กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ เขามีเกียรติสูงวัย สดใส ใส่ใจสุขภาพประจำปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L5245-3-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ งานสาธารณสุข สำนักปลัด องค์การบริหารส่วนตำบลเขามีเกียรติ
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 27,800.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนันท์นภัส เพ็ชรสุวรรณ
พี่เลี้ยงโครงการ นายณัฎฐเกียรติ ชำนิธุรการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขามีเกียรติ อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.774,100.524place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ประเทศไทยเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 และคาดการณ์ว่าจะเป็นสังคมของผู้สูงอายุโดย สมบูรณ์ ในปี โดยปี 2564 จะเป็นปีที่ไทยจะเข้าสู่สังคมสูงอายุอย่างสมบูรณ์ ขณะที่สถานการณ์ล่าสุดของผู้สูงอายุไทย ในปี 2563 ประชากรไทยทั้งหมดมี 66.5 ล้านคน เป็นผู้สูงอายุ 11.13 ล้านคน หรือ คิดเป็น 16.73 เปอร์เซ็นต์ ในจำนวนของผู้สูงอายุ 11.13 ล้านคน เป็นหญิง 4.9 ล้านคน ชาย 6.2 ล้านคน อายุคาดเฉลี่ย 75 ปี โดยจำนวนผู้สูงวัยทั้งหมด พบว่า ส่วนใหญ่อยู่ในวัยต้น (60-69ปี) 57.5 เปอร์เซ็นต์ ตามด้วยวัยกลาง (70-79ปี) 29 เปอร์เซ็นต์ และวัยปลาย (80ปีขึ้นไป) 13.5 เปอร์เซ็นต์จากการสำรวจของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในเดือนตุลาคม 2562 พบว่า ผู้สูงอายุทั้งหมด มีจำนวนที่ติดเตียง 0.39 เปอร์เซ็นต์ ติดบ้าน 1.54 เปอร์เซ็นต์ และมากที่สุด คือ ติดสังคม 98.06 เปอร์เซ็นต์ โดย “การใช้ประโยชน์ระบบเทคโนโลยี หรือ สารสนเทศอย่างรู้เท่าทัน และการพัฒนาสู่การเป็น Policy Maker หรือ ผู้กำหนดนโยบาย” คือ แนวทางขับเคลื่อน ของกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในปีงบประมาณ 2564พร้อมกับระเบียบวาระแห่งชาติ เรื่องสังคมสูงอายุ ที่ได้มีการตั้งเป้าไว้เอาไว้ว่า ให้ผู้สูงอายุไทย เป็น” Active Ageing” หรือ “พฤติพลัง หรือ พลังผู้เฒ่า” คือการสูงวัยอย่างมีคุณภาพให้ได้ โดยจะต้องใช้ความร่วมมือจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเพื่อขับเคลื่อนให้ไปถึงเป้าหมายไม่ว่าจากกระทรวงสาธารณสุข ในระบบสุขภาพเพื่อรองรับสังคมสูงอายุ , กระทรวงมหาดไทย ปรับสภาพแวดล้อมชุมชนและบ้านให้ปลอดภัยกับผู้สูงอายุ , กระทรวงศึกษาธิการ สร้างความรอบรู้ให้คนรุ่นใหม่เตรียมความพร้อมในทุกมิติ , กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม ในการพลิกโฉมนวัตกรรมเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคมผู้สูงอายุ และกระทรวงแรงงานที่ต้องส่งเสริมการมีงานทำและมีรายได้ของผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุจึงเป็นวัยที่มีคุณค่า เพราะเต็มไปด้วยประสบการณ์ชีวิตและความรู้ ดั่งต้นไม้ใหญ่ที่ยิ่งอายุมากก็ยิ่งแผ่กิ่งก้านสาขาให้ความร่มเย็น ด้วยการเปลี่ยนแปลงของวัยและสภาพสังคมอาจจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกสูญเสียความมั่นใจในตัวเอง คนรอบตัวจึงควรให้การดูแลใส่ใจ กิจกรรมทางสังคมเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกผ่อนคลาย เพิ่มความนับถือตัวเอง กลายเป็นต้นไม้ที่หยั่งรากลึกให้แก่ลูกหลานต่อไป
องค์การบริหารส่วนตำบลเขามีเกียรติ เห็นความสำคัญของการส่งเสริมให้ความรู้การดูแลสุขภาพที่ถูกต้องและเหมาะสมกับผู้สูงอายุ รวมถึงเป็นการส่งเสริมสุขภาพร่างกาย อารมณ์ จิตใจ ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะที่ดี จึงได้จัดทำโครงการเขามีเกียรติ สูงวัย สดใส ใส่ใจสุขภาพ ประจำปีงบประมาณ 2564 ขึ้น โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล พ.ศ.2537 และแก้ไขเพิ่มเติมจนถึงปัจจุบัน (ฉบับที่6) พ.ศ.2552 ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ขององค์การบริหารส่วนตำบลได้กำหนดให้ องค์การบริหารส่วนตำบลเป็นหน่วยราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ ตามมาตรา 66 ความว่า องค์การบริหารส่วนตำบล มีอำนาจหน้าที่ในการพัฒนาตำบลทั้งในด้านเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม และมาตรา 67 ความว่าภายใต้บังคับกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบล มีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลดังต่อไปนี้ (5) ส่งเสริม การศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม (6) ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ และอาศัย อำนาจหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 มาตรา 16 (10) การสังคมสงเคราะห์และการพัฒนาคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง 2.เพื่อส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ทั้งร่างกาย จิตใจ และอารม์ให้มีภาวะสุขภาพที่ดี 3.เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข
  1. ผู้สูงอายุมีภาวะสุขภาพที่ดี
  2. ร้อยละ 80 ของผู้สูงอายุในพื้นที่ได้รับองค์ความรู้ในการดูแลตนเองและสามารถดูแลตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
  1. จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติงบประมาณ
  2. จัดประชุมชี้แจงผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเพื่อขอความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรม
  3. ประชาสัมพันธ์เพื่อประชาชนทราบ
  4. ดำเนินกิจกรรมในการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  5. ติดตามประเมินผลโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุได้รับความรู้ในการดูแลตนเองที่ถูกต้อง
  2. ผู้สูงอายุสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างปกติสุข ลดความเครียดได้
  3. ผู้สูงอายุ ทั้งร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ได้มีภาวะสุขภาพที่ดี
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 20 ม.ค. 2564 10:34 น.