สร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้พิการตำบลช้างเผือก
ชื่อโครงการ | สร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสมรรถภาพ ผู้พิการตำบลช้างเผือก |
รหัสโครงการ | 64-L2475-3-01 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาสตำบลช้างเผือก |
วันที่อนุมัติ | 28 มกราคม 2564 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2564 - 15 กันยายน 2564 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2564 |
งบประมาณ | 40,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นายอับดลเลาะ ดอเล๊าะอุมา |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต | 20.00 | ||
2 | ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้ | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากข้อมูลในระบบกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พบว่า ตำบลช้างเผือก อำเภอจะแนะ จังหวัดนราธิวาส มีผู้พิการทุกประเภทรวมกันทั้งหมด ในปี 2564 จำนวน 198 คน (กุมภาพันธ์ 2564, กรมส่งเสริมปกครองส่วนท้องถิ่น) ในจำนวนนี้ จัดเป็นผู้พิการทางการเคลื่อนไหว มากที่สุดรองลงมาคือทางการได้ยินหรือการสื่อความหมายและการมองเห็น นอกจากนี้ ยังมีผู้พิการอีกหลายประเภทที่อยู่ในชุมชนที่บางส่วนยังเข้าไม่ถึงระบบการดูแลที่เหมาะสม ทั้งผู้พิการทางสติปัญหา การเรียนรู้ ออทิสทิก หรือทางด้านจิตเวช ผู้พิการบางประเภทสามารถออกจากบ้านได้ ในการไปประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต ในขณะที่อีกหลายประเภท หลายคนที่ไม่สามารถออกจากบ้านได้ ไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และยังคง เป็นภาระให้กับผู้ดูแลหรือสมาชิกในครัวเรือนด้วย อย่างไรก็ตามพบว่าในการดำเนินงานที่ผ่านมาของหลายหน่วยงานนั้นในการให้บริการที่เหมาะสมและสอดคล้องกับลักษณะความพิการของคนพิการแต่ละประเภทนั้นยังมีข้อจำกัดอยู่เนื่องจากการไม่ได้ลงไปเยี่ยมคนพิการที่ติดบ้านอย่างจริงจังและชัดเจน คนที่ไปเยี่ยมบ้านมีความรู้เกี่ยวกับการดูแล คนพิการแต่ละประเภทไม่มากพอ ทำให้การลงไปเยี่ยมติดตามไม่สามารถให้คำแนะนำที่เหมาะสมได้ คนพิการบางประเภทต้องมีญาติคอยดูแลตลอด แต่ญาติขาดความรู้ ความเข้าใจในการดูแลที่เหมาะสม หรือรวมทั้งบุคลากรที่จะทำหน้าที่ในการลงไปเยี่ยมบ้านนั้นมีจำนวนจำกัด ไม่สามารถลงไปเยี่ยมได้อย่างทั่วถึง ดังนั้น การส่งเสริมให้มีการลงไปเยี่ยมบ้านของบุคลากรที่มีความรู้ หรืออาสาสมัครในชุมชน ที่ผ่านการอบรมให้ความรู้ที่เหมาะสมแล้ว ให้สามารถลงไปเยี่ยมติดตาม ดูแล และให้กำลังใจคนพิการในชุมชนได้อย่างทั่วถึง และมีความเหมาะสมกับลักษณะความพิการแต่ละประเภท น่าจะเป็นแนวทางหนึ่งใน การช่วยสร้างคุณภาพชีวิตของคนพิการในชุมชนให้ดีขึ้น รวมถึงได้รับการดูแลที่เหมาะสมมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการ สร้างเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการตำบลช้างเผือก เพื่อให้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนผู้พิการโดยญาติ/ผู้ดูแล เพื่อส่งต่อผู้พิการให้ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่เหมาะสม เพื่อให้มีการติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลสุขภาพผู้พิการอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเพิ่มคนพิการที่เข้าถึงกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต ร้อยละของคนพิการที่ได้รับกายอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการดำเนินชีวิต |
20.00 | 30.00 |
2 | เพิ่มศักยภาพผู้ดูแลหรือญาติสามารถดูแลคนพิการ ร้อยละของผู้ดูแลหรือญาติสามารถให้การดูแลผู้พิการได้ |
50.00 | 60.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
1 - 31 มี.ค. 64 | อบรมให้ความรู้การทำกายภาพบำบัดและการดูแลด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยให้กับญาติ/ผู้ดูแล ผู้พิการ | 0 | 9,000.00 | - | ||
1 - 31 มี.ค. 64 | การฟื้นฟูสมรรถภาพผู้พิการ โดยการจัดหากายอุปกรณ์และวัสดุอื่น ๆ ที่เหมาะสม | 0 | 31,000.00 | - | ||
รวม | 0 | 40,000.00 | 0 | 0.00 |
ได้ค้นหา ตรวจคัดกรองและขึ้นทะเบียนคนพิการ และรับเอกสารรับรองคนพิการ ได้มีการฟื้นฟูสมรรถภาพและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนคนพิการโดยญาติ/ผู้ดูแล ได้มีการส่งต่อคนพิการให้ได้รับอุปกรณ์เครื่องช่วยความพิการที่เหมาะสม ได้มีการติดตามผลการฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลสุขภาพคนพิการอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2564 00:00 น.