กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรยั่งยืน
รหัสโครงการ 64-L5169-2-02
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนบ้านโคกพยอม ต.ทุ่งลาน อ.คลองหอยโข่ง จ.สงขลา
วันที่อนุมัติ 29 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 15 กุมภาพันธ์ 2564 - 25 กันยายน 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 34,300.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางณัชชา บุญสิริธนา ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านโคกพยอม
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานขยะ , แผนงานอาหารและโภชนาการ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2564 30 ก.ย. 2564 34,300.00
รวมงบประมาณ 34,300.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 98 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 การดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน มุ่งเน้นเรื่องการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชน การใช้หลักการลดขยะ ด้วยแนวคิด 3R (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) ในการปฏิบัติเพื่อช่วยลดปริมาณขยะ
98.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

กรมอนามัยได้ดำเนินงานโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนด้านสุขภาพ ควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านการศึกษา โดยการพัฒนาศักยภาพโรงเรียนให้เป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์กลางของการ พัฒนาสุขภาพ รวมทั้งพัฒนาชุมชนให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว ตั้งแต่ปีพ.ศ.2541 และเพื่อให้โรงเรียนมีแนวทางการดำเนินงานเป็นมาตรฐานเดียวกัน กรมอนามัยได้จัดทำเกณฑ์มาตรฐาน การประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพให้ครอบคลุมทั้ง 10 องค์ประกอบโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขึ้นในพ.ศ.2545 โดยแบ่งระดับการรับรองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเป็น 3 ระดับ คือระดับทอง เงิน และทองแดง และจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรขึ้นในพ.ศ.2552 ตั้งแต่ พ.ศ.2545 จวบจนปัจจุบัน
การพัฒนานักเรียนตามแนวทางของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ภายใต้แนวคิดการมี ส่วนร่วมของนักเรียนและบุคลากรในโรงเรียน รวมทั้งผู้ปกครองและชุมชนเพื่อให้โรงเรียนเป็นจุดเริ่มต้นและศูนย์รวมของการพัฒนาสุขภาพในชุมชน เป็นกลยุทธ์ที่กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมดำเนินการกับฝ่ายการศึกษามาตั้งแต่ปี 2541 ก่อให้เกิดผลเป็นที่น่าพอใจ โดยมีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการและสามารถพัฒนากิจกรรมด้านสุขภาพจนผ่านการประเมินรับรองเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้นทุกปีติดต่อกันเป็นลำดับสำหรับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพที่ใช้ในช่วงที่ผ่านมา เป็นเกณฑ์ที่ประกอบด้วย ตัวชี้วัดภายใต้องค์ประกอบ 10 ประการ ซึ่งส่วนใหญ่เน้นด้านกระบวนการของกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพื่อเป็นทิศทางแก่โรงเรียน แต่ยังมิได้ให้ความสำคัญกับการวัดผลลัพธ์ทางสุขภาพมากนัก ดังนั้นเมื่อการพัฒนางานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพดำเนินมาจนถึงโรงเรียนบรรลุเกณฑ์ค่อนข้างสูงดังกล่าว ในปี 2551 กรมอนามัยจึงเห็นสมควรที่จะยกระดับเกณฑ์ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพขึ้นสู่อีกระดับหนึ่ง โดยจัดทำเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร ให้มีตัวชี้วัดที่เน้นการการวัดผลทางสุขภาพและพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน และผลการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการขึ้นเพื่อพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ไปสู่เป้าหมายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรต่อไปซึ่งโรงเรียนบ้านโคกพยอมได้ผ่านการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรเมื่อปี 2560เป็นที่เรียบร้อยแล้วโดยกรมอนามัยดังนั้นควรจะรักษาระดับคุณภาพต่อไปอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนด้านสุขภาพอันจะนำไปสู่กันพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาอย่างยั่งยืน โรงเรียนบ้านโคกพยอมได้จัดทำโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรยั่งยืนขึ้นโดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2ส่วนส่วนแรกคือการดำเนินงานในด้านความปลอดภัยภายในสถานศึกษาตามเกณฑ์คุณภาพของการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชรและได้จัดกิจกรรมในส่วนที่สองคือ กิจกรรมของนักเรียนแกนนำเด็กไทยทำได้ และ อย.น้อย คอยขับเคลื่อนการทำงานผ่านแกนนำนักเรียนโดยการขอความร่วมมือจากองค์กรหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง จากการเล็งเห็นความสำคัญของเด็กที่อยู่ในวัยเรียน ซึ่งเป็นผู้ที่กระตือรือร้นในการทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ และเป็นผู้ที่มีศักยภาพในตัวเอง สามารถชี้นำเพื่อนและผู้ปกครองให้สนับสนุนการดำเนินงานที่ดีอย่างได้ผล โดย เป้าหมาย คือ นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม ซึ่งเป็นโครงการที่เน้นการสร้างเครือข่ายชมรมคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน (อย.น้อย) พัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียน ให้มีการรับรู้สิทธิผู้บริโภคและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ถูกต้อง เหมาะสม และมีการเฝ้าระวังอาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพทั้งในโรงเรียนและชุมชน มีการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน โดยจะมีรูปแบบในการดำเนินกิจกรรมเป็นภาคีเครือข่ายในระดับสถานศึกษาโดยกิจกรรมหลักในแผนงานโครงการครั้งนี้จะมุ่งเน้นเรื่องการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชน โดยการใช้หลักการลดขยะ ด้วยแนวคิด 3Rซึ่งเป็นแนวคิดและแนวทางในการปฏิบัติเพื่อการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า สามารถช่วยลดปริมาณขยะให้น้อยลง ด้วยการลดการใช้ การนำกลับมาใช้ซ้ำ และการนำขยะกลับมาใช้ใหม่ (Reduce Reuse and Recycle: 3Rs) โดยเริ่มต้นที่การใช้ให้น้อยลง ลดการใช้วัสดุ ผลิตภัณฑ์ ที่ก่อให้เกิดขยะเพื่อลดปริมาณขยะที่เกิดขึ้น (Reduce) การนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ยังสามารถใช้งานได้ กลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำวัสดุ ผลิตภัณฑ์ที่ใช้งานแล้วมาแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ หรือ รีไซเคิล (Recycle)ผ่านการดำเนินงานของแกนนำเด็กไทยทำได้ และ อย.น้อย โรงเรียนบ้านโคกพยอม

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม สามารถคิดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี

นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม สามารถคัดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี

98.00 98.00
2 เพื่อให้นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอมสามารถนำขยะมารีไซเคิลเพื่อสร้างสรรค์งาน และนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอมสามารถนำขยะมารีไซเคิลเพื่อสร้างสรรค์งาน และนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

98.00 98.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 - 19 ก.พ. 64 ประชุม วางแผนการดำเนินงาน 0 0.00 -
15 - 19 ก.พ. 64 ติดตั้งกรงเหล็ก 0 3,500.00 3,500.00
16 ก.พ. 64 - 25 ก.ย. 64 เก็บ คัด แยก 0 0.00 -
16 ก.พ. 64 - 24 ก.ย. 64 ประชาสัมพันธ์รับบริจาคขยะ 0 0.00 -
16 ก.พ. 64 - 24 ก.ย. 64 คัดแยกประเภทขยะ 0 0.00 -
20 - 28 ก.พ. 64 รีไซเคิลขยะเป็นชิ้นงาน 0 30,800.00 30,800.00
รวม 0 34,300.00 2 34,300.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอม สามารถคิดแยกขยะได้อย่างถูกต้อง และถูกวิธี ทำให้การจัดการขยะไม่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมมากนัก
  2. นักเรียนโรงเรียนบ้านโคกพยอมสามารถนำขยะมารีไซเคิลเพื่อสร้างสรรค์งาน และนำขยะมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแทนการนำไปทิ้ง เผา หรือฝังกรบ
  3. ปัญหาขยะภายในโรงเรียนและชุมชนลดลง 4.นักเรียนไม่มีปัญหาด้านสุขภาพทั้งทางกายและใจที่เกิดจากขยะมูลฝอยภายในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2564 13:19 น.