กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาเครือข่ายชุมชน ร่วมใจ ห่วงใย ผู้ป่วยจิตเวช รพ.สต.บ้านคลองน้ำใส ต.บาละ ปี2564
รหัสโครงการ 64-L4117-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านคลองน้ำใส
วันที่อนุมัติ 1 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มกราคม 2564 - 30 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 27,020.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวฟาวีณา ยางหาด
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบาละ อำเภอกาบัง จังหวัดยะลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 203 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัญหาโรคจิตเวช (Schizophrenia) เป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ทำให้เกิดความพิการและสูญเสียเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เพราะปัญหาสุขภาพจิตไม่ใช่ส่งผลกระทบต่อเฉพาะผู้ป่วยเท่านั้น ยังส่งผลกระทบไปถึงญาติ ผู้ดูแลและบุคคลในสังคม ผู้ป่วยจิตเวชมักขาดโอกาสและการสนับสนุนในสังคม ทำให้ตกเป็นเหยื่อในรูปแบบต่างๆ หรือเสี่ยงต่อการก่อคดีอุกฉกรรจ์ และยังพบว่าญาติหรือผู้ดูแลผู้ป่วยก็ได้รับผลกระทบด้านสุขภาพ เศรษฐกิจและสังคม เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาระสูงในการดูแล และที่สำคัญยังส่งผลให้ผู้ป่วยทางจิตซึ่งมีปัญหาการปรับตัวอยู่แล้วขาดปัจจัยการดูแลช่วยเหลือให้สามารถรักษาภาวะสุขภาพ และอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีคุณภาพ แม้ในกระบวนการบำบัดรักษาผู้ป่วยทางจิตในโรงพยาบาลมีเป้าหมายให้ผู้ป่วยสามารถ ดำรงชีวิตร่วมกับครอบครัวและชุมชนได้มากขึ้น โดยได้เพิ่มประสิทธิภาพในการบำบัดรักษาทั้งด้านการให้ยาและการบำบัดด้านจิตสังคม แต่ผลสำเร็จจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยทางจิต หากได้รับการดูแลต่อเนื่องและได้ปฏิบัติกิจวัตรประจำวันเช่นคนทั่วไปจากสมาชิกในชุมชน ภายหลังการบำบัดรักษาหรือผู้ป่วยกลับสู่ชุมชนแล้วยังมีอุปสรรคเนื่องจากภายหลังการจำหน่ายจากโรงพยาบาล ผู้ป่วยกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ยังขาดโอกาสจากชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถมีชีวิตในสังคมเช่นคนทั่วไป ซึ่งอุปสรรคส่วนหนึ่งมีสาเหตุมาจากตัวผู้ป่วยเอง เช่น การขาดความมั่นใจในการดำเนินชีวิตร่วมกับครอบครัวและผู้อื่น นอกจากนี้สังคมแวดล้อมยังขาดความรู้ ความเข้าใจหรือไม่เห็นความสำคัญของผู้ที่เจ็บป่วยทางจิตที่นับวันจะมีจำนวนและมีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น บุคคลในชุมชนรู้สึกกลัว รังเกียจ ไม่เชื่อมั่นในความสามารถของผู้ป่วย มีทัศนคติในทางลบต่อบุคคลที่เจ็บป่วย สภาพเหล่านี้ยิ่งทำให้ผู้ป่วยทางจิตไม่ได้รับการยอมรับจากสังคมและขาดโอกาสในการพัฒนาตนเองในการอยู่ร่วมในสังคมมากยิ่งขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยทางจิตเหล่านี้กลายเป็น ภาระหรือเป็นปัญหาของครอบครัวและสังคมในที่สุด ในพื้นที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านคลองน้ำใสมีผู้ป่วยทางจิตเวชจํานวน 18 ราย จากการสํารวจข้อมูลเบื้องต้น และศึกษาแฟ้มประวัติครอบครัว พบว่า สาเหตุเกิดจากปัญหายาเสพติด 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 61.1 จากปัญหาครอบครัวจํานวน 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 16.6 และเกิดจากพันธุกรรม จํานวน4 ราย คิดเป็นร้อยละ 22.2 และ จากการติดตามเยี่ยมบ้านของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพบปัญหาดังนี้ 1. ผู้ป่วยขาดยาเนื่องจากรับประทานต่อเนื่องแล้วดีขึ้นแล้วหยุดยาเอง 2. ผู้ดูแลขาดความรู้ในการดูผู้ป่วยจิตเวช 3. เพื่อนบ้านหวาดระแวงกลัวผู้ป่วยจิตเวชจะทำร้าย 4. แกนนำขาดความรู้ในการนำส่ง รพ.ในกรณีผู้ป่วยอาละวาด ทำร้ายร่างกายหรือสิ่งของ

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อกระตุ้นการขับเคลื่อนงานสุขภาพจิตในชุมชน

 

0.00
2 เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมมีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการดูแลฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยจิตเวชอย่างถูกต้องเหมาะสม

 

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการค้นหาและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตในชุมชน

 

0.00
4 เพื่อให้เกิดการดูแลผู้ป่วยจิตเวชอย่างต่อเนื่องในชุมชนและลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆโดยแกนนำสุขภาพจิตในชุมชน

 

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 27,020.00 2 27,020.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมผู้ดูแลผู้ป่วยจิตเวชและละแวกบ้าน 0 13,120.00 13,120.00
1 ม.ค. 64 - 30 ก.ย. 64 กิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการแกนนำชุมชนในการนำส่งผู้ป่วยจิตเวชที่ต้องได้รับการส่งต่อ 0 13,900.00 13,900.00
  1. จัดทำฐานทะเบียนผู้ป่วยจิตเวชในชุมชนแยกเป็นรายหมู่บ้าน
  2. ประชุมคณะกรรมการเพื่อวางแผนการดำเนินงานและร่วมกำหนดเกณฑ์คัดเลือกกลุ่มผู้ป่วยจิตเวชเรื่อรังในชุมชนที่ต้องได้รับการเยี่ยมบ้านในปี พ.ศ.2563
  3. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้เกี่ยวข้อง ร่วมดำเนินการวางแผนพัฒนารูปแบบการมีส่วนรวมของครอบครัวและชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนในการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนให้ได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน โดยแบ่งเป็นรายหมู่บ้านในพื้นที่ของตนเองได้แก่ ญาติผู้ดูแล อสม. ผู้ใหญ่บ้าน แกนนำในชุมชน มอบหมายบทบาทหน้าที่

- ญาติ ดูแลเรื่องการรับประธานยา/รับยาต่อเนื่อง/เฝ้าระวังอาการกำเริบ/สังเกตอาการผิดปกติ ผลข้างเคียงจากยา
- อสม. ประจำครอบครัว ติดตามเยี่ยมบ้านทุก 1 เดือน เฝ้าระวังการขาดยา/รับยาไม่ต่อเนื่อง
- ผู้นำชุมชน/แกนนำ สร้างทัศนคติที่ดี/ให้โอกาส/ไม่สนับสนุน เช่น ชวนดื่มสุรา/เสพสารเสพติด/บุหรี่
- คลินิคสุขภาพจิตโรงพยาบาลกาบังพร้อมทีมเครือข่ายดูแลติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกับทีมครั้งที 1 และครั้งที่ 6
- สนับสนุนให้คำรึกษา/รับส่งต่อกรณีอาการกำเริบ

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน
2.อาการกำเริบหรือการกลับเป็นซ้ำของผู้ป่วยจิตเวชลดลง
3.ผู้ป่วยจิตเวชมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและลดภาระการดูแลของญาติ
4.ภาคีสุขภาพในชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชเรื้อรังในชุมชนให้ได้รับบริการต่อเนื่องในชุมชน

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2564 15:29 น.