กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมและป้องกันโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ปีงบประมาณ 2564 (รพสต.บ้านบ่อทราย)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านพร้าว

รพ.สต.บ้านบ่อทราย

รพ.สต.บ้านบ่อทราย

หมู่ที่4 5 6 7 10

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ)
ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคไม่ติดเชื้อเนื่องมาจากแบบแผนชีวิตมนุษย์ที่มีความเครียดมากขึ้น มีนิสัยการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง สูบบุหรี่ ดื่มสุรา ขาดการออกกำลังกาย สิ่งต่างๆเหล่านี้ ส่งผลให้เกิดโรคจากพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ เป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย ความรุนแรงของโรคเกิดได้ทั้งตายอย่างฉับพลัน และมีภาวะแทรกซ้อนเกิดความพิการก่อนวัยอันควร อย่างไรก็ตามโรคความดันโลหิตสูงและเบาหวานเป็นโรคที่สามารถป้องกันและลดความรุนแรงของโรคลงได้ ถ้าหากตรวจพบในระยะเริ่มแรก โดยการควบคุมอาหาร หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ มีการส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิตให้สมบูรณ์แข็งแรงอยู่เสมอ
จากผลการดำเนินงานคัดกรองผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิต ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย พ.ศ. ๒๕๖๑ ถึงปี พ.ศ. ๒๕๖๓พบว่าประชาชนที่มีอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย
-ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน ร้อยละ๙๕.๘๒,๙๕.๔๔และ ๙๕.๑๓ ตามลำดับพบกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน จำนวน ๓๓ คน(ร้อยละ ๒.๗๔) ,๕๒ คน(ร้อยละ ๔.๓๖ และ ๔๓(ร้อยละ ๓.๕๕)ตามลำดับ
-ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๙๒.๘๕,๙๕.๔๑ และ๙๔.๖๘ พบกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน ๒๑๒ คน(ร้อยละ ๑๕.๘๙),๑๔๔ (ร้อยละ ๑๓.๖๐)และ ๑๐๖ (ร้อยละ๑๐.๐๙)ตามลำดับ
แสดงให้เห็นว่ายังมีแนวโน้มการเกิดโรคสูง การมีมาตรการ เชิงรุกในการป้องกันและแก้ไขปัญหาโรค Metabolic โดยมีการคัดกรองพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรคโดยมีเป้าหมายเป็นประชากรกลุ่มอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ต้องได้รับการตรวจคัดกรองความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงด้วยการวัดความดันโลหิต การชั่งน้ำหนัก วัดความสูงและการวัดเส้นรอบพุง การเจาะน้ำตาล ในเลือดเพื่อค้นหาพฤติกรรมเสี่ยงและค้นหาโรคในระยะเริ่มต้นเพื่อที่จะมีการดำเนินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงโดยเป้าหมายกลุ่มเสี่ยงต้องได้รับความรู้และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรวมทั้งกลุ่มที่สงสัยจะเป็นโรคต้องส่งไปรับการรักษาตั้งแต่เริ่มแรกทุกรายในรายที่ป่วยแล้ว ได้รับการตรวจประเมินภาวะโรค อันจะส่งผลให้ลดความรุนแรงของโรค ทั้งนี้การดำเนินงานด้านสาธารณสุข ที่มีจุดมุ่งหมายในการลดการป่วย และการตายของประชาชนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้นไม่สามารถดำเนินการในด้านใดด้านหนึ่งเพียงอย่างเดียวได้ หากแต่ต้องเป็นการดำเนินงานทั้ง ๔ ด้าน ประกอบด้วย ด้านการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและชุมชนให้ปลอดโรคด้านการป้องกันควบคุมโรคโดยการลดและควบคุมปัจจัยเสี่ยงที่มีผลกระทบต่อพฤติกรรมสุขภาพและลดการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ด้านการรักษาพยาบาลในประชาชนที่มีอาการ เจ็บป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและความพิการขึ้น และด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพทางร่างกายและจิตใจในภาวะที่เกิดความพิการและภาวะแทรกซ้อนจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ให้สามารถดูแลตนเองได้ไม่เป็นภาระให้กับครอบครัวและสังคม โดยอาศัยการดำเนินงาน ในลักษณะการเป็นหุ้นส่วนกันระหว่างภาคีเครือข่าย
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทราย ได้เห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการควบคุมและป้องกันโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน ปี ๒๕๖๔

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

วัตถุประสงค์
ข้อที่ ๑เพื่อให้ประชาชนอายุ ๓๕ ปีขึ้นไป ในเขตโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบ่อทรายได้รับการคัดกรองความเสี่ยงโรคเบาหวานความดันจากเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครสาธารณสุข

ข้อที่ ๒ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

ข้อที่ ๓ ร้อยละการติดตามกลุ่มสงสัยป่วยและ/หรือความดันโลหิตสูง
ข้อที่ ๔ ร้อยละกลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตาม

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,000
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/07/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมคัดกรอง

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมคัดกรอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.1 กิจกรรมย่อย
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 15 บาท x 1,000 คน = 15,000 บาท -ค่าถ่ายเอกสารแบบเชิญคัดกรอง 0.5 บาท x 1,000 ชุด = 500 บาท -ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือด 30 กล่อง x 390บาท = 11,700 บาท -ค่าถ่ายเอกสารแบบใบแจ้งผลการคัดกรอง 0.5 บาท x 1,000 ชุด = 500 บาท -ค่าป้ายโครงการฯ1x3 เมตร x1 ป้าย = 450 บาท รวม 28,150.-

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ตัววชี้วัดความสำเร็จ ประชาชนอายุ 35 ปี ขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
28150.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดอบรมกลุ่มเสี่ยงในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม งบประมาณ- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มเสี่ยง 60 คน x 25บาท× 2 มื้อ= 3,000 บาท -ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเสี่ยง 60 คน × 80 บาท(บุฟเฟ่)4800 - ค่าแถบตรวจไขมันในเลือด 8 กล่อง(กล่องละ 25 แถบ) x 1,750 บาท = 14,000 บาท - ค่าสมนาคุณวิทยากรจำนวน 5ชม x 300 บาท = 1,500 บาทรวมทั้งสิ้น23,300.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-กลุ่มสงสัยป่วยและ/หรือความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30
-กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้รับการติดตามมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 52

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับยาในคลินิคโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านบ่อทราย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่รับยาในคลินิคโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านบ่อทราย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-จัดอบรมกลุ่มป่วยโรคเรื้อรังในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มกลุ่มป่วยโรคเรื้อรัง 50 คน ×25บาท ×2มื้อ =2500 บาท -ค่าอาหารกลางวันกลุ่มเสี่ยง 50 คน ×80บาท(บุฟเฟ่) 4000 -ค่าสมนาคุณวิทยากร 5 ชม.× 600 บาท3000 รวมทั้งสิ้น 9500.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2563 ถึง 31 กรกฎาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ประชาชนอายุ 35 ปีขึ้นไปได้รับการตรวจคัดกรองโณคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90 -กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงลดลงร้อยละ 20

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
9500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 60,950.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชากรกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ครอบคลุมมากกว่าร้อยละ 90
2.ประชาชนมีความรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมด้านสุขภาพของคนในชุมชน


>