กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม ปี 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาท่อม

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อม

นางสาวจิราภรณ์ พรหมสุวรรณ

หมู่ที่ 1 - 8 ตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อสม.ที่มีความรู้ในการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด

 

16.00
2 ประชาชน(เกษตรกรหรือผู้ที่มีความเสี่ยง)ในตำบลนาท่อม

 

700.00

ประชาชน(เกษตรกรหรือผู้ที่มีความเสี่ยง)ในตำบลนาท่อมอำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ส่วนมากมีการดำรงชีวิตที่สัมผัสกับสารเคมีอยู่ทุกวัน เช่น ในกลุ่มเกษตรกรมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช การใช้ปุ๋ยเคมีจำนวนมาก ประชาชนโดยทั่วไปก็ยังได้รับสารเคมีจากการบริโภคและการสัมผัส ตลอดทั้งการใช้สารเคมีต่างๆในชีวิตประจำวันซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง จากการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดของประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป และเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงระดับสูง(เกษตรกรและผู้ที่สัมผัสสารเคมีโดยตรงจากการสำรวจของ อสม. ในพื้นที่) ปีงบประมาณ 2563 จำนวน 700 คน จากกลุ่มอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ พบว่าประชาชน(เกษตรกรหรือผู้ที่มีความเสี่ยง)มีผลการตรวจสารเคมีตกค้างที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยเป็น จำนวน 350 คน โดยแยกเป็นรายหมู่บ้านดังนี้ หมู่ที่ 1 รับการตรวจจำนวน 70 คน พบว่าผลมีสารเคมีตกค้างจำนวน 37 คน หมู่ที่ 2 รับการตรวจจำนวน 118 คน พบว่าผลมีสารเคมีตกค้างจำนวน 54 คน หมู่ที่ 3 รับการตรวจจำนวน 119 คน พบว่าผลมีสารเคมีตกค้างจำนวน 63 คน หมู่ที่ 4 รับการตรวจจำนวน 55 คน พบว่าผลมีสารเคมีตกค้างจำนวน 33 คน หมู่ที่ 5 รับการตรวจจำนวน 82 คน พบว่าผลมีสารเคมีตกค้างจำนวน 31 คน หมู่ที่ 6 รับการตรวจจำนวน 90 คน พบว่าผลมีสารเคมีตกค้างจำนวน 35 คน หมู่ที่ 7 รับการตรวจจำนวน 65 คน พบว่าผลมีสารเคมีตกค้างจำนวน 51 คน หมู่ที่ 8 รับการตรวจจำนวน 101 คน พบว่าผลมีสารเคมีตกค้างจำนวน 46 คน ซึ่งวิธีการตรวจทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาท่อมได้ใช้วิธีการตรวจเจาะเลือดปลายนิ้ว ในการตรวจนี้ต้องใช้เวลานานและ อสม.ที่ได้รับการฝึกฝนและปฏิบัติได้ถูกต้องมีจำนวน 16 คนจาก อสม. 86 คน ทำให้การดำเนินงานมีการติดขัดบ้างและดำเนินได้อย่างช้า ในปีงบ 2564 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านนาท่อมจึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรตำบลนาท่อม อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อมขึ้น เพื่อให้ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 อสม.(อสม.ที่ผ่านการอบรมแล้ว) และ อสม.ที่อบรมใหม่ มีความรู้ในการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเพิ่มขึ้น

อสม.(อสม.ที่ผ่านการอบรมแล้ว) ได้รับการทบทวนมีความรู้ ความชำนาญเพิ่มขึ้นจำนวน 16 คน และ อสม.ที่อบรมให้ความรู้ในเรื่องการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดเพิ่มขึ้น จำนวน 16 คน

16.00 32.00
2 ประชาชน(เกษตรกรและผู้เป็นกลุ่มเสี่ยง) อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการสารเคมีตกค้างในเลือด

ประชาชน(เกษตรกรและผู้เป็นกลุ่มเสี่ยง) อายุ 18 ปีขึ้นไป ได้รับการตรวจสารเคมีตกค้างในเลือด จำนวน 700 คน

700.00 700.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 700
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดำเนินงานและผู้เกี่ยวข้อง 8
อสม. 32

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง การเจาะเลือดปลายนิ้ว

ชื่อกิจกรรม
พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง การเจาะเลือดปลายนิ้ว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

จัดอบรมและพัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน เรื่อง การเจาะเลือดปลายนิ้วเพื่อการตรวจหาสารเคมีตกค้างในเลือด มีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าอบรม จำนวน 40 คนๆละ 1 มื้อๆละ 20 บาท เป็นเงิน 800 บาท

  • ค่าตอบแทนวิทยากร(เหมาจ่าย) เป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน มีความรู้เรื่องการตรวจสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสามารถนำไปปฏิบิติได้ จำนวน 32 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1100.00

กิจกรรมที่ 2 สร้างความรู้ ความเข้าใจพร้อมกับปฏิบัติการตรวจสารเคมีในเลือดแก่ประชาชนทกลุ่มเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรู้ ความเข้าใจพร้อมกับปฏิบัติการตรวจสารเคมีในเลือดแก่ประชาชนทกลุ่มเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สร้างความรู้ ความเข้าใจพร้อมกับปฏิบัติการตรวจสารเคมีในเลือดแก่ประชาชนทกลุ่มเสี่ยง โดย อสม. ที่ได้ผ่านการอบรม จำนวน 2 ครั้ง ดังนี้

ครั้งที่ 1

หมูที่ 1 จำนวน 110 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 2 จำนวน 110 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 3 จำนวน 80 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 4 จำนวน 80 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 5 จำนวน 80 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 6 จำนวน 80 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 7 จำนวน 80 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 8 จำนวน 80 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าตอบแทนผู้ปฎิบัติการตรวจสารเคมี จำนวน 32 คน และผู้ช่วยผู้ช่วยในการบันทึกข้อมูล จำนวน 16 คน รวมเป็น 48 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท

  • ค่าเข็มเจาะ จำนวน 1,400 อันๆละ 5 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท

  • ค่ากระดาษเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส จำนวน 6 กล่องๆละ 950 บาท เป็นเงิน 5,700 บาท

  • Micro Haematocrit tube จำนวน 12 ขวดๆละ 110 บาท เป็นเงิน 1,320 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
18820.00

กิจกรรมที่ 3 คืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับกลุ่มที่ได้รับการคัดกรองที่มีผลตรวจการคัดกรองที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยพร้อมกับจ่ายยารางจืด

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับกลุ่มที่ได้รับการคัดกรองที่มีผลตรวจการคัดกรองที่มีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัยพร้อมกับจ่ายยารางจืด
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คืนข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ให้กับกลุ่มที่ได้รับการคัดกรองที่มีผลตรวจการคัดกรองที่มีความเสี่ยง และไม่ปลอดภัยพร้อมกับจ่ายยารางจืดโดยพยาบาลวิชาชีพ (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ที่มีความเสี่ยงได้รับความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 ตรวจสารเคมีในเลือดซ้ำแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง

ชื่อกิจกรรม
ตรวจสารเคมีในเลือดซ้ำแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ตรวจสารเคมีในเลือดซ้ำแก่ประชาชนกลุ่มเสี่ยงที่มีผลการตรวจไม่ปลอดภัยและมีความเสี่ยง โดย อสม. ที่ได้ผ่านการอบรม ครั้งที่ 2

หมูที่ 1 จำนวน 50 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 2 จำนวน 50 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 3 จำนวน 40 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 4 จำนวน 40 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 5 จำนวน 40 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 6 จำนวน 40 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 7 จำนวน 40 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

หมูที่ 8 จำนวน 40 คน ณ ศาลาอเนกประสงค์ประจำหมู่บ้าน

โดยมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

  • ค่าตอบแทนผู้ปฎิบัติการตรวจสารเคมี จำนวน 32 คน และผู้ช่วยในการบันทึกข้อมูล จำนวน 16 คน รวมเป็น 48 คนๆละ 100 บาท เป็นเงิน 4,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
19 เมษายน 2564 ถึง 14 พฤษภาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง(กลุ่มมีความเสี่ยงและไม่ปลอดภัย)ได้รับการตรวจคัดกรองสารเคมีตกค้างในเลือดซ้ำ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

กิจกรรมที่ 5 คืนข้อมูลให้แก่หน่วยงานต่างๆ เรื่่องผลการตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม

ชื่อกิจกรรม
คืนข้อมูลให้แก่หน่วยงานต่างๆ เรื่่องผลการตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คืนข้อมูลให้แก่หน่วยงานที่เกียวข้อง เรื่องผลการตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการแก้ปัญหาในส่วนที่เกียวข้องต่อไป (ไม่มีค่าใช้จ่าย)

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 4 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้รับข้อมูลผลการตรวจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 24,720.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1 ได้แกนนำ อสม. ที่มีความรู้สามารถตรวจสารเคมีตกค้างในเลือดได้ จำนวน 32 คน
2 จำนวนประชาชนกลุ่มเสี่ยงได้รับการตรวจคัดกรอง จำนวน 700 คน
3 หน่วยงาน กลุ่มองค์กรต่างๆ ได้รับข้อมูลผลการตรวจสารเคมีตกค้างในประชาชนกลุ่มเสี่ยงตำบลนาท่อม


>