กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการป้องกันโรคขาดมือถือไม่ได้
รหัสโครงการ 64-L8280-02-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครชุมชนบ้านสะบือรัง
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 29 เมษายน 2564 - 30 เมษายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 15,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเจ๊ะมีเนาะ สะมะแอ) (นางนูรไอนี มาหะมะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะติดโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต โดนเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ จนบางครั้งละเลยการทำหน้าที่ของตนไป พอมารู้อีกทีลูกก็กลายเป็นเด็กติดจอไปแล้วสาเหตุหนึ่งมาจากการเลี้ยงดูลูกด้วยเครื่องมือไอทีทำให้เด็กๆ หมกมุ่นอยู่กับหน้าจอ ขาดสัมพันธ์กับคนรอบข้างส่งผลให้พัฒนาการด้านอีคิวหรือด้านอารมณ์ลดลงทำให้ผลการเรียนเรียนตกตามด้วยปัญหาสุขภาพเช่น โรคอ้วนสายตาสั้นสมาธิสั้นโรคซึมเศร้าร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตายดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นอย่างยิ่งในการตระหนักถึงภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวช่วยกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะโรคโมโนโฟเบีย ซึ่งแปลตรงๆ คือ โรคที่ขาดมือถือไม่ได้ จัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง อาการที่พบก็อย่างเช่น ถ้าหากอยู่ในที่ปราศจากสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ก็รู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย ซึ่งในบางคนที่มีอาการมากๆ อาจถึงขั้นมีอาการเครียดได้เลย และการใช้โซเชียลที่มากเกินไปเข้าข่ายปัญหาพฤติกรรมเสพติดรูปแบบหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันซึ่งปัจจุบันในวงการจิตเวชได้บรรจุการติดโซเชียล ถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งในการวินิจฉัยโรคตาม ICD 11คือ Internet Use Disorderเนื่องจากปัญหาติดโซเชียลมีเดียมักเป็นปัญหาพฤติกรรมที่เกิดร่วมกันกับโรคทางจิตเวชอาทิโรคสมาธิสั้นโรควิตกกังวลโรคย้ำคิดย้ำทำและโรคซึมเศร้าเป็นต้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนสะบือรังได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคขาดมือถือไม่ได้ขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน และปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครองด้วยมือถือ โดยการหันมาใส่ใจ ดูแล บุตรหลานในการใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี และสร้างศักยภาพของ อสม. ให้สามารถนำความรุ้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้คนในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1

ตัวชี้วัดร้อยละ 50

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 15,000.00 3 15,000.00
31 มี.ค. 64 - 30 เม.ย. 64 กิจกรรม รณรงค์การป้องกันโรคขาดมือไม่ได้ ทางเครื่องกระจายเสียง 0 0.00 0.00
29 เม.ย. 64 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง มหันต์ภัยมือถือ และผลเสียต่อสุขภาพ เรื่อง ทำอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ จนเสียสุขภาพ เรื่อง การป้องกันโรคขาดมือถือไม่ได้ 0 11,700.00 11,700.00
30 เม.ย. 64 กิจกรรม รณรงค์การป้องกันโรคขาดมือไม่ได้ ทางเครื่องกระจายเสียง กิจกรรม เดินรณรงค์มหันต์ภัยมือถือ และผลเสียต่อสุขภาพ ตามชุมชน 0 3,300.00 3,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน และมีปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครองด้วยมือถือ โดยการหันมาใส่ใจ ดูแล บุตรหลานในการใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ดีขึ้น
๒. ทำให้ป้องกันการเกิดโรคขาดมือถือไม่ได้ ได้มากขึ้น

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 00:00 น.