กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันโรคขาดมือถือไม่ได้

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบูเก๊ะตา

อาสาสมัครชุมชนบ้านสะบือรัง

1.นางเจ๊ะมีเนาะ สะมะแอ
2.นางซานารียะ ดือราแม
3. นายมาหามะ เจ๊ะอูมา
4.นางนูรไอนีมาหามะ
5.นายอิสาเหาะ ยูโซะ

เขตเทศบาศบาลตำบลบูเก๊ะตา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบันคนส่วนใหญ่มักจะติดโทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต โดนเฉพาะคนเป็นพ่อเป็นแม่ จนบางครั้งละเลยการทำหน้าที่ของตนไป พอมารู้อีกทีลูกก็กลายเป็นเด็กติดจอไปแล้วสาเหตุหนึ่งมาจากการเลี้ยงดูลูกด้วยเครื่องมือไอทีทำให้เด็กๆ หมกมุ่นอยู่กับหน้าจอ ขาดสัมพันธ์กับคนรอบข้างส่งผลให้พัฒนาการด้านอีคิวหรือด้านอารมณ์ลดลงทำให้ผลการเรียนเรียนตกตามด้วยปัญหาสุขภาพเช่น โรคอ้วนสายตาสั้นสมาธิสั้นโรคซึมเศร้าร้ายแรงถึงขั้นฆ่าตัวตายดังนั้นพ่อแม่ผู้ปกครองหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง จำเป็นอย่างยิ่งในการตระหนักถึงภาวะเสี่ยงต่อโรคดังกล่าวช่วยกันหาแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธี โดยเฉพาะโรคโมโนโฟเบีย ซึ่งแปลตรงๆ คือ โรคที่ขาดมือถือไม่ได้ จัดอยู่ในกลุ่มโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง อาการที่พบก็อย่างเช่น ถ้าหากอยู่ในที่ปราศจากสัญญาณโทรศัพท์ ไม่มีสัญญาณอินเตอร์เน็ต ก็รู้สึกหงุดหงิดกระวนกระวาย ซึ่งในบางคนที่มีอาการมากๆ อาจถึงขั้นมีอาการเครียดได้เลย และการใช้โซเชียลที่มากเกินไปเข้าข่ายปัญหาพฤติกรรมเสพติดรูปแบบหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบในชีวิตประจำวันซึ่งปัจจุบันในวงการจิตเวชได้บรรจุการติดโซเชียล ถือเป็นโรคทางจิตเวชอย่างหนึ่งในการวินิจฉัยโรคตาม ICD 11คือ Internet Use Disorderเนื่องจากปัญหาติดโซเชียลมีเดียมักเป็นปัญหาพฤติกรรมที่เกิดร่วมกันกับโรคทางจิตเวชอาทิโรคสมาธิสั้นโรควิตกกังวลโรคย้ำคิดย้ำทำและโรคซึมเศร้าเป็นต้น
ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชุมชนสะบือรังได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการป้องกันโรคขาดมือถือไม่ได้ขึ้น เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน และปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครองด้วยมือถือ โดยการหันมาใส่ใจ ดูแล บุตรหลานในการใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี และสร้างศักยภาพของ อสม. ให้สามารถนำความรุ้ที่ได้ไปถ่ายทอดให้คนในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1

ตัวชี้วัดร้อยละ 50

0.00

๑. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน และปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครองด้วยมือถือ โดยการหันมาใส่ใจ ดูแล บุตรหลานในการใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี
ตัวชี้วัดร้อยละ 60 ของจำนวนผู้ปกครองที่เข้าร่วมอบรม เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงลูกด้วยมือถือและหันมาสนใจบุตรหลานมากขึ้น ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต
2. เพื่อป้องกันการเกิดโรคขาดมือถือไม่ได้
ตัวชี้วัดร้อยละ 50 ของผู้ที่เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ไปปรับใช้กับตัวเองและบุคคลในครอบครัวลดการเกิดโรคขาดมือถือไม่ได้
3.เพื่อให้เสริมศักยภาพให้ อสม. สามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้กับชุมชนได้อย่างอถูกต้อง

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 29/04/2021

กำหนดเสร็จ 30/04/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง มหันต์ภัยมือถือ และผลเสียต่อสุขภาพ เรื่อง ทำอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ จนเสียสุขภาพ เรื่อง การป้องกันโรคขาดมือถือไม่ได้

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ เรื่อง มหันต์ภัยมือถือ และผลเสียต่อสุขภาพ เรื่อง ทำอย่างไรไม่ให้ติดโทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต คอมพิวเตอร์ จนเสียสุขภาพ เรื่อง การป้องกันโรคขาดมือถือไม่ได้
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหาร ( 50 คนๆละ 50 บาท จำนวน 1 มื้อ) เป็นเงิน 2,500บาท
    • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 คนๆละ25 บาท จำนวน 2 มื้อ) เป็นเงิน 2,500บาท
    • ค่าวิทยากร ( 6 ชั่วโมงๆละ 600 บาท) เป็นเงิน 3,600บาท
    • ค่าป้ายโครงการเป็นเงิน 650บาท
  • ค่าวัสดุในการอบรม (สมุด,ปากกา,แฟ้มพลาสติก) เป็นเงิน 2,450บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
29 เมษายน 2564 ถึง 29 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนการใช้มือถือในชีวิตประจำวัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11700.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรม รณรงค์การป้องกันโรคขาดมือไม่ได้ ทางเครื่องกระจายเสียง กิจกรรม เดินรณรงค์มหันต์ภัยมือถือ และผลเสียต่อสุขภาพ ตามชุมชน

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม รณรงค์การป้องกันโรคขาดมือไม่ได้ ทางเครื่องกระจายเสียง กิจกรรม เดินรณรงค์มหันต์ภัยมือถือ และผลเสียต่อสุขภาพ ตามชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการและป้ายรณรงค์ (จำนวน 2 ป้าย)เป็นเงิน 1,300บาท
  • ค่าเอกสารรณรงค์(แผ่นพับ) เป็นเงิน750บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม (50 คนๆละ25 บาท จำนวน 1 มื้อ) เป็นเงิน 1,250บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
30 เมษายน 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ป้องกันการเกิดโรคขาดมือถือไม่ได้ ได้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3300.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรม รณรงค์การป้องกันโรคขาดมือไม่ได้ ทางเครื่องกระจายเสียง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรม รณรงค์การป้องกันโรคขาดมือไม่ได้ ทางเครื่องกระจายเสียง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
31 มีนาคม 2564 ถึง 30 เมษายน 2564
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทำให้ป้องกันการเกิดโรคขาดมือถือไม่ได้ ได้มากขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 15,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑. เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โทรศัพท์มือถือในชีวิตประจำวัน และมีปรับเปลี่ยนการเลี้ยงดูของพ่อแม่ ผู้ปกครองด้วยมือถือ โดยการหันมาใส่ใจ ดูแล บุตรหลานในการใช้ชีวิตและดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ดีขึ้น
๒. ทำให้ป้องกันการเกิดโรคขาดมือถือไม่ได้ ได้มากขึ้น


>