กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

ลงรับฟัง โอรังอัสรี บ้านน้ำร้อนนากอ

by twoseadj @20 พ.ค. 65 20:40 ( IP : 171...148 ) | Tags : ข่าวสาร-ประชาสัมพันธ์
  • photo  , 1000x750 pixel , 166,469 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 189,997 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 138,864 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 165,695 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 131,434 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 187,714 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 173,018 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 110,555 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 193,111 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 206,830 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 204,778 bytes.
  • photo  , 1000x750 pixel , 216,394 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 45,792 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 63,142 bytes.
  • photo  , 1000x563 pixel , 59,861 bytes.

เมื่อวันที่ 20 พฤษาภาคม 2565 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา โดย นายแพทย์วีระพันธ์ ลีธนะกุล ผู้อำนวยการ ร่วมกับ ศูนย์อำนวยการและบริหารชายแดนใต้ (ศอ.บต.) นำโดย เภสัชกรปเวศ หลีเส็น ผู้อำนวยการโครงการอันเนื่องพระราชดำริ  และคณะปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ลงพื้นที่เพื่อติดตามการเข้าถึงสิทธิและบริการสุขภาพของชาวโอรังอัสรี ในพื้นที่จังหวัดยะลา

การเดินทางครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากการเพิ่มการเข้าถึงสิทธิของกลุ่มเปราะบางและชาติพันธุ์ โดย สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 12 สงขลา มุ่งเน้นกลุ่มมานิ(มานิ แปลว่า มนุษย์ ห้ามเรียกซาไก หรือเงาะป่า เพราะคนเหล่านี้ไม่รู้จักและเป็นการดูถูก) อาศัยพื้นที่เทือกเขาบรรทัด จังหวัดสตูล ตรังและพัทลุง อีกลุ่มคือ โอรังอัสรี ซึ่งอาศัยในเขตป่าบาลาฮาลาหรือเทือกเขาสันกะลาคีรี (โอรังอัสรี แปลว่า คนที่อยู่ก่อนหรือ คนพื้นที่ถิ่น )ซึ่งส่วนใหญ้มีการพิสูจน์ชาติพันธ์ุแล้ว และออกบัตรประจำตัวประชาชนและมอบบัตรทอง

ทางคณะผู้เดินทางต้องใช้รถกระบะ 4X4 จำนวน 4 คัน เพื่อขับขึ้นในพื้นที่บ้านน้ำร้อนนากอ ระยะทาง 4 กิโลเมตร และต้องเดินเข้าไปในป่าผ่านลำธารและภูเขาอีก 1 กม.ก็จะมาพบกับหมู่บ้านของชาวโอรังอัสรี หรือ อัสรี ตั้งบ้านเรือนอาศัยรวมตัวกันเป็นทับ (เมื่อก่อนจะมีการใช้ใบไม้ เช่นใบตองทำเพิงพัก และมีการเคลื่่อนย้ายไปเรื่อยๆเมื่อใบตองหรือใบไม้เหี่ยวเฉาเป็นสีเหลือง แต่ปัจจุบันมีการปลูกกระท่อมเป็นลักษระหมู่บ้าน โดยหมู่บ้านที่ลงพื้นที่ไปเยี่ยมมีโอรังอัสรี จำนวน 62 คน เป็นเด็กเล็กจำนวนมาก มีหัวหน้าเผ่ามาร่วมพูดคุย ถึงความเป็นอยู่ และการเข้าถึงการรักษาพยาบาล เรื่องการใช้สิทธิบัตรทอง ซึ่งจากการสัมภาษณ์พูดคุย พบว่า โอรังอัสรีสุขภาพแข็งแรงไม่ค่อยชอบไปหาหมอ เนื่องจากมักจะรักษาตัวเองโดยใช้สมุนไพรในป่ามากินเป็นอาหารหรือปรุงเป็นยา ยกเว้นเจ็บป่วยรุนแรง จากการพูดคุยกับ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพบ้านอัยเยอร์เวง นั้นมี 1-2 ครั้งที่ไปรักษาตัว เพราะต้องเดินทางรัดเลาะไปตามป่าเขา ระยะทาง 10 กม.

นอกจากนี้มีการสัมภาษณ์รองนายกองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวงและผู้รับผิดชอบงานกองทุนสุขภาพตำบลอัยเยอร์เวง มีการทำโครงการดูแลสุขภาพและฝึกการปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่โอรังอัสรี เพื่อทำโครงการดูแลสุขภาพและแนะนำการปฐมพยาบาลจากการบาดเจ็บในป่าเบื้องต้น