กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังป้องกัน และควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(covic 19)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มาโมง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี ตำบลมาโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานป้องกัน แก้ปัญหา และฟื้นฟู ในสถานการณ์โควิด-19

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

หลักการและเหตุผล
เชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ๒๐๑๙ (covid-19) เป็นไวรัสข้ามสายพันธุ์ที่เริ่มระบาดในมณฑลอู่ฮั่นของประเทศจีนในช่วงปลายปี ค.ศ.๒๐๑๙ จนกระทั่งมีการระบาดไปยังไปเทศต่างๆทั่วโลกสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค covid-19 มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่ององค์การอนามัยโรคได้ประกาศว่าการระบาดของเชื้อดังกล่าวเป็นภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลกขณะเดียวกันประเทศไทยได้ประกาศให้โรคติดเชื้อ covid-19เป็นโรคอันตราย ภายใต้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.๒๕๕๘ ลำดับที่ ๑๔เพื่อให้สามารถใช้ข้อกำหนดการตาม พ.ร.บ. ดังกล่าว ในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค สามารถควบคุมและป้องกันการเกิดโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันการระบาดยังขยายเป็นวงกว้างไปหลายประเทศทั่วโลก
ศูนย์ปฏิบัติการด้านการข่าว โรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19) กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ข้อมูลการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19) ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 24,961 ราย ผู้ป่วยใหม่ 175 ราย รักษาหาย 23,697 ราย เสียชีวิติ 82 ราย และในจังหวัดนราธิวาส พบผู้ป่วยยืนยัน 54 ราย รักษาหาย 52 ราย เสียชีวิต 2 ราย ในส่วนในอำเภอสุคิรินมีกลุ่มผู้ป่วยยืนยัน จำนวน 2 ราย
การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) สามารถทำได้โดยการหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่ที่มีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) การสัมผัสกับผู้ป่วยหรือผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อและควรปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งคัด มีการบูรณาการทุกภาคส่วน ร่วมถึงการขับเคลื่อนยกระดับการรับรู้และการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้มีความรู้ในการตระหนักถึงดูแลตนเอง ครอบครัว สังคม และมีส่วนร่วมในการกำหนดมาตรการต่างๆในการรับมือการแพร่ระบาดของเชื้อ covid-19เพราะการรับรู้และบทบาทการมีส่วนร่วมการตระหนักของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ลดการระบาดของโรคและป้องกันการเกิดโรคในชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะลูบี จึงได้จัดทำโครงการเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมการเกิดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) ขึ้น เพื่อสร้างเครือข่ายในการขับเคลื่อนในชุมขนสามารถสื่อสารข้อมูลกับประชาชนและส่งเสริมความรู้การป้องกันโรคที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวให้เข้ากับวิถีการดำรงชีวิตแบบใหม่ให้ปลอดภัยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ (covid-19) ต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตนที่ถูกต้องเหมาะสมกับสถานการณ์

ประชาชน ชุมชน และภาคีเครือข่าย มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดำรงวิถีชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า

0.00 0.00
2 เพื่อสร้างความเข้มแข็ง ส่งเสริม สนับสนุน บทบาทของภาคประชาชนและภาคีเครือข่ายในชุมชนให้มีส่วนร่วมในการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19

2.ภาคประชาชนและเครือข่ายในชุมชน สามารถดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า (covid-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

0.00 0.00
3 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและสถานประกอบการต่างๆ มีการปฏิบัติตามแนวทาง มาตรการ ตามมาตรฐานที่กำหนด ปลอดภัยจากการโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (covid-19)

ไม่มีผู้ป่วยด้วยโรคโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019(covid-19) เกิดขึ้นในเขตพื้นที่รับผิดชอบ

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 23
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 221
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,636
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
พื้นที่เป้าหมายเสี่ยงต่อการเกิดโรค 42

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2021

กำหนดเสร็จ 31/08/2021

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 การดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
การดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประชุมทีมอสม.และเครือข่าย ในพื้นที่รับผิดชอบ 1.1) สื่อสารความร่วมมือและสร้างความเข้าใจในการเฝ้าระวังและการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า2019 (covid-19) 1.2) จัดตั้งทีมเฝ้าระวังควบคุมโรค ระดับหมู่บ้าน หมู่บ้านละ ๑ ทีม เพื่อให้หมู่บ้านเละชุมชน มีการดำเนินการเฝ้าระวังโรคอย่างมีประสิทธิ์ภาพ พร้อมรับสถานการณ์ 1.3) จัดทำมาตรการการเฝ้าระวัง ตามแนวทางการเฝ้าระวังการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (covid-19) เพื่อเป็นแนวทางการปฏิบัติงานในการเฝ้าระวังควบคุมโรคที่ถูกต้องตามหลักวิชาการการควบคุมโรค 1.4) สอบถามปัญหาพร้อมสำรวจจำนวนความต้องการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ/วัสดุ ที่จำเป็นต่อการใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(covid-19) เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงาน
  2. สำรวจข้อมูลพื้นฐานในชุมชน
  3. การประเมินพื้นที่เป้าหมายในมาตรการการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(covid-19) และดำเนินการปรับปรุงแก้ไข
  4. จัดซื้อ วัสดุ/เครื่องมือ ในการปฏิบัติงานการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (covid-19) เละสนับสนุนให้แก่พื้นที่เป้าหมายกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ
  5. ประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า(covid-19)ในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง 5.1) แบบประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรค 5.2 )แบบทดสอบด้านสุขภาพจิต สำหรับประชาชน ของกรมสุขภาพจิตกระทรวงสาธารณสุข
  6. ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯ ระดับหมู่บ้าน ลงสำรวจและประเมินโดยใช้เครื่องมือแบบสอบถาม 6.1) ประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันโรคฯ เป้าหมายทุกหลังคาเรือนในเขตรับผิดชอบ เพื่อประเมินความรู้และพฤติกรรมการป้องกันตนเองและครอบครัวให้ปลอดภัยจากการเกิดโรคฯ 6.2) ประเมินแบบทดสอบด้านสุขภาพจิต สำหรับประชาชน ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
  7. สรุปผลการประเมิน/คืนข้อมูลให้ประชาชนและชุมชน
  8. ทีมเฝ้าระวังควบคุมโรคฯ ระดับหมู่บ้าน ดำเนินการเฝ้าระวังตามแนวทางตามมาตรการที่กำหนด และรายงานผลการปฏิบัติงาน
  9. สรุปรายงาน ประเมินผลโครงการฯ
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 ประชุม อสม.และภาคีเครือข่าย

ชื่อกิจกรรม
ประชุม อสม.และภาคีเครือข่าย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าประชุม จำนวน 63 คน จำแนกเป็น           -รุ่นที่ 1 จำนวน 33 คน x 1 มื้อ x 25 บาท                  เป็นเงิน     825   บาท           -รุ่นที่ 2 จำนวน 30 คน x 1 มื้อ x 25 บาท                  เป็นเงิน     750   บาท           -ค่าจัดทำป้ายไวนิล ขนาด 1 x 3    จำนวน 1 ผืน            เป็นเงิน     750   บาท     รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่ 1  เป็นเงิน 2,325 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2325.00

กิจกรรมที่ 3 สำรวจและรณรงค์ตามมาตรการเฝ้าระวังฯ

ชื่อกิจกรรม
สำรวจและรณรงค์ตามมาตรการเฝ้าระวังฯ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวัสดุ   กระดาษ A 4  จำนวน 5 ริม x 145 บาท                                เป็นเงิน     725   บาท ค่าจัดซื้ออุปกรณ์/เครื่องมือ -ค่าหน้ากากอนามัย (mask)  จำนวน 50 กล่อง x 125 บาท                    เป็นเงิน  6,250   บาท -ค่าเครื่องวัดอุณหภูมิเทอร์โมมิเตอร์ดิจิตอล  จำนวน 5 เครื่อง x 3,000 บาท  เป็นเงิน  15,000 บาท -ค่าเจลแอลกอฮอล์ ขนาด 450 ml จำนวน 10 ขวด ×250 บาท              เป็นเงิน   5,000  บาท รวมค่าใช้จ่ายกิจกรรมที่ 2  เป็นเงิน 26,975 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
26975.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 29,300.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑.ประชาชน ชุมชน และภาคีเครือข่าย มีความรู้ ในการปฏิบัติตนที่ถูกต้อง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ดำรงวิถีชีวิตแบบใหม่เพื่อให้ปลอดภัยจากโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า (covic-19)
๒.ภาคประชาชนและเครือข่ายในชุมชน สามารถดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า (covic-19) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


>