กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19(COVID-19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ละงู

โรงเรียนบ้านปากละงู

1.นายสราวุธ ปองอนุสรณ์
2.นางยูไวเร๊าะ ชำนาญเพาะ
3.นางสาวรุจิรา คลังข้อง
4.นางสาวจริยา นุ้ยโส๊ะ
5.นายอานนท์ ราเหม

โรงเรียนบ้านปากละงู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของคนในชุมชนที่มีความรู้ ความเข้าใจเรื่องโควิด-19 จนสามารถปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันโควิด-19 เช่น การล้างมือ การสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้า การเว้นระยะห่างทางสังคม กินร้อน ช้อนส่วนตัว ไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน ได้ถูกต้อง

 

70.00

การติดตามเฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยงด้านสาธารณสุข ตามมาตรการแก้ไขสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ของกรมอนามัยและกระทรวงมหาดไทย ให้ทันต่อเหตุการณ์ เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน ตลอดจนป้องกันไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคในวงกว้าง โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) ซึ่งย่อมาจาก "Coronavirus disease2019" เป็นกระกูลเดียวกับโรคซาร์ส ที่ระบาดเมื่อปี2545 ทำให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบเฉียบพลัน ปอดอักเสบและมีภาวะแทรกซ้อน พบแหล่งกำเนิดจากเมืองอู่ฮั่น มลฑลหูเป่ย ประเทศจีน จากที่มีผู้ป่วยมีอาการคล้ายปอดอักเสบและไข้หวัดใหญ่เป็นจำนวนมาก จึงมีการเก็บตัวอย่างของคนไข้เหล่านี้ไปถอดรหัสพันธุกรรมได้ว่าเป็นเชื้อไวรัสโคโรนา ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ 7 ที่ถูกค้นพบ เป็นตระกูลเดียวกับโรควาร์ส(SARA)และเมอร์ส(MERS)
การเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนในเขตพื้นที่ ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ห้างสรรพสินค้า ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ
ทางโรงเรียนบ้านปากละงู ได้จัดทำโครงการ เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)ให้ทันต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักเรียน และผู้ปกครองเกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)

นักเรียนและผู้ปกครองมีความรู้หลังการอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

70.00 80.00
2 2.เพื่อเป็นการกระตุ้นให้นักเรียน/ผู้ปกครองมีความตระหนักในการป้องกันโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19)

นักเรียน/ผู้ปกครอง บุคลากร ที่เข้ามาในโรงเรียนได้รับการตรวจคัดกรอง ร้อยละ 100 -นักเรียนและผู้ปกครองและบุคลากรไม่ป่วยป่วยโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19) ร้อยละ 100 -ไม่ปรากฏรายงานการป่วยโรคไวรัสโคโรนา (COVID-19)ทั้งนักเรียนและผู้ปกครอง

90.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 195
กลุ่มวัยทำงาน 156
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
1.อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับโรคและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรมย่อย วันที่ 1 บรรยายให้ความรู้โดยวิทยากร /จัดทำหน้ากาก วันที่ 1 ค่าวิทยากร 400 บ.×3ชม.× 2 คน เป็นเงิน2,400.00 บาท ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครองนักเรียน 50บาท×80 คน 4,000.00 บาท ค่าอาหารว่างผู้ปกครองนักเรียน 25บาท×80 คน ×2 มื้อ4,000.00 บาท ค่าอาหารว่างนักเรียน 25บาท×96 คน ×2 มื้อ4,800.00 บาท ค่าป้ายไวนิลขนาด5.60 เมตร*2.20 เมตร1,700.00 บาท -ค่าวัสดุในการทำแผ่นพับให้ความรู้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ค่ากระดาษ A4 80 Gจำนวน 5 รีมรีมละ 125 บาท 625.00 บาท ค่ากระดาษปกการ์ดสี A4จำนวน 4 รีม รีมละ 115 บาท 460.00 บาท ผ้าสำหรับเย็บแมสจำนวน 20 หลา หลาละ 70 บาท 1,400.00บาท
เข็ม จำนวน 37 ห่อ ห่อละ 5 บาท เป็นเงิน 185.00บาท ด้าย จำนวน20หลอดหลอดละ 12 บาท เป็นเงิน240.00บาท ยางใส่แมส 2 ม้วน ม้วนละ 350บาท เป็นเงิน 700.00บาท รวมเป็นเงิน20,510 บาท ป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19)
วันที่ 2 ค่าวิทยากร 400 บ.×3ชม.× 2 คน เป็นเงิน2,400.00 บาท ค่าอาหารกลางวันผู้ปกครองนักเรียน 50บาท×80 คน 4,000.00 บาท ค่าอาหารว่างผู้ปกครองนักเรียน 25บาท×80 คน ×2 มื้อ4,000.00 บาท ค่าอาหารว่างนักเรียน 25บาท×97 คน ×2 มื้อ 4,850.00 บาท รวมเป็นเงิน15,250.00 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35760.00

กิจกรรมที่ 2 2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)

ชื่อกิจกรรม
2.จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา2019 (COVID-19)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิ -เครื่องวัดอุณหภูมิแบบมีขาตั้ง จำนวน1เครื่อง ราคา 2,200 บาท -เครื่องปล่อยเจลล้างมือจำนวน 1 เครื่องราคา 1,200 บาท -แอลกอฮอล์เจล ขนาด 1,200 ml จำนวน 26 ขวดละๆ 280.-บาท เป็นเงิน 7,280.-บาท แอลกอฮอล์เปรย์ ขนาด 1,000 ml จำนวน 10 ขวดละๆ 396.-บาท เป็นเงิน 3,960.00 บาท -สบู่เหลวล้างมือ ขนาด 240 ml จำนวน 20 ขวด ขวดละ 70 บาท เป็นเงิน 1,400.00บาท -น้ำยาฆ่าเชื้ออเนกประสงค์ ขนาด1,200 ml จำนวน 5 ขวดละๆ 560.-บาท เป็นเงิน 2,800.00 บาท รวมเป็นเงิน 18,840 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18840.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 54,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. มีการจัดกระบวนการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)โดยการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังโรคป้องกันโรคการคัดกรองอุณหภูมิการเว้นระยะห่างทางสังคมการทำความสะอาดพื้นที่การให้บริการหรือพื้นที่ ที่มีคนอยู่รวมกัน ทำกิจกรรมร่วมกันเป็นระยะเวลานานและส่งเสริมด้านสุขอนามัยโดยการล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ ในโรงเรียนบ้านปากละงู
2. มีการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังโรคโควิด-19 เพื่อเฝ้าระวังควบคุมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโควิด (COVID19) ให้กับนักเรียนและบุคลากรโรงเรียนบ้านปากละงู
3.นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรมีความพร้อมในการเผชิญกับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)
4.นักเรียนและบุคลากร มีความรู้ความเข้าใจ และความตระหนักในการดูแลตนเอง สามารถป้องกันตนเองจากโรคติดต่อได้


>