กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ ส่งเสริมสุขภาพและป้องกันทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสว่างอารมณ์
รหัสโครงการ 64-L5262-3-05
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 3 สนับสนุนการจัดกิจกรรมของ ศูนย์เด็กเล็ก/ผู้สูงอายุ/คนพิการ
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสว่างอารมณ์เทศบาลตำบลชะแล้
วันที่อนุมัติ 18 มิถุนายน 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 สิงหาคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 12,555.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางจิตรา เขาไข่แก้ว
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 12,555.00
รวมงบประมาณ 12,555.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 18 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสว่างอารมณ์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มาตรฐานที่ 1 ด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก(1)ด้านการบริหารงาน (1.3) การจัดการศึกษาและการให้บริการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานศึกษาที่ให้การอบรมเลี้ยงดู จัดประสบการณ์และส่งเสริมพัฒนาการการเรียนรู้ให้กับเด็กเล็กได้รับการพัฒนา ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญาที่เหมาะสมตามวัยตามศักยภาพของแต่ละคน ดังนั้น ระยะเวลา การจัดการเรียนรู้และแนวทางการจัดการเรียนรู้ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจึงต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องและเหมาะสมเพื่อให้เด็กเล็กได้รับการจัดการศึกษาและการพัฒนาเป็นไปตามวัยแต่ละช่วงอายุ สอดคล้องกับสังคม วัฒนธรรม ภูมิปัญญา และหลักสูตรการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป (1.3.2) การให้บริการส่งเสริมสนับสนุนสำหรับเด็กเล็ก สุขภาพช่องปากมีความสำคัญต่อสุขภาพของทุกคน โดยเฉพาะในเด็กปฐมวัย โรคฟันผุในเด็กสามารถพบได้ตั้งแต่ฟันเริ่มขึ้นในช่วงขวบปีแรกและอัตราการผุเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงอายุ 2-4 ปีสาเหตุหลักที่ทำให้เด็กมีฟันผุมาจากพฤติกรรมของมารดาในการเลี้ยงดูบุตรที่ไม่ถูกต้องรวมถึงการดูแลทำความสะอาดช่องปากไม่ถูกวิธีและมีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่เหมาะสมก่อให้เกิดโรคฟันผุในฟันน้ำนมอย่างรุนแรงทำให้เด็กมีความเจ็บปวดเคี้ยวอาหารไม่ได้ตามปกติได้รับสารอาหารที่จำเป็นไม่เพียงพอและส่งผลต่อพัฒนาการการเจริญเติบโตของเด็กได้การเกิดฟันผุในฟันน้ำนมนอกจากจะมีผลเสียโดยตรงต่อสุขภาพของเด็กในขณะนั้นแล้วยังมีผลเสียต่อฟันแท้ของเด็กในอนาคตด้วยกล่าวคือฟันน้ำนมที่เสียถูกถอนหรือหลุดไปก่อนที่ฟันแท้จะขึ้นแทนที่จะทำให้ฟันที่อยู่ติดกันรวนเอียงเข้าหาช่องว่างทำให้ฟันแท้ที่จะเกิดขึ้นแทนตำแหน่งนั้นไม่สามารถขึ้นได้อย่างปกติอาจจะขึ้นมาในลักษณะบิดซ้อนกันหรือมีขนาดใหญ่ไม่เหมาะสมกับใบหน้าของเด็กซึ่งจะเป็นปมด้อยทำให้เด็กไม่กล้าในการแสดงออกการแก้ไขปัญหาดังกล่าวทำได้โดยการใช้รูปแบบการให้บริการทันตกรรมครบวงจรการตรวจสุขภาพช่องปากการให้สุขศึกษาบริการทันตกรรมการแปรงฟันที่ถูกวิธีการบำบัดรักษาและการติดตามประเมินผล ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสว่างอารมณ์สังกัดกองการศึกษาเทศบาลตำบลชะแล้ได้ให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังทันตสุขภาพและตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดโครงการส่งเสริมและป้องกันทันตสุขภาพเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ข้อที่ 1เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เด็กเล็กและผู้ที่เกี่ยวข้องกับทันตสุขภาพอนามัยในช่องปากและการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็ก ข้อที่ 2 เพื่อส่งเสริมสุขอนามัยช่องปากและป้องกันโรคฟันผุของเด็กด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ทุกวัน ข้อที่ 3 เพื่อให้เด็กเล็กผ่านมาตรฐานของกรมอนามัย ข้อที่ 4 เพื่อส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามโครงการ ข้อที่ 5 เพื่อตัดกรองเด็กเล็กที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากเพื่อส่งต่อฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ข้อที่ 1ผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง เด็กเล็กและผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลทันตสุขภาพอนามัยในช่องปากและการป้องกันโรคฟันผุในเด็กเล็ก ข้อที่ 2 เด็กเล็กมีสุขอนามัยช่องปากที่ดี ข้อที่ 3 เด็กเล็กผ่านมาตรฐานของกรมอนามัยด้านทันตสุขภาพ ข้อที่ 4 ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขอนามัยในช่องปากของเด็ก ข้อที่ 5 สามารถคัดกรองเด็กเล็กที่มีปัญหาสุขภาพในช่องปากเพื่อส่งต่อฝ่ายทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 12,555.00 0 0.00
1 ส.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 0 12,555.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

เด็กเล็กได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธีมีสุขภาพอนามัยดีไม่เจ็บป่วยฟันไม่ผุ และได้รับบริการด้านทันตอย่างต่อเนื่อ ผ่านมาตรฐานของกรมอนามัย ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของเด็กเล็กและเด็กเล็กมีพัฒนาการสมวัย

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 13:57 น.