กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเครือข่ายชุมชนร่วมใจ บริโภคปลอดภัย สุขภาพดี ประจำปี ๒๕๖๔
รหัสโครงการ 64-L2506-01-006
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ
วันที่อนุมัติ 1 มีนาคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 พฤษภาคม 2564 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 31 กรกฎาคม 2564
งบประมาณ 30,050.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางรุสนียา หะยีเจ๊ะเล๊าะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 พ.ค. 2564 30 มิ.ย. 2564 30,050.00
รวมงบประมาณ 30,050.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 55 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สถานประกอบการยังไม่ผ่านเกณฑ์คุณภาพมาตรฐาน
70.17

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

งานสาธารณสุขเป็นงานที่ไม่สามารถทำคนเดียวได้ แต่ต้องอาศัยความร่วมมือจากชุมชน องค์กรและภาคีเครือข่ายต่างๆที่อยู่ในชุมชน จึงสามารถทำให้งานต่างๆบรรลุผลไปได้งานคุ้มครองผู้บริโภคเป็นส่วนหนึ่งของงานสาธารณสุข การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภคให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัดจากการบริโภคสินค้าและบริการ เพื่อให้ผู้บริโภคปลอดภัยจากการใช้บริการด้านสุขภาพและผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพ ไม่ว่าเป็น อาหารยาเครื่องสำอางผลิตภัณฑ์และบริการต่างๆที่มีผลกระทบต่อสุขภาพโดยกำหนดสิทธิในการเข้าถึงด้านสุขภาพที่เหมาะสม สิทธิที่จะได้รับข้อมูลข่าวสาร ความรู้ เป็นต้นปัจจุบันงานคุ้มครองผู้บริโภคมีความสำคัญมากเนื่องจากเป็นเรื่องใกล้ตัว ไม่ว่าจะเป็นด้านอาหาร ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ ซึ่งต้องได้รับการเฝ้าระวัง และปัจจุบันพบว่าประชาชนเจ็บป่วยจากโรคทางพฤติกรรมสุขภาพมากขึ้น ซึ่งสาเหตุหนึ่งมาจากการบริโภคอาหารที่ไม่ปลอดภัย มีสารปนเปื้อน อาหารที่ไม่มีมาตรฐานอาหารแปลกปลอม ซึ่งจากการตรวจร้านชำที่ผ่านมาพบว่ามีการจำหน่ายยาอันตราย ยาปฏิชีวนะ ผลิตภัณฑ์หมดอายุ เครื่องสำอางที่ไม่มีฉลากภาษาไทย การจัดร้านไม่เป็นระเบียบ ไม่แยกประเภทซึ่งอาจส่งผลให้ผลิตภัณฑ์เกิดการปนเปื้อนหรือเสื่อมสภาพก่อนเวลาที่กำหนด ดังนั้นเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชนด้วยพลังของคนในชุมชนเองจึงได้มีการพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบองอ จึงได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำ เครือข่ายงานคุ้มครองผู้บริโภค ประจำปี ๒๕๖๔ นี้ขึ้นเพื่อช่วยกันเฝ้าระวังผลิตภัณฑ์ต่างๆที่จำหน่ายในชุมชนและเป็นตัวอย่างที่ดีด้านสุขภาพต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อเพิ่มพูมองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพอสม.ในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค

อสม.มีองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ร้อยละ 80

70.00 80.00
2 1.เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และพัฒนาร้านชำให้ได้มาตรฐาน

1.ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และพัฒนาร้านชำให้ได้มาตรฐาน ร้อยละ 80 2.ร้านชำได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์คุณภาพร้อยละ 80

70.00 80.00
3 1.เพื่อเฝ้าระวังอาหาร ยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยแกนนำอสม.

อสม.มีการเฝ้าระวังอาหารยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร้อยละ 100

90.00 100.00
4 1.เพื่อให้แกนนำนักเรียนและแกนนำอย.น้อยมีความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค

แกนนำนักเรียนและแกนนำอย.น้อยมีความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภคร้อยละ 80

72.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,050.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 64 ๑. ฟื้นฟูความรู้และพัฒนาศักยภาพแก่อสม.ในงานคุ้มครองผู้บริโภคจำนวน ๒ รุ่น 0 15,850.00 -
1 - 30 เม.ย. 64 ๒. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้แก่ผู้ประกอบการร้านชำ 0 8,600.00 -
1 - 30 มิ.ย. 64 ๕. กิจกรรม ให้ความรู้แกนนำสุขภาพประจำโรงเรียนและอย.น้อย 0 5,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. อสม.มีองค์ความรู้และพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภค ๒. ผู้ประกอบการร้านชำมีความรู้และพัฒนาร้านชำให้ได้มาตรฐานผ่านเกณฑ์คุณภาพ ๓. อสม.มีการเฝ้าระวังอาหารยา เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สุขภาพ ๔. แกนนำนักเรียนและแกนนำอย.น้อยมีความรู้เกี่ยวกับงานคุ้มครองผู้บริโภค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 15 ม.ค. 2564 09:38 น.