กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนวดคอ บ่า ไหล่ เพื่อสุขภาพ (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 64 – L7452 - 1 – 3
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานแพทย์แผนไทย กลุ่มงานบริการการแพทย์และสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 34,453.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวเนตรสกาว ศรีสุวรรณ เจ้าพนักงานสาธารณสุขปฏิบัติงาน
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เป็นกลุ่มอาการที่พบได้บ่อยในวัยทำงานและวัยรุ่นยุคใหม่ ปัจจุบันอาการเจ็บป่วยจากการทำงานถือเป็นเรื่องใกล้ตัวและมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าร้อยละ 60 ของคนวัยทำงานมีภาวะปวดคอ บ่า ไหล่ โดยอาการที่พบอันดับหนึ่งคืออาการปวดหลัง บ่า รองลงมาคืออาการปวดคอ/ไหล่ และปวดศีรษะตามลำดับ และนอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มคนอายุระหว่าง 16 – 24 ปี มีความเสี่ยงของภาวะดังกล่าวสูงถึงร้อยละ 55 ซึ่งสาเหตุหลัก คือ การไม่เปลี่ยนอิริยาบถระหว่างการทำงาน หรือการอยู่ในอิริยาบถที่ไม่เหมาะสม การนั่งหลังค่อม ท่าก้มหรือเงยคอมากเกินไป รวมถึงความเครียด ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนล้า อ่อนเพลีย หากมีอาการเรื้อรังอาจนำไปสู่ กล้ามเนื้ออักเสบ พังผืดสะสมบริเวณกล้ามเนื้อ รวมไปถึงอาการปวดกล้ามเนื้อต้นคอ ร้าวขึ้นไปบริเวณขมับและกระบอกตาได้ สำหรับแนวทางในการรักษาอาการปวดคอ บ่า ไหล่จากการทำงานมีหลากหลายวิธี เช่น การรักษาด้วยยา การรักษาด้วยวิธีเวชศาสตร์ฟื้นฟู การปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพร่างกาย รวมถึงการรักษาด้วยศาสตร์ทางเลือกอื่นๆ เช่น การฝังเข็ม การนวดแผนไทย เป็นต้น
อาการปวดคอ บ่า ไหล่ ทางการแพทย์แผนไทยจัดเป็นโรคลมชนิดหนึ่ง สามารถเทียบได้กับกลุ่มโรคลมปลายปัตคาด ซึ่งเกิดจากการแข็งตัวของเลือด เนื่องจากความเครียด การทำงานหนัก พักผ่อนไม่เพียงพอ ท่าทาง อิริยาบถต่าง ๆ ที่ไม่ถูกต้อง เมื่อโรคนี้เกิดขึ้นกับกล้ามเนื้อหลัง คอ บ่า และไหล่ จะทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยบริเวณดังกล่าว ปัจจุบันทางการแพทย์แผนไทยจึงได้มีการนำหัตถการ การนวดไทยมาใช้ในบำบัดรักษาโรคระบบกล้ามเนื้อและกระดูก ซึ่งการนวดจะส่งผลต่อระบบไหลเวียนเลือด ระบบประสาท ลดความเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้รู้สึกผ่อนคลายและคลายเครียด
จากการสำรวจประชาชนในเขตเทศบาลนครยะลา โดยการตอบแบบสอบถามออนไลน์ ณ เดือน พฤศจิกายน 2563 โดยงานแพทย์แผนไทย สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา เรื่องการศึกษาพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ทั้งหมด 140 ราย ผลการสำรวจพบว่า กลุ่มอายุที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่มากที่สุด คือ41 – 50 ปี รองลงมา 26 – 40 ปีอายุ 51 ปีขึ้นไป และอายุ 15 – 25 ปี คิดเป็นร้อยละ 42.4, 33.1, 16.5 และ 7.9 ตามลำดับ โดยกลุ่มคนส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 95.7 ต้องใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คหรือสมาร์ทโฟนในการทำงานหรือใช้ในชีวิตประจำวันอย่างต่อเนื่อง โดยมีการใช้งานมากกว่าครั้งละ 1 ชั่วโมง และพบกลุ่มคนที่มีอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ ขณะทำงานหรืออยู่กับที่เป็นเวลานานถึงร้อยละ 92.1 ซึ่งสาเหตุหลักของอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อคอ บ่า ไหล่ คือ การไม่เปลี่ยนอิริยาบถระหว่างการทำงาน คิดเป็นร้อยละ 58.2 รองลงมาคือ การนั่งหลังงอ หลังค่อม คิดเป็นร้อยละ17.2 และจากความเครียด คิดเป็นร้อยละ13.1 ตามลำดับ ซึ่งระดับความปวด ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปวดเล็กน้อย สามารถทนได้ทั้งวัน คิดเป็นร้อยละ 51.8 ปวดระดับปานกลาง สามารถทนทำงานต่อได้มากกว่า 30 นาที คิดเป็นร้อยละ 33.1 โดยระดับความรบกวนการทำงานและชีวิตประจำวันจากอาการปวดเหล่านี้ พบว่า รบกวนเล็กน้อย สามารถทนได้ทั้งวัน คิดเป็นร้อยละ 46 รองลงมาคือ รบกวน แต่ยังสามารถทนทำงานและใช้ชีวิตได้ตามปกติ คิดเป็นร้อยละ 41.4 โดยกลุ่มคนที่มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ที่เคยได้รับการดูแลรักษามีเพียงร้อยละ 38.4 และอีกร้อยละ 61.6 ยังไม่เคยได้รับการดูแลรักษาอาการปวดเหล่านี้ ดังนั้นงานแพทย์แผนไทยกลุ่มงานบริการการแพทย์และสาธารณสุข สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอาการดังกล่าวจึงได้จัดทำ “โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการนวดคอ บ่า ไหล่ เพื่อสุขภาพ ” ขึ้น เพื่อช่วยส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความตระหนักถึงปัญหาสุขภาพของตนเอง รู้เท่าทัน สามารถป้องกันตนเองจากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ได้ ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างถูกต้องเหมาะสม มีความรู้และทักษะการนวดเพื่อบรรเทาอาการปวดคอ บ่า ไหล่ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัวได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อส่งเสริมความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ เพื่อป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่
  1. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพของตนเองกับอาการปวดคอ บ่า ไหล่
  2. ร้อยละ 80 ของผู้เข้าร่วมอบรมมีความพึงพอใจในการจัดอบรม
0.00
2 ข้อที่ 2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะที่ถูกต้องในการนวดคอ บ่า ไหล่เบื้องต้นเพื่อใช้ในการดูแลและป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่เรื้อรัง
  1. ร้อยละ 60 ของผู้เข้าร่วมผ่านการประเมินทักษะการนวดคอ บ่า ไหล่เบื้องต้นเพื่อดูแลสุขภาพตนเองได้
  2. ร้อยละ 40 ของผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 34,453.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้และฝึกการนวดคอ บ่า ไหล่ เบื้องต้น 0 34,253.00 -
1 ก.พ. 64 - 30 ก.ย. 64 การติดตามและประเมินผล 0 200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการดูแลสุขภาพของตนเองและป้องกันอาการปวดคอ บ่า ไหล่
  2. ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ในศาสตร์การแพทย์แผนไทยไปประยุกต์ใช้ในการดูแล ป้องกันสุขภาพตนเองจากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ได้ถูกต้องและปลอดภัย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 14:39 น.