กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการคุ้มครองผู้บริโภคตำบลเกาะสะบ้า ประจำปีงบประมาณ 2560
รหัสโครงการ 60-L5188-1-12
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้า
วันที่อนุมัติ 19 มิถุนายน 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กรกฎาคม 2560 - 30 กันยายน 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 40,784.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางอรสา ชูศรี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลเกาะสะบ้า อำเภอเทพา จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 6.863,100.891place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ตามที่ รัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) โดยมีเป้าหมายให้อาหารที่ผลิตและบริโภคในประเทศไทยนั้น มีความปลอดภัยในระดับสากลและให้เป็นครัวของโลก จึงมอบหมายให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นหน่วยงานหลักในการผสานยุทธศาสตร์ด้านความปลอดภัยด้านอาหารของประเทศและมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมรับผิดชอบ โดยบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบกับสถานการณ์ปัจจุบันนี้มีความเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจโดยทั่วไปของประเทศ ได้มีการพัฒนาจากสังคมเกษตรเป็นสังคมอุตสาหกรรมดังนั้นจึงเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากที่จะให้ผู้บริโภคได้เลือกบริโภคอาหารที่ปลอดภัยและผู้จำหน่ายจะได้จำหน่ายอาหารที่มีคุณภาพ เนื่องจากปัญหาการใช้ยาไม่สมเหตุสมผลของคนในชุมชน เป็นปัญหาที่ซับซ้อน มีปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง หลายส่วนทั้งจากตัวผู้ใช้ยาเอง ผู้สั่งใช้ยา ผู้ผลิตยา กระจายยา และ การควบคุมกำกับตามกฎหมาย ดังนั้นการดำเนินการ จึงต้องใช้มาตรการที่หลากหลาย จากความร่วมมือของหลายภาค กล่าวคือผสมผสานมาตรการ ๔ ด้าน ได้แก่ ด้านการให้การศึกษาและพัฒนาศักยภาพด้านการบริหารจัดการระบบ ด้านแรงจูงใจ การกำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย โดย ๔ มาตรการสำคัญ ต้องดำเนินการในหลากหลากหน่วยงานและภาคชั้น อย่างมีเอกภาพและเสริมพลัง จากการลงเยี่ยมบ้านในชุมชนตำบลเกาะสะบ้ามีกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะไตเสื่อมและไตวายเป็นจำนวนหลายรายจากการซักประวัติพบว่ากลุ่มผู้ป่วยมีประวัติการใช้ยาเป็นระยะเวลานานจากการเจ็บป่วยเรื้อรังและจากการไม่รู้ในการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลรับประทานยาแก้ปวดซึ่งจัดเป็นชุดรับประทานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานมากกว่า10ปี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้าเป็นหน่วยงานหลักทางด้านสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชนในตำบลเกาะสะบ้าอำเภอเทพา จังหวัดสงขลาโดยประชาชนมีความคาดหวังในการดูแลสุขภาพให้ดีขึ้นดังนั้นจากเหตุผลดังกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเกาะสะบ้าจึงได้จัดทำโครงการคุ้มครองผู้บริโภคปี 25๖๐

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้คนในชุมชนมีการใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสมไม่ได้รับอันตรายจากการใช้ยา

 

2 เพื่อให้อาหารที่จำหน่ายปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

 

3 เพื่อสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และ อย.น้อย ในโรงเรียน

 

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)

วัตถุประสงค์ข้อที่ 1 : เพื่อให้คนในชุมชนมีการใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสมไม่ได้รับอันตรายจากการใช้ยา

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 : เพื่อให้อาหารที่จำหน่ายปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

รวม 0 0.00 0 0.00

วัตถุประสงค์ข้อที่ 3 : เพื่อสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และ อย.น้อย ในโรงเรียน

รวม 0 0.00 0 0.00

ไม่ระบุวัตถุประสงค์

14 - 18 ธ.ค. 60 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย สำรวจร้านค้า เฝ้าระวังร้านขายของชำ และรถเร่ที่ขายยาอันตราย 15,232.00 -
14 - 18 ธ.ค. 60 อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายร้านอาหาร พร้อมมอบเกียรติบัติ ผ้ากันเปื้อน ดำเนินการตรวจประเมินด้านอาหารปลอดภัย 25,552.00 -

หมายเหตุ : งบประมาณ และ ค่าใช้จ่าย รวมทุกวัตถุประสงค์อาจจะไม่เท่ากับงบประมาณรวมได้

กิจกรรมที่ 1
1. สำรวจร้านค้าและกลุ่มเป้าหมาย 2. ชี้แจงโครงการฯให้ผู้บังคับบัญชาทราบเพื่อขอความเห็นชอบ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการฯให้ผู้ประกอบการณ์ร้านค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ 4. ดำเนินการประสานงานบุคคลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมอบรมตามวัน เวลาที่กำหนด 5. อบรม ให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมายตามวันเวลาและสถานที่ดังกล่าว 6. เฝ้าระวังร้านขายของชำ และรถเร่ที่ขายยาอันตราย พร้อมให้ความรู้และคำแนะนำโดยอสม.ในพื้นที่ กิจกรรมที่ 2 1. ชี้แจงโครงการฯให้ผู้บังคับบัญชาทราบเพื่อขอความเห็นชอบ 2. จัดทำโครงการฯ เสนอคณะกรรมการบริหารงานกองทุนหลักประกันหลักประกันฯ เพื่อขอสนับสนุนงบประมาณ 3. ประชาสัมพันธ์โครงการฯให้ผู้ประกอบการณ์ด้านอาหารผู้ที่เกี่ยวข้องทราบเพื่อขอความร่วมมือขับเคลื่อนโครงการฯ
4. จัดทำ ป้ายประชาสัมพันธ์และ วัสดุ ,อุปกรณ์ ในการอบรม 5. ดำเนินการประสานวิทยากรเพื่อ กำหนดวัน , เวลา , สถานที่และเนื้อเรื่องในอบรมตามโครงการฯ 6. ประสาน และขอความร่วมมือจากทุกร้านอาหารและแผงลอยในตำเกาะสะบ้าเข้าร่วมเข้าร่วมอบรมตามวันเวลาที่กำหนด และเข้าร่วมโครงการคุ้มครองผู้บริโภค 7.อบรมให้ความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย พร้อมมอบเกียรติบัตร ผ้ากันเปื้อน และหมวกคลุมผมหลังเสร็จการอบรม 8.ดำเนินการตรวจประเมินด้านอาหารปลอดภัย (สารปนเปื้อน 6 ชนิด ) ตรวจประเมินร้านอาหาร แผงจำหน่ายอาหารตามเกณฑ์ ของกรมอนามัย2 ครั้ง ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนมีนาคม 2561 9.มอบป้ายรับรองมาตรฐานอาหารสะอาด รสชาติอร่อย ให้แก่ แผงลอยที่ผ่านตามเกณฑ์ในชุมชน โรงเรียน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก และโรงอาหารในค่ายทหาร 10.ประเมินผลการดำเนินงาน

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. คนในชุมชนมีการใช้ยาที่ถูกต้องและเหมาะสมไม่ได้รับอันตรายจากการใช้ยา
  2. อาหารที่จำหน่ายปลอดภัยจากสารปนเปื้อนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
    1. มีเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในชุมชน และ อย.น้อย ในโรงเรียน
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 15:51 น.