กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ในเขตเทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีประจำปีงบประมาณ2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ในเขตเทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีประจำปีงบประมาณ2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบางปู

กองสาธารณสุขเทศบาลตำบลบางปูร่วมกับชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลบางปู

นายนิรันดร์แวจูนา
นายสุรศักดิ์เบ็ญจวรรณ
นายวันฮาซันแวโด
นางสาวมาเรียมสะนิ
นางสุวิภายอดรัก

เขตเทศบาลตำบลบางปู

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

จากสถานการณ์การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการเปลี่ยนแปลงทางด้านสังคมอย่างรวดเร็วในปัจจุบัน ทำให้วิถีชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงไป พฤติกรรมการบริโภคของประชาชนจากการปรุงอาหารรับประทานเองที่บ้าน เปลี่ยนเป็นการบริโภคอาหารนอกบ้านมากขึ้น ฉะนั้น ประชาชนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการรับประทานอาหารที่ไม่สะอาด จากการสัมผัสอาหารที่ขาดความรู้ ความเข้าใจ และไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องในระหว่างเตรียม - ปรุง - ประกอบอาหาร ซึ่งจะทำให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคลงสู่อาหารได้ การพัฒนางานด้านสาธารณสุข ของเทศบาลตำบลบางปู ให้ความสำคัญของการป้องกันโรคเป็นหลักให้ความสำคัญของการเป็นตำบลอาหารสะอาดปราศจากการปนเปื้อนเชื้อโรคในอาหาร ด้วยการพัฒนาร้านอาหารผ่านเกณฑ์มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารจังหวัดปัตตานีซึ่งเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคใต้ตอนล่างมีทรัพยากรธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจสวยงามอันดึงดูดนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศมาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมากในแต่ละปีได้แก่ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวมัสยิดกลางปัตตานีวัดมุจลินทวาปิวิหารวัดช้างไห้ราษฎร์บูรณารามอุทยานแห่งชาติน้ำตกทรายขาวหาดวาสุกรีหาดแฆแฆหาดตะโละกาโปร์อุโมงค์ป่าโกงกางและมีร้านอาหารแผงลอยในเขตตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีโดยมีการปรุงอาหารจำหน่ายแก่นักท่องเที่ยวจำนวนไม่น้อยซึ่งผู้ประกอบการหรือผู้สัมผัสอาหารในกิจการด้านอาหาร เป็นบุคคลสำคัญในการจัดหา ประกอบ ปรุงอาหาร และให้บริการแก่ผู้บริโภค จำเป็นต้องผ่านการอบรมหลักสูตรสุขาภิบาลอาหารเพื่อให้ผู้ประกอบการดังกล่าวมีความรู้ความเข้าใจ และปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหาร ลดการแพร่กระจายของเชื้อโรคต่าง ๆ ไปสู่ผู้บริโภคได้ จึงต้องมีการอบรมเพิ่มความรู้อีกจำนวนมาก เพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคอาหารจากร้านที่ผู้ประกอบการมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหาร และมีการพัฒนาร้านให้ผ่านมาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด
สิ่งที่มีความสำคัญและจำเป็นสำหรับผู้บริโภคก็คืออาหารอาหารเป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตและเป็นสาเหตุสำคัญต่อการมีสุขภาพดีหรือไม่ดีของผู้บริโภคทั้งนี้เพราะมีโรคหลายโรคที่เกิดจากการบริโภคอาหารที่ไม่ถูกต้องหรือบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนจากสารเคมีหรือจุลินทรีย์อันเนื่องมาจากเทคโนโลยีการผลิตอาหารมีการนำสารเคมีที่ไม่เหมาะสมมาใช้ในกระบวนการผลิตอาหารและอาหารที่จัดไว้บริการไม่สะอาดไม่ปลอดภัยก็อาจทำให้เกิดโรคระบาดได้โดยมีน้ำและอาหารเป็นสื่อนำเชื้อโรคซึ่งจะก่อให้เกิดการเจ็บป่วยแก่นักท่องเที่ยวอันจะทำให้เกิดผลเสียหายส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงของจังหวัดและประเทศชาติ ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคไม่ว่าจะเป็นประชาชนในประเทศไทยหรือนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศในด้านการบริโภคอาหารจากแหล่งจำหน่ายอาหารที่สะอาด ถูกหลักสุขาภิบาลอาหาร
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีจึงเล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหาความปลอดภัยด้านอาหารจึงได้จัดทำโครงการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลตำบลบางปูอำเภอยะหริ่งจังหวัดปัตตานีประจำปีงบประมาณ2564

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ผู้สัมผัสอาหาร ในพื้นที่ตำบลบางปู อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี มีความรู้ ตระหนักถึงความสะอาดของอาหารที่ผลิต และปลอดภัยของผู้บริโภค

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอย ผู้สัมผัสอาหาร มีพฤติกรรมที่ยั่งยืน ในการประกอบอาหารแก่ผู้บริโภค

 

0.00
3 เพื่อให้ผู้บริโภค มีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร

 

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 120
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 30/12/2020

กำหนดเสร็จ 31/05/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้สัมผัสอาหารทั้งร้านอาหาร แผงลอย ผู้สัมผัส อาหาร 2 รุ่นๆละ จำนวน 60 คน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการ ผู้ประกอบการร้านอาหาร ผู้สัมผัสอาหารทั้งร้านอาหาร แผงลอย ผู้สัมผัส อาหาร 2 รุ่นๆละ จำนวน 60 คน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รุ่นที่ 1( ชุมชนโต๊ะโสมชุมชนบือเจาะชุมชนบาลาดูวอชุมชนบางปูสุเหร่า ) 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้รับการอบรม วิทยากร จำนวน 60 คน ๆ ละ 25 บาท X 2 มื้อเป็นเงิน3,000 บาท 2.ค่าอาหารกลางวันผู้รับการอบรม วิทยากร จำนวน 60 คน X 35 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท 3.ค่าวิทยากรเป็นเงิน2,500 บาท 4. ค่าวัสดุในการอบรม เป็นเงิน 2,700 บาท รวมเป็นเงิน 10,300 บาท

รุ่นที่ 2( ชุมชนตือเง๊าะชุมชนอนามัยชุมชนกือลอชุมชนกือลอจือแร ) 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้รับการอบรม วิทยากร จำนวน 60 คน ๆ ละ 25 บาท X 2 มื้อเป็นเงิน3,000 บาท 2. ค่าอาหารกลางวันผู้รับการอบรม วิทยากร จำนวน 60 คน X 35 บาทเป็นเงิน 2,100 บาท 3. ค่าวิทยากร เป็นเงิน2,500 บาท 4. ค่าวัสดุในการอบรมเป็นเงิน 2,700 บาท รวมเป็นเงิน 10,300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
18 มกราคม 2564 ถึง 22 มกราคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

-ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอยผู้สัมผัสอาหารจำนวน 120 คนมีความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง - ประกอบอาหาร ได้อย่างถูกต้อง มีความรู้ในเรื่องมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหาร สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
20600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 20,600.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

-ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอยผู้สัมผัสอาหารสามารถนำความรู้ไปใช้ในการปฏิบัติและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการปรุง - ประกอบอาหาร ได้อย่างถูกต้อง
-ลดความเสี่ยงของผู้บริโภคอันเนื่องมาจากการบริโภคอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด
-ผู้ประกอบการร้านอาหารแผงลอยผู้สัมผัสอาหารมีพฤติกรรมที่ยั่งยืนในการประกอบอาหารแก่ผู้บริโภค
-ผู้บริโภค มีความปลอดภัยจากการบริโภคอาหาร


>