กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสีขาว ครอบครัวปลอดควันบุหรี่ Stop smoke Stop Disease ในเขตเทศบาลนครยะลา (ประเภทที่ 1)
รหัสโครงการ 64 – L7452 – 1 – 7
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่มงานป้องกันและควบคุมโรคสำนักการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อมเทศบาลนครยะลา
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 31,295.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางนิยะดา แวโดยี พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลยะลา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานยาสูบ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในแต่ละปีมีคนไม่สูบบุหรี่หลายแสนคนต้องเสียชีวิตด้วยโรคที่เกิดจากการได้รับควันบุหรี่มือสอง ซึ่งควันบุหรี่ในบรรยากาศ หรือควันบุหรี่มือสองนั้นเกิดจาก 2 แหล่ง คือ ควันบุหรี่ที่ผู้สูบบุหรี่พ่นออกมา และควันบุหรี่ที่ลอยจากปลายมวนบุหรี่ทันทีที่บุหรี่ถูกจุดขึ้น การเผาไหม้ของมวนบุหรี่จะทำให้เกิดสารเคมีซึ่งเป็นสารพิษอันตราย ทั้งในควันที่สูดเข้าไปและควันที่ลอยอยู่ในอากาศ เป็นเหตุผลให้คนใกล้ชิดผู้สูบบุหรี่มีความเสี่ยงต่อการเจ็บป่วยได้ไม่แพ้ผู้สูบนั่นเอง 1.หญิงมีครรภ์และเด็กทารก มีโอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์และคลอดบุตร โดยอาจมีอาการครรภ์เป็นพิษ แท้ง คลอดก่อนกำหนด และเกิดอาการไหลตายในเด็กสูงขึ้นมีความเสี่ยงที่ทารกแรกคลอดจะมีน้ำหนักตัวและความยาวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางสมองช้ากว่าปกติ และอาจมีความผิดปกติทางระบบประสาท และระบบความจำ 2.เด็กเล็ก ทำให้เกิดความเจ็บป่วยด้วยโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ เช่น หลอดลมอักเสบ ปอดบวม และมีอัตราการเกิดโรคหอบหืดเพิ่มขึ้น เกิดการติดเชื้อของหูส่วนกลางในระยะยาว เด็กที่ได้รับควันบุหรี่มือสองจะมีพัฒนาการของปอดน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ 3.ผู้ใหญ่ เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจเพิ่มขึ้น 25-30%เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งปอดเพิ่มขึ้น 20-30%เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งที่ลำคอมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ 3 เท่า เสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งในส่วนอื่นๆของร่างกาย ได้แก่ กล่องเสียง ช่องปาก หลอดอาหาร และกระเพาะปัสสาวะ มากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่ถึง 2 เท่า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบ หลอดเลือดหัวใจทันทีที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง สำหรับผู้ที่มีอาการหอบ หืด โรคหัวใจ และโรคหลอดลมอักเสบ จะทำให้อาการของโรคเพิ่มมากขึ้น (สสส,2562)และจากการประกาศ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 22 พ.ค.2562 ฉบับนี้ได้เน้นเรื่องของการป้องกันความรุนแรงในครอบครัว ส่งเสริมครอบครัว และคุ้มครองสวัสดิภาพบุคคล ซึ่งการสูบบุหรี่ในบ้านเข้าข่ายมีความผิดทางอาญาฐานก่อความรุนแรงในครอบครัวเพราะทำลายสุขภาพคนในบ้านซึ่งจากตามนิยามความรุนแรงในครอบครัวที่กำหนดไว้ชัดเจนว่าเป็นการกระทำใด ๆ ที่บุคคลในครอบครัวได้กระทำต่อกันโดยเจตนาให้เกิดหรือในลักษณะที่น่าจะก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพ เสรีภาพ หรือชื่อเสียงของบุคคลในครอบครัว การสูบบุหรี่ในบ้านจึงก่อให้เกิดความรุนแรงในครอบครัว ได้แก่.การสูบบุหรี่ในบ้านก่อให้เกิดการทำให้สัมพันธภาพครอบครัวน้อยลงเพราะลูกและภรรยาไม่อยากที่จะเข้าใกล้ หรือก่อให้เกิดพฤติกรรมลอกเลียนแบบในการสูบบุหรี่ อาจจะนำสู่การก่อความรุนแรงทางกายหรือความรุนแรงทางจิตใจเพราะอาการหงุดหงิด อาการก้าวร้าวด้วยกายและวาจา เมื่อขาดการสูบบุหรี่การสูบบุหรี่ในบ้านคนที่อาศัยจะได้รับควันบุหรี่มือสองและมือสามทั้งนี้การพิจารณาโทษการผิด พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัวฉบับใหม่นี้ อาจจะต้องขึ้นศาล 2 ศาล คือทั้ง ศาลอาญาและศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง ซึ่งศาลอาจมีคำสั่งให้คุ้มครองคนในครอบครัวและสั่งบังคับให้ผู้ที่สูบบุหรี่และทำให้เกิดปัญหาในบ้านเข้ารับการบำบัดและเลิกบุหรี่ เพื่อจะได้ไม่ให้ทำพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความรุนแรงขึ้นอีก (โพสต์ทูเดย์,2562) จากการเก็บข้อมูลผู้ปกครองทั้งหมดจำนวน 224 คน พบว่าผู้ปกครองที่สูบบุหรี่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตเทศบาลนครยะลา (5 แห่ง)มีจำนวนทั้งหมด 65 คนคิดเป็นร้อยละ 29.0 ประเภทชนิดของบุหรี่พบว่า บุหรี่ที่มวนเอง มีจำนวนทั้งหมด 13 คนคิดเป็นร้อยละ 20 บุหรี่ชนิดที่มีก้นกรอง มีจำนวนทั้งหมด 52 คนคิดเป็นร้อยละ 80 และจากจำนวนเด็ก 201 คน มีจำนวนเด็กป่วยด้วยโรคหอบหืด 6 คน คิดเป็นร้อยละ 2.98 จากสภาพปัญหาดังกล่าว งานเฝ้าระวังและป้องกันยาเสพติด ได้เล็งเห็นผลต่อการสูญเสียสุขภาพและทรัพย์สิน และอาจเกิดความพิการและเสียชีวิตที่จะตามมา การเกิดโรคที่เกิดจากบุหรี่มือ 1 มือ 2 และมือ 3มีความรู้ในการจัดการการเลิกบุหรี่ได้ด้วยตนเองและทางเลือกในการ เลิกบุหรี่ด้วยวิธีอื่น ๆ จึงได้จัดโครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อให้มีความรู้ โทษพิษภัยจากบุหรี่ ตระหนัก โทษทางกฎหมายจากการสูบบุหรี่ สามารถนำความรู้ไปนำไปสู่การปฏิบัติเพื่อให้บรรลุการเลิกบุหรี่ได้ และเป็นตัวอย่างที่ดีแก่คนในครอบครัว

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1 ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่องโทษ อันตรายจากการสูบบุหรี่
  1. ผู้เข้าร่วมโครงการร้อยละ100 2.ร้อยละของผู้เข้ารับอบรมมีความพึงพอใจไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
    3.มีความรู้และตระหนักโทษของพิษภัยของบุหรี่ สารเสพติด ร้อยละ 80
0.00
2 2 เพื่อเพิ่มอัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนของผู้ปกครอง โดยไม่กลับไปสูบซ้ำ
  1. อัตราการเลิกบุหรี่ได้สำเร็จติดต่อกันนานเกิน 6 เดือนโดยไม่กลับไปสูบซ้ำของผู้ปกครองในศูนย์เด็กเล็กร้อยละ 10
0.00
3 3 ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 และ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562

5.ผู้เข้าอบรมมีความรู้เรื่อง พ.ร.บ.ควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ พ.ศ.2560 และ พ.ร.บ. ส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ.2562 ร้อยละ 80

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 31,295.00 0 0.00
19 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติติการ ครูร่วมกับผู้ปกครอง 50 คน ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 10 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 คน รวม 64 คน ระยะเวลา 1 วัน 0 13,795.00 -
19 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมประชาสัมพันธ์ศูนย์เด็กเล็กปลอดบุหรี่ 0 15,900.00 -
19 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมที่ 3 การประชุมสรุป/มอบประกาศนียบัตรและประเมินผลการเลิกบุหรี่ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเมื่อครบ 6 เดือน ครูร่วมกับผู้ปกครอง 50 คน ประชาชนทั่วไปที่สนใจ 10 คน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจำนวน 4 คน รวม 64 คน (ครึ่งวัน) 0 1,600.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ปกครองในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีอัตราสามารถเลิกบุหรี่ได้สำเร็จครบ 6 เดือน
  2. มีความรู้เรื่องโทษ อันตรายจากการสูบบุหรี่และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. สามารถนำความรู้และวิธีการที่ได้จากวิทยากรมาประยุกต์ใช้กับตนเองเพื่อเลิกบุหรี่
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2564 14:09 น.