กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเกษตรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส
รหัสโครงการ 60-L5211-1-08
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหาร
วันที่อนุมัติ 17 พฤษภาคม 2560
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มิถุนายน 2560 - 31 กรกฎาคม 2560
กำหนดวันส่งรายงาน
งบประมาณ 13,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวอารีฟา บิลหลี
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลบ้านหาร อำเภอบางกล่ำ จังหวัดสงขลา
ละติจูด-ลองจิจูด 7.075,100.45place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 52 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

สารเคมีกำจัดศัตรูพืช สามารถทำอันตรายต่อสุขภาพร่างกายได้ทั้งมนุษย์ และสัตว์ กล่าวคือ จะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมองผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตาซึ่งก็ขึ้นอยู่กับว่าเราจะรับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเท่าใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนถึงขีดที่ร่างกายไม่อาจทนได้จึงแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือดและระบบภูมิคุ้มกันเป็นต้น ตำบลบ้านหารเป็นตำบลหนึ่งที่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรมากถึงร้อยละ๘๐ ของพื้นที่ทั้งหมดซึ่งประกอบด้วยพื้นที่ทำสวน ทำไร่ ทำนาปี ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง และยังอยู่ในระดับที่รุนแรงและสูงอยู่จากข้อมูลดังกล่าว แสดงว่าเกษตรกรในเขต ตำบลบ้านหารอำเภอบางกล่ำจังหวัดสงขลา ยังคงมีการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอยู่บ้างเป็นจำนวนหนึ่ง ซึ่งในการนำมาใช้นั้นได้มีการใช้อย่างไม่ถูกวิธีและขาดความรู้ จึงทำให้มีผลกระทบกับด้านสุขภาพโดยตรง
ดังนั้น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านหารอำเภอบางกล่ำจังหวัดสงขลา จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรคผู้บริโภคปลอดภัยสมุนไพรล้างพิษ กายจิตผ่องใส ตำบลบ้านหารอำเภอบางกล่ำจังหวัดสงขลาปี ๒๕๖๐ขึ้นเพื่อให้เกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่รับผิดชอบ ได้รับการตรวจสุขภาพและเจาะเลือดเพื่อดูว่ามีปริมาณสารเคมีตกค้างในกระแสเลือดอยู่ในระดับใดเพื่อทำการเฝ้าระวังต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 ลดการปนเปื้อนสารเคมีในอาหาร

ผลการตรวจสารปนเปื้อน 6 ชนิดที่ตกค้างในอาหาร

stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม

การวางแผน ( Plan ) ๑. ประชุมชี้แจงโครงการ แนวทางการดำเนินงานให้ผู้เกี่ยวข้องทราบ ๒. จัดทำแผนงานโครงการเพื่อเสนอขอรับงบประมาณสนับสนุน การดำเนินงาน ( Do ) ๓. จัดการประชาสัมพันธ์ให้กลุ่มเกษตรกรทราบเพื่อเตรียมกลุ่มเป้าหมาย และนัด วัน เวลา และสถานที่ในการตรวจ ๔. เตรียม เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจคัดกรอง - โดยการคัดกรองตามแบบฟอร์ม นบก.๑-๕๖ -โดยการตรวจเลือด โดยใช้กระดาษทดสอบเอนไซม์โคลีนเอสเตอเรส
๕. ประสานผู้นำชุมชน อสม.ในพื้นที่ เพื่อเตรียมการและวางแผนการดำเนินงานคัดกรองและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้าง ๖. ดำเนินการคัดกรองและตรวจหาสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในกลุ่มเกษตรกร ตามวัน และเวลาที่นัดหมาย ดังนี้ - ประชุมชี้แนะ อสม.ในการออกสำรวจคัดกรองตามแบบคัดกรองความเสี่ยงในเกษตรกร - อสม. ออกสำรวจตามแบบคัดกรอง พร้อมกับส่งแบบคัดกรอง มายัง รพ.สต. บ้านหาร - จนท. ตรวจสอบความถูกต้อง ของแบบคัดกรองเพื่อประเมิน ความเสี่ยง - แยกกลุ่มประชากรตามแบบคัด กรองแบ่งเป็นกลุ่มปกติและกลุ่ม เสี่ยง - ออกตรวจคัดกรองประชาชน กลุ่มเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจหา สารเคมีในเลือด - สรุปผลการตรวจเลือดให้ ประชาชนได้ทราบผลการตรวจ หากตรวจพบว่าปกติ จนท.ให้ คำแนะนำในการดูแลพฤติกรรม สุขภาพ
๗.จัดคลินิกสุขภาพเกษตรกรใน รพ.สต.
- เน้นให้มีมุมให้ความรู้ด้านสุขภาพเกษตรเกษตรและการใช้สมุนไพรรางจืดเพื่อขับสารพิษออกจากร่างกาย -การให้สุขศึกษารายกลุ่มแก่กลุ่มเสียง - เจ้าหน้าที่/อสม.เยี่ยมติดตามดูแลกลุ่มเสี่ยงเป็นรายกลุ่ม รายหมู่บ้าน จำนวน ๕๒ คน -มีการนัด ติดตาม มาเจาะเลือดซ้ำอีก ๓ เดือน ในกลุ่มเสี่ยงที่ พบว่า มีผลไม่ปลอดภัย หากตรวจพบความ ผิดปกติ จะได้รับการส่งต่อในการรักษาไปยัง รพ.

การประเมินผล( Check ) - ติดตามและประเมินผลการดำเนินงาน เมื่อสิ้นสุดโครงการ พร้อมรายงานผลการดำเนินงาน

การปรับปรุง( Act ) - ปรับปรุง พัฒนาจากผล การดำเนินงาน เพื่อใช้ในการจัดทำแผนงาน / โครงการต่อไป

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑. ประชาชนเป้าหมายในพื้นที่ ตำบลบ้านหาร ได้รับการตรวจสารเคมีในเลือด ร้อยละ ๑๐๐

๒. ประชาชนที่มีระดับสารเคมีในเลือดระดับไม่ปลอดภัยได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจนระดับสารเคมีตกค้างในเลือดลดน้อยลง

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ก.ค. 2560 11:26 น.