กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ภาคีเครือข่ายวังประจันร่วมใจต้านภัยโรคเรื้อรัง ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจัน
วันที่อนุมัติ 19 กุมภาพันธ์ 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 28,250.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวัฒนชัย ไชยจิตต์
พี่เลี้ยงโครงการ นายวรวิทย์ กาเส็มส๊ะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 7 ก.ค. 2565 7 ก.ค. 2564 12,600.00
รวมงบประมาณ 12,600.00

คำเตือน : รวมงบประมาณของทุกงวด (12,600.00 บาท) ไม่เท่ากับ งบประมาณโครงการ (28,250.00 บาท)

stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 54 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล (ระบุที่มาของการทำโครงการ) ปัจจุบันโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งโรคดังกล่าวเป็นโรคเรื้อรังซึ่งเกิดจากพันธุกรรมและพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงจากการบริโภคอาหารการสูบบุหรี่การดื่มสุรา การไม่ออกกำลังกายความเครียด โรคอ้วนโรคเรื้อรังดังกล่าวเป็นโรคที่ต้องได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่อง และมีภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลสูงถ้าไม่ได้รับการดูแลอาจเกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้เสียชีวิตก่อนวัยอันควร

จากการดำเนินงานในคลินิกโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลวังประจันประจำปีงบประมาณ ๒๕๖๒ พบว่า มีกลุ่มป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๒.๓๑ และโรคเบาหวาน จำนวน ๑๓ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๓๙ในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ มีกลุ่มป่วยรายใหม่โรคความดันโลหิตสูง จำนวน ๑๕ ราย คิดเป็นร้อยละ ๑.๙๒ ของประชากรอายุ ๓๕ ปีข้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูง และกลุ่มป่วยรายใหม่โรคเบาหวาน จำนวน ๘ ราย คิดเป็นร้อยละ ๐.๘๖ ของประชากรอายุ ๓๕ปีขึ้นไปที่ยังไม่ป่วยเป็นโรคเบาหวาน (ข้อมูลจากโปรแกรม HDC) เห็นได้ว่าอัตราป่วยรายใหม่มีแนวโน้มลดลง และยังพบว่าในปีงบประมาณ ๒๕๖๓ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังส่วนใหญ่ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและระดับความดันโลหิตได้โดยผู้ป่วยเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ร้อยละ ๑๗.๕๐ และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงควบคุมระดับความดันโลหิตได้ร้อยละ ๔๙.๑๙(ข้อมูลจากโปรแกรม HDC) จากผลการดำเนินงานดังกล่าวจะเห็นได้ว่าผู้ป่วยเรื้อรังไม่สามารถควบคุมอาการและความรุนแรงของโรคได้ตามเกณฑ์ และมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้ซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่จะต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาเฉพาะในพื้นที่เนื่องมาจากความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและสภาพแวดล้อม ส่งผลต่อวิถีชีวิตและก่อให้เกิดพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่ไม่สมดุล(รับประทานหวาน มันเค็มมากเกินไปและรับประทานผัก ผลไม้น้อยเกินไป) การเคลื่อนไหวทางกายน้อยการบริโภคยาสูบรวมถึงภาวะเครียดซึ่งหากไม่มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพดังกล่าวจะส่งผลให้โรคเรื้อรังที่เป็นอยู่มีความรุนแรงและมี ภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดความพิการและเสียชีวิตตามมา ซึ่งการดำเนินงานเพื่อแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อในชุมชน ไม่สามารถดำเนินการได้โดยกระทรวงสาธารณสุขเพียงลำพัง หากแต่ชุมชนและภาคีเครือข่ายองค์กรต่างๆล้วนมีอิทธิพลและมีความสำคัญในการลดปัจจัยเอื้อต่อการเกิดโรค ฉะนั้นการมีส่วนร่วมของชุมชนและภาคีเครือข่ายในการค้นหาปัญหา และดำเนินการในการแก้ไขปัญหาร่วมกันจึงเป็นแนวทางที่สำคัญ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันสูง ได้รับบริการวัดความดันที่บ้าน และกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานได้รับการตรวจติดตามระดับน้ำตาลในเลือด
  • อัตรากลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านตามเกณฑ์
  • อัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มสงสัยป่วยเบาหวานลดลง
0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพและความเสี่ยงลดลง
  • กลุ่มเสี่งโรคเรื้อรังได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ
0.00
3 เพื่อพัฒนาระบบบริการคลินิกโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงให้ตอบสนองต่อความต้องการของชุมชน โดยยึดชุมชนเป็นฐานการมีส่วนร่วมของบุคลากรสาธารณสุขและผู้รับบริการ ครอบครัวและชุมชนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพอย่างยั่งยืน
  • ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถเข้าถึงบริการได้ทั่วถึง
0.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยเรื้อรังสามารถควบคุมความรุนแรงของโรค และป้องกันภาวะแทรกซ้อนได้
  • ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความรุนแรงได้ตามเกณฑ์ และไม่มีภาวะแทรกซ้อนเพิ่มขึ้น
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,600.00 1 12,600.00
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดตั้งคณะทำงาน ที่มีส่วนร่วมจากหลายภาคส่วน ประเมินและวิเคราะห์ชุมชน จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ จัดทำแผนการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง 0 0.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อ 0 0.00 -
1 มี.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมจัดทำค่ายผู้ป่วยเรื้อรัง / ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรัง 0 0.00 -
7 ก.ค. 64 กิจกรรมให้บริการวัดความดันโลหิตที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 0 12,600.00 12,600.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.กลุ่มสงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวานได้รับการวินิจฉัยโรคและได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีในรายที่จำเป็น 2.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการป้องกัน ควบคุมโรค และลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ 3.ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังในพื้นที่ตำบลวังประจัน เกิดการตระหนักถึงความสำคัญในการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัว และชุมชนมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เข้มข้นสามารถควบคุมความรุนแรงของโรคและความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนได้มีการรวมกลุ่มทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพในรูปแบบต่างๆ อย่างยั่งยืน เกิดนโยบายสาธารณะเพื่อการสร้างสุขภาพให้มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี และการขยายผลการเกิดนวัตกรรมสุขภาพชุมชนสร้างความเข็มแข็งและการพึ่งตนเองทางสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 00:00 น.