กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปฏิบัติการควบคุมโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2564
รหัสโครงการ 64-L3321-1-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต
วันที่อนุมัติ 13 มกราคม 2564
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2564 - 31 สิงหาคม 2564
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2564
งบประมาณ 49,900.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายประดับวุฒิ ณ วิโรจน์
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ พื้นที่ หมู่ที่ 1 - 13 ตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 มี.ค. 2564 31 ส.ค. 2564 49,900.00
รวมงบประมาณ 49,900.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 4190 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

ระบุ

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
0.13

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกนับเป็นปัญหาสาธารณสุขไทยตลอดมา เพราะไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อ ที่สร้างความสูญเสียชีวิตและค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลและเกิดความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาโดยตลอด และได้รับความร่วมมือ จากหน่วยงานต่างๆทั้งภาครัฐและเอกชน พบว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกไม่ได้ลดลงมากนัก ยังคงเป็นปัญหาสำคัญในระดับประเทศเรื่อยมา จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกในเขตรับผิดชอบ รพ.สตปันแต ในปี๒๕61 พบว่ามีผู้ป่วย จำนวน 7 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 113.73 ต่อแสนประชากร และในปี 2562 พบว่ามีผู้ป่วย จำนวน 44 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 709.67 ต่อแสนประชากรและปี 2563 พบว่ามีผู้ป่วย จำนวน 6 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 129.68 ต่อแสนประชากรซึ่งถือได้ว่ามีการระบาดของโรคอยู่ แต่ไม่มีการเสียชีวิตเนื่องจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคและรับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้องทันเวลา ทำให้สามารถลดและป้องกันการเสียชีวิตได้ การมีส่วนร่วมของระบบสุขภาพภาคประชาชน ซึ่งประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ,อสม.,อบต. กรรมการหมู่บ้าน ได้ร่วมกันทำการออกสำรวจ ควบคุมและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยอาศัยกลวิธี การประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือ ทำกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการควบคุมโรค เพื่อให้การดำเนินกิจกรรม เป็นไปอย่างต่อเนื่องและสามารถควบคุมป้องกันโรคไข้เลือดออก ลดจำนวนการเกิดผู้ป่วยรายใหม่/ป้องกันผู้ป่วยตาย
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแตอำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ตระหนักถึงภาวะสุขภาพของประชาชน ในกลุ่มดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการปฏิบัติการควบคุมโรคไข้เลือดออกโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปันแต อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง ปีงบประมาณ 2564

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนและอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในกลุ่มวัยเรียนและประชากรทุกกลุ่มวัย

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร ประมวลจากฐานข้อมูลงานระบาด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพัทลุง

0.13
2 เพื่อกระตุ้นให้ประชาชนในเขตรับผิดชอบ ให้มีความตื่นตัวและให้ความร่วมมือในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย

ความชุกของลูกน้ำยุงลาย ทุกหมู่บ้านค่า BI และ CI ไม่ให้เกินมาตรฐาน ประเมินผลจากแบบสำรวจลูกน้ำยุงลาย

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 120 49,900.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 64 กิจกรรมที่ 1 ให้ความรู้เรื่องไข้เลือดออกแก่ ผู้นำชุมชน อสม. แกนนำครอบครัว ในวันประชุม อสม 120 0.00 -
1 เม.ย. 64 - 31 ส.ค. 64 กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมรณรงค์สำรวจลูกน้ำยุงลายพร้อมทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ 0 49,900.00 -
  1. จัดอบรมทีม SRRT รพ.สต.ตำบลปันแต เพื่อให้มีความรู้ในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก
  2. ให้อสม. สำรวจลูกน้ำและทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายเพื่อกำจัดลูกน้ำทุกสัปดาห์พร้อมรณรงค์ใหญ่ทุก 2 เดือน และสรุปรายงานส่งให้ รพ.สต.
  3. รณรงค์และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้านร่วมกับโรงเรียน,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก, แกนนำประจำครอบครัว และอาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) โดยวิธี -ทางกายภาพ รณรงค์เคาะประตูบ้านในชุมชนร่วมโรงเรียน พร้อมร่วมกันดำเนินการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ในชุมชนและโรงเรียน -ใช้สารเคมี ใส่สารเคมีทรายเคมีในตุ่มน้ำใช้ในครัวเรือน และโรงเรียน โดยอสม. และพ่นสารเคมีกำจัดยุงลายในพื้นที่เสี่ยงและพื้นที่เกิดโรคทันทีเมื่อมีการระบาด -ทางชีวภาพ ส่งเสริมความรู้ให้แกนนำประจำครอบครัวในชุมชนเกี่ยวการปลูกพืชไล่ยุง เช่นตะไคร้หอมไล่ยุง การเลี้ยงปลากินลูกน้ำ เช่น ปลาหางนกยูง
  4. ประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ
stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. สามารถลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกให้เหลือไม่เกิน 50 ต่อแสนประชากร
  2. ทำให้ประชาชนในชุมชน มีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและ มีพฤติกรรมที่ถูกต้องเหมาะสม การป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก 3.ประชาชนให้ความร่วมมือในการดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก
  3. ทำให้ประชาชนทำกิจกรรมในการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ทำให้สามารถลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายภายในบ้าน ชุมชน โรงเรียนให้น้อยลง
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2564 13:40 น.