กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันเด็กจมน้ำตะโกน โยน ยื่น โดยผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในเขตเทศบาลนครยะลา
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 1 – 6
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 116,155.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิยะดา แวโดยี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานความปลอดภัยทางถนน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปี 2562 จังหวัดยะลา เป็น 1 ใน 30 จังหวัด ที่มีพื้นที่เสี่ยง ได้รับการจัดอันดับว่าพื้นที่เสี่ยงปานกลาง (พื้นที่สีเหลือง) ที่มีเด็กจมน้ำระดับปานกลางพบว่าอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคน เท่ากับ 5 - 7.4 ซึ่งตามตัวชี้วัดควรมีอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี น้อยกว่า 3.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน พบว่าเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี จะจมน้ำมากในเดือนเมษายน รองลงมาเดือนมีนาคมและพฤษภาคม จำนวน เสียชีวิตเฉลี่ย 3 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 – 2561 เฉลี่ย 9 ราย จากประชากรเด็กทั้งหมดปี พ.ศ.2559 – 2561 จำนวน 138,119 ราย อัตราเฉลี่ยการเสียชีวิตปี พ.ศ.2559 – 2561 จำนวน 6.3 ราย ปี 2563 (1 มกราคม 2563 – 13 พฤศจิกายน 2563) ไม่พบเด็กจมน้ำในเขตเทศบาลนครยะลา(ข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดยะลา 2563) การรณรงค์สื่อสารประชาสัมพันธ์ และการจัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันการจมน้ำ ผู้ก่อการดี (Merit Maker) คือ กลยุทธ์การดำเนินงานป้องกันการจมน้ำที่ครอบคลุมทั้งการจัดการปัจจัยเสี่ยงด้านตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม เกิดจากการรวมตัวกันเป็นทีมขึ้นของเครือข่ายภาครัฐ (สาธารณสุข ท้องถิ่น การศึกษา ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย) ภาคเอกชน จิตอาสา หรือ ประชาชนทั่วไป เพื่อร่วมกันดำเนินการควบคุมป้องกันและ เฝ้าระวังโรคการจมน้ำในเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรค สำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลนครยะลา ในฐานะผู้รับผิดชอบงานสาธารณสุขในภาคท้องถิ่น จึงได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการป้องกันเด็กจมน้ำตะโกน โยน ยื่นโดยผู้ก่อการดี (Merit Maker) ในเขตเทศบาลนครยะลา โดยอาศัยกระบวนการให้ความรู้แก่ครู ครูพี่เลี้ยง ผู้ปกครอง ประชาชนที่อยู่บริเวณจุดเสี่ยงใกล้แหล่งน้ำ และแกนนำนักเรียน ได้ตระหนักและเล็งเห็นความสำคัญเกี่ยวกับการป้องกันการจมน้ำในเด็ก ตลอดจนสามารถป้องกัน ช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างถูกวิธี และการช่วยฟื้นคืนชีพเบื้องต้นได้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจในการช่วยเหลือคนจมน้ำเบื้องต้นได้ถูกต้อง
  1. ร้อยละของผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่าร้อยละ100
100.00
2
  1. มีความรู้ในการช่วยเหลือคนจมน้ำเบื้องต้นได้ถูกต้องร้อยละ 80
80.00
3 2. เพื่อลดการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กเนื่องจากเป็นสาเหตุที่ป้องกันได้
  1. ลดอัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุ  น้อยกว่า 15 ปี น้อยกว่า 3.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน
3.50
4 .

ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 116,155.00 0 0.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 จัดประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน 0 500.00 -
18 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ (สถานที่เอกชน) จำนวน 2 กลุ่ม ดังนี้ 2.1 กลุ่มที่ 1 ครู(โรงเรียนนอกสังกัดเทศบาล) ครูพี่เลี้ยง(สถานรับเลี้ยงเด็กนอกสังกัดเทศบาล) ประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการที่อยู่อาศัยบริเวณจุดเสี่ยง จำนวน 50 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ย 0 87,755.00 -
18 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ ป้ายประชาสัมพันธ์โฟมบอร์ดการป้องกันและช่วยเหลือเบื้องต้นคนจมน้ำ ติดตั้งที่โรงเรียนระดับประถม (โรงเรียนนอกสังกัดเทศบาล) และสถานรับเลี้ยงเด็กนอกสังกัดเทศบาล 0 27,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. เกิดเครือข่ายการมีส่วนร่วมในชุมชนต่อการป้องกันเด็กจมน้ำพื้นที่จุดเสี่ยงจมน้ำ
  2. อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุน้อยกว่า 15 ปี น้อยกว่า 3.5 ต่อประชากรเด็กแสนคน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 2564 16:20 น.