กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2564

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5211-1-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 28 ธันวาคม 2563
ระยะเวลาดำเนินโครงการ -
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 14,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสุดารัตน์ ศรีเพ็ชร
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ม.ค. 2564 30 ก.ย. 2564 14,800.00
รวมงบประมาณ 14,800.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สืบเนื่องจากโครงการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร พบว่าผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมีการรับรู้และพฤติกรรมการดูแลตนเองอยู่ในระดับต่ำ ร้อยละ ๕๘.๗ และจากผลการตรวจคัดกรองพบผู้มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง ร้อยละ ๓๖.๖  ประกอบกับข้อมูลการป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานในพื้นที่ตำบลบ้านหารมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ และพบผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วยอัมพฤกษ์ หัวใจและหลอดเลือด ร้อยละ ๓.๕ โรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเป็นโรคไม่ติดต่อแต่มีแนวโน้มการเกิดโรคมากขึ้นทุกปีและเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องมีค่าใช้จ่ายสูง  โดยเฉพาะผู้ป่วยและผู้ที่มีโอกาสเสี่ยงยังไม่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์หากไม่มีความรู้และปฏิบัติตัวไม่ถูกต้องจะทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทำให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตได้ตามปกติได้รับความทุกข์ทรมานสูญเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาเป็นจำนวนมาก เสียชีวิต ประสบปัญหาสุขภาพจิตทั้งผู้ป่วยและญาติได้ จะเห็นได้จากปัจจุบันรัฐได้จัดสรรงบประมาณในการค้นหาผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้องตั้งแต่ระยะแรก ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการสูญเสียลงได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่สามารถดำเนินชีวิตที่ถูกต้องตามคำแนะนำได้อย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้จาก มีผู้ป่วยที่ควบคุมความดันโลหิตไม่เกิน ๑๓๐/๙๐ มิลลิเมตรปรอทได้มีเพียง ๔๘ คน ร้อยละ ๔๔.๗ ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้มีเพียง ๒๔ คน ร้อยละ ๔๘.๓ ถึงแม้ว่าโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหารจะให้การดูแลเยี่ยมบ้านทุกราย ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหารจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องสร้างความตระหนักเพื่อให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสนับสนุนให้เกิดการดำเนินชีวิตที่ถูกต้องอย่างต่อเนื่อง เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เริ่มด้วยรู้จักเลือกบริโภคอาหาร การออกกำลังกายร่วมกับการเจาะเลือดในผู้ที่มีภาวะเสี่ยงเบาหวาน ตรวจความดันโลหิต เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคอย่างถาวร โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหารจึงได้จัดทำโครงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดเสี่ยง ลดโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ขึ้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรค

 

0.00
2 เพื่อให้กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน มีพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ ด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การรับประทานทานยา ที่ถูกต้องเพื่อป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 100 14,800.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง 50 7,400.00 -
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ป่วย 50 7,400.00 -
  1. แนวทาง ผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรม ได้รับความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเอง แลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเจ้าหน้าที่ วิทยากร และสมาชิกนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้องจนประสบความสำเร็จในการดูแลตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาสมาชิกในครอบครัว สามารถควบคุมโรคด้วยตนเองได้ ดำเนินชีวิตได้ตามปกติไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน อยู่ร่วมกับครอบครัวได้อย่างมีความสุข แนะนำการดูแลตนเองต่อเพื่อนบ้านใกล้เคียงได้อย่างภาคภูมิใจ เกิดความรู้สึกถึงการมีคุณค่าในตัวเอง
  2. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน 2.1 เขียนโครงการเสนอ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 2.2 ประชุมชี้แจงโครงการแก่ผู้เกี่ยวข้อง เทศบาล อสม. ผู้นำชุมชน และประชาชนทั่วไปในวันประชุมประชาคมหมู่บ้าน เพื่อขอความร่วมมือในการจัดทำโครงการ
    2.3 จัดกิจกรรมอบรมให้ความรู้ในกลุ่มเสี่ยงเบาหวานและความดันโลหิตสูงในวันคลินิกเรื้อรังที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร 2.4 จัดกิจกรรมให้ความรู้ในชุมชน หมู่บ้านละ 1 วัน โดยเน้นรูปแบบที่สามารถนำความรู้ไปใช้ปฏิบัติได้จริงแก่กลุ่มเสี่ยงและกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน โดยวิทยากรที่มีประสบการณ์
  3. กิจกรรม
    3.1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง รู้จริงรู้ลึกเรื่องโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง,วิธีวัดผล/ประเมินระดับน้ำตาลในเลือดด้วยตนเอง,วิธีวัด/ประเมินผลความดันโลหิต,กิน-อยู่อย่างไรกับโรคเบาหวาน-ความดันโลหิตสูง กิจกรรมการดูแลเท้า กิจกรรมด้านโภชนาการ/สาธิตอาหาร กิจกรรมการออกกำลังกาย
    3.2 กิจกรรมที่ส่งเสริมการจัดการดูแลตนเอง แบ่งกิจกรรมออกเป็นฐานความรู้และปฏิบัติจริง ฐานที่ 1 ชื่อฐาน “ความดัน เบาหวาน ไม่น่ากลัวอย่างที่คิด”
    ฐานที่ 2 ชื่อฐาน “เรียนรู้ สู่การควบคุม” ฐานที่ 3 ชื่อฐาน “อิ่มดี มีคุณภาพ” ฐานที่ 4 ชื่อฐาน “ออกกำลังกาย ใส่ใจเท้า” 3.3 กิจกรรมเยี่ยมบ้านกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มป่วยที่ควบคุมโรคไม่ได้ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณสุขเพื่อประเมินพฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยพร้อมทั้งตรวจวัดน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ทุก 1 เดือน 3.4 ส่งเสริมสนับสนุนการออกกำลังกายในกลุ่มผู้ป่วยและกลุ่มผู้ที่มีภาวะเสี่ยงทั้งในชุมชนหรือที่บ้านผู้ป่วย 3.5 ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น สนับสนุนการใช้สมุนไพรที่มีในชุมชน โดยการขอรับคำปรึกษาจากศูนย์เรียนรู้ด้านการแพทย์แผนไทย คุณสุติมา หมัดอะด้ำ อาสาสมัครสาธารณสุขดีเด่นระดับประเทศ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจและหลอดเลือด ลดลง
  2. ลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนในกลุ่มผู้ป่วยและสามารถดำเนินชีวิตได้อย่างปกติสุข
  3. ผู้ที่มีภาวะเสี่ยงและผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองจนสามารถควบคุมระดับน้ำตาลหรือความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 15:41 น.