กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19)
รหัสโครงการ 64-L8009-05-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 5 สนับสนุนกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
วันที่อนุมัติ 20 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 28 มกราคม 2564 - 11 กุมภาพันธ์ 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 69,600.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเสงี่ยม หีมปอง ประธานอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน
พี่เลี้ยงโครงการ กูดนัย ราเหม
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลทุ่งหว้า อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 28 ม.ค. 2564 11 ก.พ. 2564 28 ม.ค. 2564 11 ก.พ. 2564 69,600.00
รวมงบประมาณ 69,600.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 80 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID-๑๙) ในจังหวัดสมุทรสาคร โดยมีผู้ติดเชื้อเป็นจำนวนมาก และมีการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่จังหวัดต่างๆ ทำให้เกิดการแพร่ระบาดระลอกใหม่ โดยในพื้นที่จังหวัดสตูลได้ตรวจพบผู้ติดเชื้อแล้วจำนวน ๒ ราย ด้วยคำสั่งจังหวัดสตูล ที่ ๒๗๔๖/๒๕๖๓ เรื่องมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ จังหวัดสตูล สั่ง ณ วันที่ ๒๘ ธันวาคม ๒๕๖๓ เพื่อยกระดับมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ๒๐๑๙ (COVID – ๑๙) ในพื้นที่จังหวัดสตูล ทั้งนี้ การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จำเป็นต้องมีการดำเนินการให้ความรู้ คำแนะนำ การดูแลเฝ้าระวังป้องกันตนเองให้กับประชาชนเขตพื้นที่ด้วยมาตรการเชิงรุก ได้แก่ หน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข สถานประกอบการ สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก หน่วยราชการ ชุมชน และบริการสาธารณะต่างๆ ในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบ ในเขตพื้นที่อำเภอทุ่งหว้า มีผู้ป่วยติดเชื้อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19 จึงมีความจำเป็นต้องมีการคัดกรองประชาชนกลุ่มเสี่ยง แต่ยังขาดเครื่องมือในการตรวจคัดกรอง วัสดุอุปกรณ์ ดังนั้น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จึงได้จัดทำโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19) เพื่อควบคุมเฝ้าระวังและป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ตั้งรับการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (COVID-19) ขึ้น

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1 เพื่อทำการคัดกรองและให้ความรู้แก่ประชาชนปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ (COVID-19)

๑. ประชาชนมีความเข้าใจเรื่องการป้องกันตนเอง ร้อยละ 90

100.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อทำการคัดกรองสถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก สถานบริการ สถานประกอบการ ตลาดนัด ชุมชน สาธารณะต่างๆในเขตพื้นที่ รับผิดชอบปฏิบัติตามแนวทาง มาตรการให้มีความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด - 19

๒.สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก สถานบริการ สถานประกอบการ ตลาดนัด ชุมชน สาธารณะต่างๆในเขตพื้นที่ รับผิดชอบปฏิบัติตามแนวทาง มาตรการให้มีความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด - 19 ไม่มีผู้ติดเชื้อโควิด – 19 ร้อยละ 100

100.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อทำการคัดกรองประชาชนในพื้นที่และผู้ที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงได้มีการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อโควิด – 19 ทุกราย

๓.ประชาชนในพื้นที่และผู้ที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงได้มีการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อโควิด – 19  ทุกราย

100.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันโรคติดเชื้อ โควิด -19
  1. มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับป้องกันโรคแก่ประชาชน/กลุ่มเสี่ยง/เจ้าหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
100.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 140 69,600.00 1 69,600.00
5 มี.ค. 64 กิจกรรมคัดกรองกลุ่มที่มาจากพื้นที่เสี่ยง 140 69,600.00 69,600.00

ขั้นตอนวางแผนงาน
  - วางแผน กำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมาย เนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ
  - จัดทำโครงการเพื่อขออนุมัติ
  - ติดต่อประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  - จัดซื้อวัสดุ อุปกรณ์ประกอบการดำเนินงานโครงการควบคุมเฝ้าระวังป้องกันโรคโควิด-19 (COVID-19)
  เพื่อปฏิบัติการเชิงรุก ขั้นตอนการดำเนินงาน
  - จัดชุด/เวรออกตรวจคัดกรอง ตามบ้านที่กลุ่มเสียงหรือเข้ามาพักอาศัย และให้ความรู้แก่ผู้กลับจากพื้นที่เสี่ยง ญาติ   คนที่อยู่ ในพื้นที่ใกล้เคียง
    - สรุปผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ประชาชนมีความรอบรู้ในการปฏิบัติตนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ (COVID-19)
      2. สถานศึกษา ศูนย์เด็กเล็ก สถานบริการ สถานประกอบการ ตลาดนัด ชุมชน สาธารณะต่างๆในเขตพื้นที่ รับผิดชอบปฏิบัติตามแนวทาง มาตรการให้มีความปลอดภัยจากการติดเชื้อโควิด - 19   3. ประชาชนในพื้นที่และผู้ที่กลับจากพื้นที่เสี่ยงได้มีการตรวจคัดกรองโรคติดเชื้อโควิด – 19 ทุกราย
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 21 ม.ค. 2564 15:12 น.