กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เทศบาลตำบลคลองขุดประจำปีงบประมาณ 2564

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น เทศบาลตำบลคลองขุดประจำปีงบประมาณ 2564

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลคลองขุด

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

ตำบลคลองขุด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

19.00

จากจํานวนและสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นเป็นลําดับร่วมกับการเปลี่ยนแปลงด้านระบาดวิทยาของการเจ็บป่วยของประชาชนจากโรคติดต่อแบบเฉียบพลันเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ซึ่งมักนํามาซึ่งภาวะทุพลภาพ ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ต้องการบริการดูแลแบบต่อเนื่อง ในขณะที่ศักยภาพของครัวเรือนในการดูแลผู้สูงอายุถดถอยลง จากขนาดครัวเรือนที่ลดลง การเคลื่อนย้ายของวัยแรงงานจากชนบทสู่เมือง สตรีมีบทบาทในการทํางานนอกบ้านมากขึ้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมจากสังคมชนบทไปสู่สังคมเมืองมากขึ้น ทําให้ปัญหาในการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงและผู้ป่วยที่มีภาวะทุพลภาพปรากฏต่อสังคมมากขึ้น
ผู้สูงอายุที่นอนติดเตียงหรือติดบ้านและขาดผู้ดูแล ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ หรือทําได้จํากัด หรือภาพผู้สูงอายุที่มีปัญหาสมองเสื่อมถูกทอดทิ้ง ภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้และต้องอยู่บ้านคนเดียวในช่วงกลางวันเพราะลูกหลานต้องออกไปทํางาน แม้ในครอบครัวที่มีผู้ดูแลก็มีปัญหาภาระของผู้ดูแล ส่วนในครอบครัวที่มีฐานะดีก็อาจเลือกไปใช้บริการผู้ดูแลที่จ้างมา ในขณะที่ครอบครัวที่ฐานะไม่ดีก็ต้องดูแลกันไปตามอัตภาพ แต่หากไม่สามารถดูแลได้ก็กลายเป็นความรันทดของผู้สูงอายุในช่วงบั้นปลายของชีวิต จึงได้มีระบบการดูแลระยะยาว (Long–term care)ซึ่งเป็นการจัดบริการสาธารณสุข และบริการสังคมเพื่อตอบสนองความต้องการความช่วยเหลือของผู้ที่ประสบภาวะยากลําบาก อันเนื่องมาจากภาวการณ์เจ็บป่วยเรื้อรัง การประสบอุบัติเหตุความพิการต่างๆ ตลอดจนผู้สูงอายุที่ชราภาพไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ในชีวิตประจําวัน โดยมีรูปแบบทั้งที่เป็นทางการ (ดูแลโดยบุคลากรด้านสาธารณสุขและสังคม) และไม่เป็นทางการ(ดูแลโดย ครอบครัว อาสาสมัคร เพื่อน เพื่อนบ้าน) ซึ่งบริการทดแทนดังกล่าวมักเป็นบริการสังคม เพื่อมุ่งเน้นในด้านการฟื้นฟูบําบัด รวมถึงการส่งเสริมสุขภาพให้แก่กลุ่มคนเหล่านี้ อย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง เพื่อให้เขามีคุณภาพชีวิตที่ดีสามารถดําเนินชีวิตให้เป็นอิสระเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยอยู่บนพื้นฐานของการเคารพศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ การบริการสาธารณสุขและบริการสังคมที่จัดสําหรับผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ในการปฏิบัติกิจวัตรประจําวัน เป็นผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุที่นอน ติดเตียง หรือติดบ้าน โดยบริการด้านสาธารณสุขมักเป็นเรื่องการฟื้นฟูสมรรถภาพ การพยาบาล ในขณะที่ความต้องการบริการด้านสังคมมักมากกว่า และมีทั้งในเรื่องการช่วยเหลือในชีวิตประจําวัน เช่น อาหารการกิน การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล การขับถ่าย งานบ้าน รวมไปถึงการปรับปรุงสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ เป็นต้น หน่วยงานภาครัฐจึงจัดให้มีผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (CG) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นนั้น แม้จะมีค่าตอบแทนในการไปช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง แต่ขาดวัสดุทางการแพทย์ และเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ในการดูแลผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง และต้องมีการพัฒนาศักยภาพเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการฟื้นฟูบําบัด การพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพและการช่วยเหลือในชีวิตประจําวันให้กับผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (CG) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลคลองขุด จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่นขึ้น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อจัดบริการดูแลระยะยาวผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

19.00 21.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ 52
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.กิจกรรมพัฒนาศักยภาพผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น โดยการจัดอบรมฟื้นฟูความรู้ผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver)และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น 2.กิจกรรมพัฒนาระบบบริการดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการอบรมใช้แบบคัดกรองสุขภาพผู้สูงอายุ, การคัดกรอง ADL/TAI งบประมาณ 1. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2๗  คน คนละ 25 บาท จำนวน 1 วันๆ ละ 2 มื้อ                        เป็นเงิน ๑,3๕0  บาท     2. ค่าอาหารกลางวันสำหรับกลุ่มเป้าหมายและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2๗  คน คนละ 60 บาท จำนวน 1 วัน                                  เป็นเงิน 1,6๒๐ บาท     3. ค่าวิทยากรการอบรมฟื้นฟูความรู้ฯ จำนวน ๔ ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน ๒,๔00 บาท 4. ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.20 x 2.50 เมตร           เป็นเงิน 360 บาท     5. ค่าวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ประกอบด้วย ถุงมือ หน้ากากอนามัย  เป็นเงิน 10,000 บาท     6. เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 5 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท    เป็นเงิน 12,500 บาท 7. ถ่านอัลคาไลน์สำหรับเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 20 ชุด ๆ ละ 80 บาท
เป็นเงิน 1,600 บาท     8. เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด 5 เครื่อง ๆ ละ 2,500 บาท เป็นเงิน 12,500 บาท     9. แผ่นตรวจน้ำตาลพร้อมเข็มเจาะเลือด จำนวน 10 กล่อง ๆ ละ 700 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท     10. วัสดุ อุปกรณ์สำหรับฟื้นฟูสมรรถภาพ 2,250 บาท         10.1 บอลบริหารมือสำหรับฟื้นฟู จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 300 บาท    เป็นเงิน 1,500 บาท         10.2 อุปกรณ์บีบ บริหารนิ้ว บริหารข้อมือ จำนวน 5 ชุด ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้ดูแลผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่มีภาวะพึ่งพิง (Care Giver) และอาสาสมัครบริบาลท้องถิ่น ได้รับการฟื้นฟูความรู้ฯ จำนวน 21 คน ผลลัพธ์ ผู้สูงอายุและบุคคลอื่นที่อยู่ในภาวะพึ่งพิงได้รับการดูแล และได้รับการบริการดูแลด้านสาธารณสุขถึงที่บ้านอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ ตามปัญหาสุขภาพ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
52930.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 52,930.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

งบประมาณต่างๆ สามารถถัวจ่ายกันได้ตามการจ่ายจริง กิจกรรม สถานที่และเวลาสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม


>