กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการร่วมใจรณรงค์ลดบุหรี่ในศาสนสถาน หมู่ที่ 2 บ้านปากบารา

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปากน้ำ

คณะกรรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้านปากบารา

1. นายนิรันดร์ ชุมคง

2. นางนัชชา ง๊ะสมัน

3. นางฟาตีม่ะ นิมิตรถวิล

4. นายพิศาล สาออละ

5. นางสาวสุมัยย๊ะ กุกามา

บ้านปากบารา หมู่ที่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชากรที่มีการสูบบุหรี่ในศาสนสถาน

 

40.00
2 ร้อยละของเด็ก เยาวชน และผู้ใหญ่ที่สูบหรี่

 

30.00
3 ร้อยละของนักสูบบุหรี่รายใหม่

 

20.00

บ้านปากบารา ตั้งอยู่หมู่ที่ 2 ตำบลปากน้ำ อำเภอละงู จังหวัดสตูล เป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ที่มีทั้งหมด 1,385 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งหมด 4,275 คน ซึ่งแบ่งเป็นชาย จำนวน 2,121 คน และหญิง จำนวน 2,154 คน (อ้างอิงจากทะเบียนราษฎร อำเภอละงู) โดยแบ่งเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 500 คน วัยทำงาน (อายุ 25-59 ปี) จำนวน 2,000 คน และวัยรุ่น (อายุ 13-24 ปี) จำนวน 1,000 คน นอกจากนั้นเป็นช่วงวัยเด็ก จำนวน 775 คน โดยประชากรส่วนใหญ่ในหมู่บ้านปากบารานับถือศาสนาอิสลาม จึงทำให้มีศาสนสถานที่ใช้ในการประกอบกิจกรรมทางศาสนาอิสลามมากกว่าศสานาพุทธ ซึ่งประกอบไปด้วย มัสยิด 3 หลัง มานาซะห์ 3 หลัง และวัด 1 แห่ง

โดยในปัจจุบันหมู่บ้านปากบารา พบว่าปัญหาการสูบบุหรี่ทั้งในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ และนอกสถานที่มัสยิด, วัด และมานาซะห์มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น ในการสำรวจของคณะแกนนำพัฒนาคุณภาพชีวิตพบว่า การสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ของประชาชน เช่น กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มคนวัยทำงาน พบว่ามีจำนวนมากถึงร้อยละ 40% และในกลุ่มเเด็กเด็กเยาวชนและนักสูบบุหรี่หน้าใหม่พบว่ามีจำนวนเพิ่มถึงร้อยละ 20% โดยเฉเพาะที่เกิดจากนักสูบบุหรี่ในเด็กอายุ 9-18 ปี ในวัยเด้กเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งการสูบบุหรี่เป็นอันตรายอีกทั้งยังส่งผลกระทบทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านครอบครัว ที่มรการขยายเป็นวงกว้าง และยังเป็นสาเหตุของการเจ็บป่วย และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรโดยเฉพาะเด็กเล็ก ซึ่งจากการสำรวจในเบื้องต้นพบว่า ผู้ที่สูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ เป็นเด็กเยาวชน กลุ่มคนวัยทำงาน และกลุ่มผู้สูงอายุ และมีการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ แบบเปิดเผย ไม่เป็นที่เป็นทาง ทำให้เมื่อมองออกมาจากด้านนอก และคนนอกพื้นที่เห็น จึงทำให้ส่งผลกระทบในด้านที่ไม่ดีกับชุมชน และคนในชุมชน

ดังนั้น ทางคณะกรมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้าน ได้เล็งเห็นถึงปัญหาที่เกิดจากการสูบบุหรี่ ที่ยังเพิ่มจำนวนขึ้นเป็นอย่างมาก และควรรีบดำเนินการแก้ไขปัญหา จึงได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมา เพื่อลดปัญหาการสูบบุหรี่มัสยิด, วัด และมานาซะห์ เพื่อลดอัตราของนักสูบบุหรี่รายใหม่ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับชุมชนบ้านปากบารา

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ศาสนสถานในบ้านปากบาราปลอดบุหรี่ จำนวน 7 แห่ง

ศาสนสถานในบ้านปากบาราปลอดบุหรี่ ทั้ง 7 แห่ง

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 40
กลุ่มวัยทำงาน 10
กลุ่มผู้สูงอายุ 10
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะกรรมการวัด และมัสยิด 20

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/09/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมจัดตั้งคณะทำงานของโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมจัดตั้งคณะทำงานของโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย 1.ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน (ผญ., ผช.ผญ) 2.คณะแกนนำพัฒนาคุณภาพชีวิต จำนวน 7 คน 3.อสม. จำนวน 5 คน 4.คณะกรรมการมัสยิดและวัด 5 คน

รายละเอียดกิจกรรม จัดตั้งคณะทำงานของโครงการ และประชุมคณะทำงาน 1 ครั้ง จำนวน 20 คน

ชี้แจงทำความเข้าใจโครงการ ให้ความรู้ โดยแกนนำพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับหมู่บ้านปากบารา และสรุปผลการประชุม

ประกอบด้วย

  1. ค่าอาหารว่าง 20 คน X 35 บาท รวมเป็นเงิน 700 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

คณะทำงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการที่จะทำ และสามารถแบ่งหน้าที่ในการทำงานได้อย่างชัดเจน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
700.00

กิจกรรมที่ 2 เวทีที่ 1 : สร้างกฎกติกาธรรมนูญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ เวทีที่ 2 : พูดคุย และสรุปกฎกติกาธรรมนูญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์

ชื่อกิจกรรม
เวทีที่ 1 : สร้างกฎกติกาธรรมนูญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ เวทีที่ 2 : พูดคุย และสรุปกฎกติกาธรรมนูญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย 1.ผู้นำชุมชน จำนวน 3 คน (ผญ., ผช.ผญ) 2.คณะกรรมการหมู่บ้าน จำนวน 7 คน 3.อสม. จำนวน 10 คน 4.เด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 20 คน 5.กลุ่มคนวัยทำงาน จำนวน 10 คน 6.กลุ่มผู้สูงอายุ
จำนวน 10 คน 7.คณะกรรมการวัดและมัสยิด จำนวน 20 คน

รายละเอียดกิจกรรม

เวทีที่ 1 : รับข้อเสนอสร้างกฎกติกาธรรมนูญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ (ช่วงเช้า) เวทีที่ 2 : พูดคุย และสรุปกฎกติกาธรรมนูญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ (ช่างบ่าย)

เวลา 09.00 น. - 09.15 น. : ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ พร้อมรับอาหารว่าง

เวลา 09.15 น. - 10.00 น. : พิธีเปิดโครงการร่วมใจรณรงค์ลดบุหรี่ในศาสนสถาน หมู่ที่ 2 บ้านปากบารา

เวลา 10.00 น. - 12.00 น. : วิทยากรให้ความรู้ และรับข้อเสนอสร้างกฎกติกาธรรมนูญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ จากผู้เข้าร่วมโครงการ

เวลา 12.00 น. - 13.00 น. : พักรับประทานอาหารเที่ยง

เวลา 13.00 น. - 16.00 น. : พูดคุย และสรุปกฎกติกาธรรมนูญเกี่ยวกับการสูบบุหรี่ในมัสยิด, วัด และมานาซะห์ พร้อมรับอาหารว่าง

เวลา 16.00 น. - 16.30 น. : มอบป้ายทั้ง 14 ป้าย ให้ตัวแทนคณะกรรมการแต่ละมัสยิด, วัด และมานาซะห์

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

  • ค่าอาหาร 80 คน X 100 บาท รวมเป็นเงิน 8,000 บาท

  • ค่าอาหารว่าง 80 คน X 35 บาท X 2 มื้อ รวมเป็นเงิน 5,600 บาท

  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ 800 บาท X 1 ป้าย รวมเป็นเงิน 800 บาท

  • ค่าวิทยากร 1 คน X 600 บาท X 3 ชั่วโมง รวมเป็นเงิน 1,800 บาท

  • ค่าเครื่องเสียง 1,500 บาท

  • ค่าสถานที่ 500 บาท

  • ค่ายป้ายกฎกติกาธรรมนูญ ขนาด 1.2 เมตรx2.4เมตร จำนวน 7 ป้าย X 1,200 บาท = 8,400 บาท

  • ค่าป้ายเขตห้ามสูบบุหรี่ ขนาด 1.2 เมตรx2.4เมตร จำนวน 7 ป้าย X 1,200 บาท = 8,400 บาท

ประกอบด้วย

  1. มัสยิด 3 หลัง

  2. วัด 1 แห่ง

  3. มานาซะห์ 3 หลัง

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมายทั้ง 80 คน มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโทษของบุหรี่ และมีแรงจูงใจในการลดอัตราการสูบบุหรี่ในศาสนสถานเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับชุมชน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
35000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,700.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ลดอัตราการสูบบุหรี่ของประชากรในศาสนสถาน

2. สร้างลักษณ์ที่ดีให้กับชุมชน


>