้รับความรู้ด้านสุขภาพ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงในหมู่บ้านได้รับการคัดกรองสุขภาพ ผู้ป่วยโรคเบาหวานในหมู่บ้านได้รับการติดตามอย่างต่อเนื่องเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินก่อนแจ้งระบบส่งต่อ


>