กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการรณรงค์ควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก เขตเทศบาลตำบลบูเก๊ะตา ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ปี2564
รหัสโครงการ 64-L8280-01-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลโล๊ะจูด
วันที่อนุมัติ 1 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2564 - 30 มิถุนายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 10,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายนิอาแซ หะยีดอเลาะ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลโละจูด อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความสูญเสียต่อชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา ตำบลโละจูด เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกมาอย่างต่อเนื่องโดยมีอัตราป่วยต่อแสนประชากรในปี 2560 – 2562 เท่ากับ 78.98 ,193.07 และ 131.64 ต่อแสนประชากร ตามลำดับไม่มีผู้ป่วยตาย จะเห็นได้ว่าอัตราป่วยเกิน 50 ต่อแสนประชากร การระบาดของโรคไข้เลือดออกส่วนมากจะพบผู้ป่วยในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน ของทุกปีซึ่งตรงกับการเปิดภาคเรียนที่หนึ่งพอดีและชีวนิสัยของยุงชอบออกหากินเวลากลางวันจึงสันนิฐานได้ว่าการแพร่เชื้อและการกระจายโรค จะเกิดขึ้นได้ทั้ง ชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและโรงเรียน ด้วยเหตุนี้ การควบคุมโรคจะต้องอาศัยความร่วมมือทั้งจาก ชุมชนมัสยิด โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดการปรับเปลี่ยนแนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ซึ่งปัญหาของโรคไข้เลือดออกเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมและสิ่งแวดล้อมดังนั้น การดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ประชาชน องค์กรชุมชน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

1อัตรป่วยของโรคไข้เลือดออกไม่เกินตามตัวชี้วัดกำหนด

5.00 2.00
2 2.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดยุงลายในนมัสยิด โรงเรียนและชุมชน

2.อัตราความชุกของลูกน้ำยุงลายลดลง

10.56 5.25
3 3.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง

3.การมีส่วนร่วมของประชาชนในการเข้าร่วมกิจกกรม

85.00 90.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : 1.เพื่อลดอัตราผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : 2.เพื่อกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดยุงลายในนมัสยิด โรงเรียนและชุมชน

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : 3.เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรมป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในบ้านตนเองอย่างต่อเนื่อง

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

1 - 30 มิ.ย. 64 รณรงค์พ่นหมอกควันและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โรงเรียนและสถานที่ราชการ 10,000.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ลดอัตรป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ไม่เกิน 50 คนต่อแสนประชากร 2.ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่องโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก 4.ทำให้ประชาชนเกิดพฤติกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 5.ทำให้สามารถลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 00:00 น.