กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ บริโภคปลอดภัย สุขภาพดี ประจำปี ๒๕๖๔

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.บองอ

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ

พื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานประกอบการยังไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน

 

70.17

งานสาธารณสุขเป็นงานที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน องค์กรและภาคีเครือข่ายต่างๆที่อยู่ในชุมชน จึงสามารถทำให้งานต่างๆบรรลุผลไปได้งานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่งของงานสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดจากการบริโภคสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้บริการด้านสุขภาพและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ไม่ว่าเป็น อาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยกำหนดสิทธิในการเข้าถึงด้านสุขภาพที่เหมาะสม สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เป็นต้นปัจจุบันงานคุ้มครองผู้บริโภคมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งต้องได้รับการเฝ้าระวัง และปัจจุบันพบว่าประชาชนเจ็บป่วยจากโรคทางพฤติกรรมสุขภาพมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่มีมาตรฐานอาหารแปลกปลอม ซึ่งจากการตรวจร้านชำที่ผ่านมาพบว่ามีการจำหน่ายยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ ผลิตภัณฑ์หมดอายุ เครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย การจัดร้านไม่เป็นระเบียบ ไม่แยกประเภทซึ่งอาจส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อนหรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาที่กำหนด ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยพลังของคนในชุมชนเองจึงได้มีการพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี ๒๕๖๔ นี้ขึ้นเพื่อช่วยกันเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จำหน่ายในชุมชนและเป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มพูมองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพอสม.ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค

อสม.มีองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ 80

70.00 80.00
2 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และพัฒนาร้านชำให้ได้มาตรฐาน

1.ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และพัฒนาร้านชำให้ได้มาตรฐาน ร้อยละ 80 2.ร้านชำได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์คุณภาพร้อยละ 80

70.00 80.00
3 1.เพื่อเฝ้าระวังอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยแกนนำอสม.

อสม.มีการเฝ้าระวังอาหารยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้อยละ 100

90.00 100.00
4 1.เพื่อให้แกนนำนักเรียนและแกนนำอย.น้อยมีความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค

แกนนำนักเรียนและแกนนำอย.น้อยมีความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคร้อยละ 80

72.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ๑. ฟื้นฟูความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่อสม.ในงานคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน ๒ รุ่น

ชื่อกิจกรรม
๑. ฟื้นฟูความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่อสม.ในงานคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน ๒ รุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ฟื้นฟูความรู้แก่อสม.ในงานคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้อสม.มีความรู้ความเข้าใจ สามารถให้คำแนะนำและเป็นต้นแบบให้กับคนในชุมชนได้ -ค่าป้ายโครงการ ๑ แผ่นเป็นเงิน๗๕๐ บาท -ค่าอาหารกลางวัน๗๙ คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน๓,๙๕๐บาท
-ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๗๙ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน๓,๙๕๐บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท x ๒ วันเป็นเงิน๗,๒๐๐บาท
รวมเป็น๑๕,๘๕๐บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 31 มีนาคม 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

อสม.มีองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค  ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15850.00

กิจกรรมที่ 2 ๒. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ

ชื่อกิจกรรม
๒. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานค้มครองผู้บริโภคแก่ผู้ประกอบการร้านชำ เพื่อให้พัฒนาสถานประกอบการให้ได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์คุณภาพ -ค่าอาหารกลางวัน๕๐ คน x ๕๐ บาท เป็นเงิน๒,๕๐๐บาท
-ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม๕๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ เป็นเงิน๒,๕๐๐บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท เป็นเงิน๓,๖๐๐บาท รวมเป็นเงิน๘,๖๐๐ บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้ความเข้าใจ และพัฒนาร้านชำให้ได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์คุณภาพ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8600.00

กิจกรรมที่ 3 ๕. กิจกรรม ให้ความรู้แกนนำสุขภาพประจำโรงเรียนและอย.น้อย

ชื่อกิจกรรม
๕. กิจกรรม ให้ความรู้แกนนำสุขภาพประจำโรงเรียนและอย.น้อย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ให้ความรู้แกนนำสุขภาพประจำโรงเรียนและแกนนำอย.น้อย เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน -ค่าอาหารกลางวัน  ๔๐ คน x ๕๐ บาท                  เป็นเงิน  ๒,๐๐๐  บาท
-ค่าอาหารว่าง/เครื่องดื่ม  ๔๐ คน x ๒๕ บาท x ๒ มื้อ        เป็นเงิน  ๒,๐๐๐  บาท -ค่าวิทยากร ๖ ชม.ๆละ ๖๐๐ บาท                            เป็นเงิน  ๓,๖๐๐  บาท                                                                    รวมเป็น  ๗,๖๐๐  บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2564 ถึง 30 มิถุนายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

แกนนำสุขภาพประจำโรงเรียนและแกนนำอย.น้อย เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในการตรวจสอบและเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์สุขภาพในโรงเรียน ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7600.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 32,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. อสม.มีองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค
๒. ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และพัฒนาร้านชำให้ได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์คุณภาพ
๓. อสม.มีการเฝ้าระวังอาหารยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ
๔. แกนนำนักเรียนและแกนนำอย.น้อยมีความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค


>