กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ลูกบอลสมุนไพรกำจัดลูกน้ำยุงลาย รพ.สต.บ้านโคกยา
รหัสโครงการ 2564-L3310-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านโคกยา
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 12,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายพงษ์ศักดิ์ เผือกสม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเขาชัยสน อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 114 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมาเพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่สร้างความ สูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอดและได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานต่างทั้งภาครัฐและ เอกชนพบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนักยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงคุกคามชีวิตประชาชนชาวไทยคือการที่ประชาชนขาด ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพิษภัยของโรคไข้เลือดออกทำให้ไม่มีการตื่นตัวร่วมกันป้องกันและควบคุมโรค เนื่องจากการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานราชการหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านสาธารณสุขยังไม่ครอบคลุมถึงทุกครัวเรือนเพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ประชาชนใน การรณรงค์ การป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สำหรับองค์การอนามัยโลก แนะนำให้ใช้ทราย กำจัดลูกน้ำใส่ในแหล่งน้ำ เพื่อกำจัดลูกน้ำยุงเป็นการป้องกันไม่ให้ยุงที่เป็นพาหะนำโรคหลายชนิดแพร่พันธุ์ได้ แต่จะต้องใช้ในอัตราส่วนที่ถูกต้อง จึงจะกำจัดลูกน้ำยุงได้ คือ ทรายอะเบท 1% ปริมาณ 1 กรัมในน้ำ 10 ลิตร หรือ 10 กรัมน้ำ 100 ลิตร เมื่อใส่ในแหล่งน้ำแล้วจะต้องมีความเข้มข้นที่ 1 ส่วนในล้านส่วน ( ppm ) โดยจะ ออกฤทธิ์ทำลายระบบประสาทและการหายใจของลูกน้ำยุงภายใน 1 ชั่วโมง และคงฤทธิ์อยู่ได้นาน 3 เดือน จากข้อมูลการระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่รับผิดชอบของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยาตั้งแต่ ปี พ.ศ.ย้อนหลัง 5 ปี 2559-2563 มีผู้ป่วยจำนวน3ราย,17ราย,4ราย,2ราย,11 ราย คิดเป็นอัตราป่วยต่อแสนประชาชน37.33,224.98,561.8,370 และ 354.23 ไม่พบผู้เสียชีวิต
ปัจจุบันการดำเนินงานการป้องกันโรคไข้เลือดออกของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านโคกยา ได้จัดกิจกรรมการพ่นหมอกควัน พ่นละอองฝอย ใช้สเปรย์ฆ่ายุงในกรณีมีผู้ป่วย ร่วมกับการกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงใส่ทรายอะเบท และรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออกทุกๆสามเดือน ร่วมกับองค์การบริการส่วนตำบลเขาชัยสนแต่ทรายอะเบทนั้นมีจำนวนจำกัด ไม่สามารถดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกได้ตลอดทั้งปี ดั้งนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านโคกยาจึงได้จัดการ แก้ปัญหานี้โดยการกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ในกลุ่มของ อสม. ซึ่งทำในวันประชุมทุกๆ เดือน เพื่อค้นหาวิธีการที่จะนำมาใช้ในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก และได้แนวคิดจากภูมิปัญญา เรื่องของการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน สมุนไพรของไทย ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นอย่างเช่น หัวข่า ตะไคร้หอม มะกรูด ใบเตย มาเป็นทางเลือกในการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกต่อไป โรคไข้เลือดออกเป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ และมีการระบาดของโรคไข้เลือดออกทุกพื้นที่และพบผู้เสียชีวิต เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เช่น จำนวนประชากรที่เพิ่มมากขึ้น สิ่งแวดล้อมที่แย่ลง ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อระบบนิเวศของยุงลาย ทำให้การเกิดติดต่อของ โรคไข้เลือดออกมีการแพร่กระจายโรคอย่างรวดเร็ว การควบคุมโรคไข้เลือดออกนั้นทำได้ยากและขาดความ ต่อเนื่องเพราะความร่วมมือของประชาชนยังไม่ดีเท่าที่ควร การป้องกันโรคไข้เลือดออกที่ดีและยั่งยืนคือการ กระตุ้นให้ประชาชนดูแลสุขภาพของตนเองและครอบครัว ดูแลสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัยไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ ด้วยความรู้และความตระหนักในการดูแลสุขภาพป้องกันโรค และความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคมของประชาชนทุกครัวเรือนอย่างยั่งยืน

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของลูกบอลสมุนไพร ในการป้องกันการวางไข่ของยุง

ค่า HI และ CI ไม่เกิน 10

0.00
2 เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนป้องกันโรคไข้เลือดออก

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

0.00
3 เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลาย

ครัวเรือนใช้ลูกบอลสมุนไพรในการกำจัดลูกน้ำยุงลาย

0.00
4 เพื่อลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

ลดอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,000.00 0 0.00
??/??/???? การดำเนินนวัตกรรมลูกบอลสมุนไพร 0 12,000.00 -
  1. ขั้นเตรียมการ
        1.1 จัดประชุมเตรียมความพร้อมแก่อสม.ภาคีเครือข่ายและประชาชนที่เกี่ยวข้อง
        1.2. ชี้แจงแนวทางในการดำเนินนวัตกรรมลูกบอลสมุนไพร   2. ขั้นดำเนินการ     2.1 อสม.ทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกวันศุกร์ในพื้นที่รับผิดชอบของตนเอง     2.2 กิจกรรมประเมินลูกน้ำยุงลายแบบไขว้ ดำเนินการพื้นที่นำร่อง คือ หมู่ที่ 1 บ้านโคกยา จำนวน 10 หลังคาเรือน และหมู่ที่ 9 บ้านท่ากุน จำนวน 10 หลังคาเรือน พื้นที่หมู่ที่ 14 จำนวน 10 หลังคาเรือน โดยมีวิธีประเมินดังนี้ - อสม. หมู่ 1 ร่วมกันออกประเมินเพื่อสุ่มลูกน้ำยุงลายในพื้นที่หมู่ที่ 9 จำนวน 10 หลังคาเรือน โดยจะออกสุ่มประเมินเดือนละ 1 ครั้ง (วันศุกร์สิ้นเดือนภาคเช้า) - อสม. หมู่ 9 ร่วมกันออกประเมินเพื่อสุ่มลูกน้ำยุงลาย หมู่ 14 จำนวน 10 หลังคาเรือน โดยจะออกสุ่มประเมินเดือนละ 1 ครั้ง (วันศุกร์สิ้น การออกประเมินแต่ละครั้งจะมีเจ้าหน้าที่จากรพ.สต.บ้านโคกยาและทีม อสม.มือปราบลูกน้ำ ยุงลาย เป็นพี่เลี้ยงในการออกประเมิน กรณีสุ่มประเมินเจอลูกน้ำยุงลายและแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย อสม.ร่วมกับเจ้าหน้าที่และ ทีม อสม.มือปราบลูกน้ำยุงลาย จะทำลายแหล่งเพราะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทันทีโดย ใช้มาตรการ 5 ป. 1 ข. และมาตรการ 3 เก็บ   3 ขั้นประเมินผลและสรุป
      3.1 ประเมินผลการดำเนินงานนวัตกรรม ( ค่า HI CI )
      3.2 สรุปผลการดำเนินงานและเผยแพร่นวัตกรรม
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

-ค่า HI, CIไม่เกิน 10
-อัตราป่วย ไม่เกิน 50/แสนประชากร -ประชาชนมีความตระหนักและให้ความร่วมมือในการจัดการดูแลกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนของตนเอง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 10:26 น.