กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(covic 19)
รหัสโครงการ 64-L2532-01-18
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี
วันที่อนุมัติ 26 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 15 กันยายน 2564
งบประมาณ 29,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ รพ.สต.กะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 23 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด :

กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 221 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2636 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

หลักการและเหตุผล
เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (covid-19) เป็นไวรัสข้ามสายพันธุ์ที่เริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ.๒๐๑๙ จนกระทั่งมีการระบาดไปยังไปเทศต่างๆทั่วโลกสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค covid-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่ององค์การอนามัยโรคได้ประกาศว่าการระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลกขณะเดียวกันประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อ covid-19เป็นโรคอันตราย ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ลำดับที่ ๑๔เพื่อให้สามารถใช้ข้อกำหนดการตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค สามารถควบคุมและป้องกันการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันการระบาดยังขยายเป็นวงกว้างไปหลายประเทศทั่วโลก ศูนย์ปฏิบัติการด้านการข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ข้อมูลการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19) ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 24,961 ราย ผู้ป่วยใหม่ 175 ราย รักษาหาย 23,697 ราย เสียชีวิติ 82 ราย และในจังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยยืนยัน 54 ราย รักษาหาย 52 ราย เสียชีวิต 2 ราย ในส่วนในอำเภอสุคิรินมีกลุ่มผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 2 ราย การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) การสัมผัสกับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งคัด มีการบูรณาการทุกภาคส่วน ร่วมถึงการขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีความรู้ในการตระหนักถึงดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆในการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมการตระหนักของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ลดการระบาดของโรคและป้องกันการเกิดโรคในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) ขึ้น เพื่อสร้างเครือข่ายในการขับเคลื่อนในชุมขนสามารถสื่อสารข้อมูลกับประชาชนและส่งเสริมความรู้การป้องกันโรคที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) ต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์

ประชาชน ชุมชน และภาคีเครือข่าย มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดำรงวิถีชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า

0.00 0.00
2 เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ส่งเสริม สนับสนุน บทบาทของภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19

2.ภาคประชาชนและเครือข่ายในชุมชน สามารถดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า (covid-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00 0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและสถานประกอบการต่างๆ มีการปฏิบัติตามแนวทาง มาตรการ ตามมาตรฐานที่กำหนด ปลอดภัยจากการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19)

ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019(covid-19) เกิดขึ้นในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 29,300.00 0 0.00
??/??/???? การดำเนินงาน 0 0.00 -
??/??/???? ประชุม อสม.และภาคีเครือข่าย 0 2,325.00 -
??/??/???? สำรวจและรณรงค์ตามมาตรการเฝ้าระวังฯ 0 26,975.00 -
  1. ประชุมทีมอสม.และเครือข่าย ในพื้นที่รับผิดชอบ 1.1) สื่อสารความร่วมมือและสร้างความเข้าใจในการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (covid-19) 1.2) จัดตั้งทีมเฝ้าระวังควบคุมโรค ระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๑ ทีม เพื่อให้หมู่บ้านเละชุมชน มีการดำเนินการเฝ้าระวังโรคอย่างมีประสิทธิ์ภาพ พร้อมรับสถานการณ์ 1.3) จัดทำมาตรการการเฝ้าระวัง ตามแนวทางการเฝ้าระวังการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (covid-19) เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังควบคุมโรคที่ถูกต้องตามหลักวิชาการการควบคุมโรค 1.4) สอบถามปัญหาพร้อมสำรวจจำนวนความต้องการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ/วัสดุ ที่จำเป็นต่อการใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(covid-19) เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน
  2. สำรวจข้อมูลพื้นฐานในชุมชน
  3. การประเมินพื้นที่เป้าหมายในมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(covid-19) และดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
  4. จัดซื้อ วัสดุ/เครื่องมือ ในการปฏิบัติงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (covid-19) เละสนับสนุนให้แก่พื้นที่เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ
  5. ประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(covid-19)ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 5.1) แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรค 5.2 )แบบทดสอบด้านสุขภาพจิต สำหรับประชาชน ของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข
  6. ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯ ระดับหมู่บ้าน ลงสำรวจและประเมินโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม 6.1) ประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ เป้าหมายทุกหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบ เพื่อประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากการเกิดโรคฯ 6.2) ประเมินแบบทดสอบด้านสุขภาพจิต สำหรับประชาชน ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  7. สรุปผลการประเมิน/คืนข้อมูลให้ประชาชนและชุมชน
  8. ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯ ระดับหมู่บ้าน ดำเนินการเฝ้าระวังตามแนวทางตามมาตรการที่กำหนด และรายงานผลการปฏิบัติงาน
  9. สรุปรายงาน ประเมินผลโครงการฯ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑.ประชาชน ชุมชน และภาคีเครือข่าย มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดำรงวิถีชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (covic-19) ๒.ภาคประชาชนและเครือข่ายในชุมชน สามารถดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า (covic-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 00:00 น.